มัดรวมไว้ให้ วิธีสร้าง “การคิดเชิงวิเคราะห์” ทักษะช่วย SME แก้ปัญหาธุรกิจแบบมืออาชีพ

TEXT : ภัทร เถื่อนศิริ

Main Idea

  • หลายครั้งที่ผมให้คำปรึกษากับเจ้าของธุรกิจ SME หรือ ทีมงานหัวหน้า Business Unit ต่างๆ ผมได้พบเจอปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำบ่อยๆ ปัญหาหนึ่ง คือ เรื่อง การคิดเชิงวิเคราะห์ จึงขอหยิบยกประเด็นนี้มาแชร์กันนะครับ

 

  • วิธีการสร้าง Analytical Thinking

 

  • วิธีการการคิดเชิงวิเคราะห์ทำอย่างไรได้บ้าง

 

  • 11 ขั้นตอนการเสริมทักษะการวิเคราะห์ สำหรับการเติบโตในสายอาชีพ

 

  • 10 ปัญหาสาเหตุที่พนักงานไม่คิดวิเคราะห์

 

     Analytical Thinking คือ การคิดเชิงวิเคราะห์ เป็นทักษะการคิดที่ช่วยแยกแยะองค์ประกอบของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ เรื่องราวหรือชิ้นงานก็แล้วแต่ แล้วแตกสิ่งนั้นออกเป็นส่วนย่อย เพื่อให้เราเห็นรายละเอียดของเรื่องเหล่านั้นอย่างครบถ้วนและชัดเจน จึงทำให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ของเหตุและผลที่ทำให้เกิดสิ่งนั้นขึ้นมา

Analytical Thinking สำคัญอย่างไร?

     Analytical Thinking คือ ทักษะพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาการใช้เหตุผลแบบผิดๆ และสามารถตัดสินเรื่องที่คิดได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้น คนที่ไม่ได้มีทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ที่ดี อาจทำให้เกิดการใช้เหตุผลผิด หรือไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่ควรจะเป็น ซึ่งธรรมชาติของมนุษย์มักจะใช้อารมณ์ความรู้สึก และความเคยชินที่ทำจนเป็นนิสัย การคิดเชิงวิเคราะห์จะทำให้เกิดการพัฒนาความสามารถในการใช้เหตุผล การจำแนกแจกแจง การตีความข้อมูลที่ได้รับ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ โดยสามารถประเมินและตัดสินเรื่องที่คิดได้อย่างถูกต้อง อย่างสมเหตุสมผลมากขึ้น

Analytical Thinking สร้างได้อย่างไร?

     ทักษะการวิเคราะห์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตัดสินใจอย่างรอบรู้ การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน และการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพในการตั้งค่าระดับมืออาชีพต่างๆ คำแนะนำทีละขั้นตอนนี้จะช่วยให้คุณมีแนวทางที่มีโครงสร้างในการพัฒนาและปรับปรุงทักษะการวิเคราะห์ของคุณ

     1. หัดเป็นคนช่างสังเกต

     เป็นสิ่งสำคัญมากๆ หัวข้อแรกของวิชาวิทยาศาสตร์ตอนเรียนในวัยเด็กเลยครับ ลองเดินสำรวจผู้คนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นผู้คนตามเส้นทางต่างๆ ระหว่างรถติดบนถนน หรือผู้คนในโรงเรียนระหว่างช่วงพักทานข้าว ลองใช้ประสาทสัมผัสของเรา มองว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง สังเกตสิ่งต่างๆ มีอะไรน่าสนใจบ้าง มันจะทำให้เรามีมุมมองที่ตื่นตัวอยู่เสมอ

     2. หัดตั้งคำถาม

     ช่างสงสัย ช่างถาม การตั้งคำถามที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้การใช้เหตุผล ความสงสัยมักทำให้เราฉลาดขึ้น ยิ่งถามมาก ยิ่งช่วยให้เราเข้าถึงกระบวนการคิด มีความสนอกสนใจที่ชัดเจน และมีความจำที่แม่นยำขึ้น เมื่อเราสงสัยในระหว่างที่เราพยายามหาคำตอบและได้คำตอบมาแล้วนั้น จะทำให้เราเริ่มโยงเหตุและผลที่มาที่ไปของสิ่งเหล่านั้นได้ดีมากขึ้นด้วย ซึ่งนอกจากจะช่วยพัฒนาพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์แล้ว ยังพัฒนาสกิลการแก้ปัญหาได้ดีด้วยนะ  ฉะนั้นอย่าอายที่จะตั้งคำถาม และต้องคิดตามอยู่เสมอ

     3. ฝึกจับประเด็น

     การอ่านหนังสือ เป็นกุญแจสำคัญที่จะพัฒนาศักยภาพด้านการคิดวิเคราะห์ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นจิตใจและความคิดของเรา โดยเทคนิคการอ่านคือการจับใจความ ย่อและสรุปความ และตั้งคำถามในใจกับสิ่งที่คุณอ่านได้ ลองอ่านดังๆ หรือคาดเดาบทต่อไปดู แล้วน้องจะรู้สึกมีส่วนร่วมกับการอ่านครั้งนั้นมากขึ้น

     4. ทำความเข้าใจกระบวนการของสิ่งต่างๆ

     การให้เหตุผลในทุกๆเรื่อง จะต้องแสดงถึงความเข้าใจด้วยการสรุปและให้ความหมายของข้อมูล ไม่ว่าจะสถานการณ์ไหน ไม่ใช่เพียงหาทางแก้ปัญหา แต่ต้องเข้าใจกระบวนการของสิ่งนั้นด้วย เพื่อที่จะพินิจพิเคราะห์ ว่ามันเกิดจากอะไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียนรู้ได้ง่ายๆ จากคาบการทดลองในวิชาวิทยาศาสตร์ เช่น ปากกาจะตกลงพื้นไวกว่าขนนก ด้วยน้ำหนักและแรงโน้มถ่วง ช่วงเวลาที่เราทำความเข้าใจกระบวนการของสิ่งต่างๆ อย่างแท้จริง จะช่วยกระตุ้นทักษะการคิดวิเคราะห์ในดีมากเลยทีเดียว

     5. ฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหา

     อาจเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ หรือแม้แต่ในปัญหาด้านอื่นๆ ให้ลองหาทางออกไว้หลายๆ ทาง ยิ่งมีหลายแผน ไม่ว่าจะแผน A แผน B น้องๆ ก็สามารถทดลองแก้ปัญหาได้หลายแบบ แล้วลองดูว่าแบบไหนเวิร์คที่สุด จงจำไว้ว่า ทุกปัญหามีทางออกเสมอ ขึ้นอยู่กับมุมมอง

วิธีการการคิดเชิงวิเคราะห์ทำอย่างไรได้บ้าง

⁃ หลัก ค.ว.ย.

  • คิด
  • วิเคราะห์
  • แยกแยะ

 

ทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อการแก้ปัญหา 5 ขั้นตอน

  • ปัญหา การนิยามปัญหา
  • การกำหนดสมมติฐาน
  • การเก็บและรวบรวมข้อมูลของปัญหา
  • การทำการวิเคราะห์ปัญหา
  • การสร้างมาตรการแก้ไข-ป้องกัน

 

เทคนิคในการวิเคราะห์ปัญหา

  • Benchmarking หรือการเทียบระดับตัวชี้วัดกับคู่แข่ง
  • SWOT analysis การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสพัฒนา และภาวะคุกคาม
  • Force field analysis แรงผลักดันในการเปลี่ยน และ แรงต่อต้านการเปลี่ยน
  • Cost benefit analysis การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย เทียบกับ ประโยชน์ที่ได้รับ
  • Impact analysis การวิเคราะห์ผลกระทบ
  • Pareto chart การวิเคราะห์เพื่อหา Top 3 problems

 

Root cause analysis การวิเคราะห์เพื่อหารากเหง้าของปัญหา

  • Brainstorming การระดมสมอง
  • หลักการของ Root cause analysis
  • ผังก้างปลา
  • 5 W+1 H
  • Why-Why Analysis

 

11 ขั้นตอนการพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการวิเคราะห์ เพื่อปลดล็อกความเป็นไปได้ใหม่ๆ สำหรับการเติบโตส่วนบุคคลและในสายอาชีพ

     ขั้นตอนที่ 1: ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของทักษะการวิเคราะห์: ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของทักษะการวิเคราะห์ในการเติบโตส่วนบุคคลและในอาชีพของคุณ ทำความเข้าใจว่าทักษะเหล่านี้มีส่วนช่วยในกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจอย่างไร

     ขั้นตอนที่ 2: ระบุองค์ประกอบหลักของทักษะการวิเคราะห์: แบ่งทักษะการวิเคราะห์ออกเป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่ การตีความข้อมูล การคิดเชิงวิพากษ์ การระบุปัญหา การจดจำรูปแบบ การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ และการตัดสินใจ ประเมินจุดแข็งและส่วนที่ต้องปรับปรุงในแต่ละองค์ประกอบ

     ขั้นตอนที่ 3: ค้นหาแหล่งข้อมูลการเรียนรู้: สำรวจแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ต่างๆ ที่สามารถช่วยคุณพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ สิ่งเหล่านี้อาจรวมถึงหลักสูตรออนไลน์ หนังสือ บทความ แบบฝึกหัด พอดแคสต์ และวิดีโอ เลือกแหล่งข้อมูลที่สอดคล้องกับสไตล์การเรียนรู้และเป้าหมายที่คุณต้องการ

     ขั้นตอนที่ 4: ศึกษาแนวคิดพื้นฐาน: เริ่มต้นด้วยการศึกษาแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับทักษะการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์ทางสถิติ การสร้างภาพข้อมูล การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ และอคติทางปัญญา เข้าใจทฤษฎี หลักการ และเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับแต่ละแนวคิด

     ขั้นตอนที่ 5: ฝึกการอ่านอย่างกระตือรือร้น: มีส่วนร่วมในการอ่านอย่างกระตือรือร้นโดยการเลือกหนังสือหรือบทความที่เน้นการคิดวิเคราะห์ จดบันทึก เน้นประเด็นสำคัญ และสะท้อนเนื้อหา พิจารณาว่าคุณสามารถใช้แนวคิดและกลยุทธ์ที่กล่าวถึงในสถานการณ์จริงได้อย่างไร

     ขั้นตอนที่ 6: มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูล: ฝึกวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ชุดข้อมูลจริงหรือจำลอง ใช้ซอฟต์แวร์สเปรดชีต (เช่น Microsoft Excel, Google ชีต) หรือเครื่องมือวิเคราะห์ทางสถิติ (เช่น R, Python) เพื่อสำรวจข้อมูล คำนวณสถิติเชิงพรรณนา ระบุรูปแบบ และสร้างภาพ รับประสบการณ์จริงในการทำงานกับข้อมูล

     ขั้นตอนที่ 7: แก้ปัญหาการวิเคราะห์: ท้าทายตัวเองด้วยปัญหาการวิเคราะห์และปริศนา แก้ปัญหาของเล่นพัฒนาสมอง ปริศนาตรรกะ และปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ต้องใช้การคิดเชิงวิพากษ์ การใช้เหตุผล และการจดจำรูปแบบ มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ยืดความสามารถในการวิเคราะห์ของคุณ

     ขั้นตอนที่ 8: พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ: เพิ่มความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยการวิเคราะห์ข้อโต้แย้ง ประเมินหลักฐาน และตั้งคำถามกับสมมติฐาน ฝึกฝนการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและใช้กรอบความคิดเชิงวิพากษ์ เช่น การวิเคราะห์ SWOT การวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริง และเมทริกซ์การตัดสินใจกับสถานการณ์ในชีวิตจริง

     ขั้นตอนที่ 9: ทำงานร่วมกันและอภิปราย: มีส่วนร่วมในการอภิปรายกลุ่ม เวิร์กช็อป หรือฟอรัมออนไลน์กับบุคคลที่มีแนวคิดเดียวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มุมมอง และแนวทางการวิเคราะห์ ทำงานร่วมกันในโครงการที่ต้องใช้การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการวิเคราะห์ข้อมูล ขอคำติชมและเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น

     ขั้นตอนที่ 10: ใช้ทักษะการวิเคราะห์ในงานของคุณ: มองหาโอกาสในการใช้ทักษะการวิเคราะห์ของคุณในบทบาทมืออาชีพของคุณ ค้นหาโครงการหรืองานที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ นำเสนอข้อค้นพบ ข้อมูลเชิงลึก และข้อเสนอแนะของคุณต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

     ขั้นตอนที่ 11: Feedback & Repeat : สะท้อนความคืบหน้าและสิ่งที่ต้องปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ ประเมินว่าคุณใช้ทักษะการวิเคราะห์อย่างไร และระบุด้านที่จำเป็นต้องพัฒนาเพิ่มเติม แสวงหาความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อปรับแต่งความสามารถในการวิเคราะห์ของคุณ

ประโยชน์ของการคิดเชิงวิเคราะห์

 

     1. ทำให้สามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ เข้าใจเหตุผล และรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น

     หากเราเข้าใจหลักการคิดเชิงวิเคราะห์และนำเทคนิคของการคิดเชิงวิเคราะห์มาใช้อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เมื่อเจอสถานการณ์แล้วจะไม่รีบด่วนสรุปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  โดยใช้ความเชื่อเดิมๆ หรือสิ่งที่เราเชี่ยวชาญมาตัดสินสถานการณ์นั้นเร็วเกินไป  

     หากเจอเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาอุปสรรคแล้วเราใช้การคิดเชิงวิเคราะห์  ก็จะช่วยทำให้เราสามารถที่จะจัดการสถานการณ์นั้นได้ดีขึ้น

     การคิดเชิงวิเคราะห์เปรียบเสมือนกับการที่เราย้อนกลับไปดูอดีต  ว่าก่อนที่จะเกิดปัญหานี้มันมีสาเหตุหรือมีเหตุการณ์อะไรบ้างที่เกิดขึ้น  ยิ่งย้อนไปได้ไกลเท่าไหร่  ก็เป็นการวิเคราะห์ได้มากเท่านั้น  เป็นส่วยช่วยแก้จุดที่เป็นประเด็นสำคัญของปัญหาได้มากขึ้น

     2. ทำให้สามารถวิเคราะห์คำพูดและการกระทำของคน ทำให้เข้าใจคนได้มากขึ้น

     การคิดเชิงวิเคราะห์จะช่วยทำให้เราไม่รีบสรุปคำพูดและพฤติกรรมของคนที่เราสื่อสารด้วย    โดยทั่วไปคำพูดและพฤติกรรมของคนมักมาจากกรอบความคิด (Mindset) ซึ่งแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน 

     หากเราใช้หลักการคิดเชิงวิเคราะห์  เพื่อลงไปทำความเข้าใจคำพูดของเขามีที่มาจากอะไร  การกระทำของเขาในเรื่องต่างๆในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมีที่มาจากอะไร   ก็จะทำให้เราสามารถประยุกต์ใช้การคิดเชิงวิเคราะห์กับการเข้าใจคนได้มากขึ้น  

     3. ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อความ หรือคำกล่าวอ้างต่างๆ ว่ามีเหตุมีผลหรือไม่

     การวิเคราะห์ข้อความ คำกล่าวอ้างต่างๆ  โดยพิจารณาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างข้ออ้างและข้อสรุป หลักฐานที่นำมากล่าวอ้าง  แรงจูงใจหรือเหตุผลที่นำมากล่าวอ้าง  จะช่วยให้เราค้นพบความถูกต้องหรือข้อผิดพลาดของข้อมูล หรือคำกล่าวอ้างนั้นๆ

     4. นำไปใช้ในเรื่องค้นคว้าวิจัยเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน

     การคิดเชิงวิเคราะห์เป็นประโยขน์ต่อการค้นคว้า วิจัยในการหาความสัมพันธ์  หาเหตุผล  โดยพยายามเอาความแตกต่างในตัวแปรอิสระไปอธิบายในตัวแปรตามเพื่อพิสูจน์สมมติฐานว่าเป็นจริงตามนั้นหรือไม่

     นอกจากนั้น ยังเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์วัตถุต่างๆ  ทำให้เราทราบว่าสิ่งนั้นประกอบด้วยอะไรบ้างแต่ละส่วนย่อยทำงานประสานเชื่อมโยงกันอย่างไร

     การรู้ส่วนประกอบโครงสร้างต่างๆจะทำให้นักวิจัย  หรือนักวิทยาศาสตร์สามารถนำสารสกัดออกมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ได้

     5. ทำให้สามารถทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น ในยุค New Normal ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

     การคิดเชิงวิเคราะห์เป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนยุคใหม่ เพราะสถานการณ์ต่างๆ ในยุคปัจจุบันมักเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และไม่เป็นอย่างที่เราคิด ซึ่งเรียกว่า New Normal

     ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุใหม่ๆ  ซึ่งอาจจะไม่ใช่สาเหตุเดิมที่เราเคยเข้าใจ หากเราสามารถประยุกต์การคิดเชิงวิเคราะห์ได้   ก็จะทำให้เราสามารถที่จะเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างชัดเจนแม่นยำมากขึ้น

10 ปัญหาสาเหตุที่พนักงานไม่คิดวิเคราะห์

     1. ขาดความรู้ด้านข้อมูล: พนักงานอาจขาดทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการทำความเข้าใจและตีความข้อมูล

     2. การฝึกอบรมไม่เพียงพอ: พนักงานอาจไม่ได้รับการฝึกอบรมอย่างเพียงพอเกี่ยวกับเทคนิคและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล

     3. การเข้าถึงข้อมูลอย่างจำกัด: พนักงานอาจประสบปัญหาในการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือมีสิทธิ์จำกัดในการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล

     4. โครงสร้างพื้นฐานของข้อมูลที่ไม่มีประสิทธิภาพ: ระบบที่ไม่เพียงพอหรือเทคโนโลยีที่ล้าสมัยสามารถขัดขวางไม่ให้พนักงานทำงานกับข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     5. ปริมาณข้อมูลล้นหลาม: พนักงานอาจรู้สึกว่าปริมาณข้อมูลล้นหลาม ทำให้ยากที่จะดึงข้อมูลเชิงลึกที่มีความหมายออกมา

     6. คุณภาพของข้อมูลไม่ดี: ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์อาจนำไปสู่การวิเคราะห์ที่ผิดพลาดและข้อสรุปที่ไม่ถูกต้อง

     7. ขาดเครื่องมือวิเคราะห์: พนักงานอาจไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือซอฟต์แวร์และทรัพยากรที่จำเป็นในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     8. ข้อมูลแบบแยกส่วน: ข้อมูลอาจกระจัดกระจายไปตามแผนกหรือระบบต่างๆ ทำให้ยากต่อการรวมและวิเคราะห์

     9. ข้อจำกัดด้านเวลา: ปริมาณงานจำนวนมากและกำหนดเวลาที่จำกัดอาจทำให้พนักงานมีเวลาจำกัดในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วน

     10. การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง: พนักงานบางคนอาจต่อต้านการนำวิธีการวิเคราะห์หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งขัดขวางความก้าวหน้า

     สรุปได้ว่า การคิดเชิงวิเคราะห์หรือ Analytical Thinking หมายถึง ความสามารถในการจำแนกแยกองค์ประกอบต่างๆ และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น และไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทักษะชนิดไหนๆ ยิ่งฝึกฝนและเรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวคุณเองในทุกๆ วัน มากเท่าไหร่ ทักษะการคิดวิเคราะห์ภายในหัวของเราก็จะกลายสิ่งที่ติดตัวไปโดยปริยาย

ที่มา : https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/84730/-per-

https://www.palagrit.com/what-is-analytical-thinking/

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

 

RECCOMMEND: MANAGEMENT

เขียนสัญญาเช่ายังไงให้รัดกุม ธุรกิจไม่เสียเปรียบ

สัญญาเช่า เรื่องใกล้ตัวผู้ประกอบการหลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่รู้ไหมการมีสัญญาเช่าที่ดีและรัดกุม สามารถป้องกันปัญหาและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้มากมาย

ทำงานให้ได้งาน 4 เทคนิคบริหารเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ทำไมบางคนงานท่วมหัว ทำงานยุ่งอยู่ตลอดเวลา แต่งานกลับไม่หมดซะที แถมยังส่งงานไม่ทันกำหนด เราเลยมีเทคนิค เช่น Eisenhower Matrix, Eat that frog, Pomodoro และ กฎ 80/20  ซึ่งจะช่วยให้บริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพและชีวิตการทำงานไม่เครียดอีกต่อไป

ประชุมยังไงให้ได้งาน เทคนิคจาก 4 คนดังที่ประสบความสำเร็จ 

การประชุมที่มีประสิทธิภาพนำไปสู่ความสำเร็จ มักจะมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เราจึงมีเคล็ดลับการประชุมที่แตกต่างกันของคนดังที่ประสบความสำเร็จ  พร้อมแนะนำเทคนิคที่จะช่วยให้การประชุมมีประสิทธิภาพมาฝาก