​6 วิธี สร้างแรงบันดาลใจให้พนักงาน




แปลและเรียบเรียง : เจษฎา ปุรินทวรกุล

    สำหรับผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือผู้นำองค์กร หน้าที่สำคัญประการหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือ การทำให้ทีมของตัวเองมีความพร้อมและมีประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงควรสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกทีมได้ด้วย แต่คำถามคือ จะทำอย่างไร เพราะในการทำงานจริง ลูกน้องของคุณอาจต้องพบกับความท้าทายอีกมากมาย การที่พวกเขาจะผ่านพ้นวันแห่งความยากลำบากมาได้ ต้องมีทั้งแรงกระตุ้น แรงจูงใจ และสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ซึ่งบุคคลที่เป็นผู้นำต้องสามารถสร้างแรงจูงใจให้พนักงานก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ไปได้ด้วยดี และนี่คือ 6 เคล็ดลับ ที่ผู้นำจะสามารถสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน

1.    มองถึงอนาคต หากองค์กรของคุณมีนโยบายส่งเสริมพนักงานจากภายใน เช่น การสร้างผลงานเพื่อเลื่อนขั้น ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาตัวเอง ศึกษาดูงานที่ต่างประเทศ ให้ทุนการศึกษาต่อปริญญาโทหรือปริญญาเอก ฯลฯ ต้องพยายามบอกให้พนักงานรับรู้ เพราะโอกาสเติบโตเหล่านี้จะช่วยสร้างแรงจูงใจให้พนักงานทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ และพนักงานเองก็สามารถนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาองค์กรต่อไปได้ในอนาคต

2.    แชร์ประสบการณ์ การแชร์ประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกับพนักงานในองค์กร ไม่จำเป็นต้องบอกถึงความสำเร็จ หรือวิธีการเดินไปสู่ความสำเร็จเพียงอย่างเดียว แต่ควรบอกถึงปัจจัยของความล้มเหลว ประสบการณ์ที่คุณเคยพลาด เพื่อให้พนักงานสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง นอกจากนี้ควรแบ่งปันเรื่องราวของบุคคลที่เคยล้ม แต่ปัจจุบันกลับประสบความสำเร็จขึ้นมาได้ หรืออาจเล่าเรื่องราวขององค์กรที่เคยล้มลุกคลุกคลานกว่าจะเติบโตขึ้นมาได้ เพื่อให้พนักงานรับรู้ว่าทุกคนต้องพบกับปัญหาทั้งนั้น และถ้ามีใครคนใดคนหนึ่งฝ่าฟันปัญหานั้นๆ ไปได้ เราก็ควรที่จะทำได้เช่นกัน



3.    สร้างสรรค์คำพูดเชิงสร้างสรรค์ในทุกสถานการณ์ พนักงานทุกคนมีการรับรู้และความเข้าใจแตกต่างกัน คุณไม่มีทางรู้หรอกว่าเขาเข้าใจในสิ่งที่คุณสื่อสารกับเขามากน้อยแค่ไหน ดังนั้น ทุกประโยคที่พูดกับพนักงาน ไม่ว่าจะสั้นหรือยาว ควรมีองค์ประกอบของคำพูดที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจได้ หรือเมื่อคุณได้คุยกับพนักงานแบบตัวต่อตัว เป็นกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ๆ ผู้นำองค์กรหรือหัวหน้า ก็ควรใช้โอกาสเหล่านั้นในการสร้างประโยคที่จะสามารถจับใจของพนักงานได้อย่างอยู่หมัด อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรต้องระมัดระวังก็คือ พนักงานอาจมีวันดีๆ และวันแย่ๆ ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเงิน ฯลฯ ซึ่งบางครั้งพวกเขาอาจไม่พร้อมที่จะรับรู้หรือตอบสนองกับคำพูดของคุณก็ได้

4.    จำไว้ว่า พฤติกรรมที่ดีในองค์กรเป็นโรคติดต่อได้ ลองมองหาใครสักคนหนึ่งในองค์กรของคุณที่ทำอะไรดีๆ สร้างสรรค์ แล้วชมเขาในที่ๆ พนักงานคนอื่นๆ สามารถได้ยินว่าเราคุยอะไรกับพนักงานคนนั้น ยกตัวอย่างเช่น พนักงานคนหนึ่งใช้เวลาหลังเลิกงานในการค้นคว้าข้อมูลก่อนการประชุมทุกครั้ง ทำให้ในทุกการประชุมเป็นไปด้วยความราบรื่น มีเอกสารรับรองครบถ้วน ไม่ต้องเสียเวลาประชุมซ้ำซ้อนกันหลายๆ ครั้ง ซึ่งเรื่องนี้เราสามารถชมพนักงานคนนั้นต่อหน้าพนักงานคนอื่นได้อย่างเต็มที่ เพื่อเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี และเป็นแรงบันดาลใจให้กับพนักงานที่มีความคิดสร้างสรรค์หรือมีความขยัน ให้กล้าที่จะคิดนอกกรอบด้วย
 


5.    รู้ว่าพนักงานต้องการอะไร มันเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะให้พนักงานสร้างความสัมพันธ์กับผู้นำที่พลิกลิ้นดิ้นไปดิ้นมาเป็นปลาไหลใส่สเก็ต ดังนั้น หากคุณเป็นผู้นำองค์กรและมักที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงาน หรือมีนโยบายส่งเสริมด้านต่างๆ ก็ควรจำไว้ว่าพูดอะไรไปแล้วบ้าง ไม่ใช่ว่าพอพนักงานทำได้ตามที่คุณเคยพูด คุณก็เปลี่ยนกฎให้พนักงานทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ต่อไปอีก ซึ่งผู้นำองค์กรควรเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ในคำพูดและรู้ว่าพนักงานมีความปรารถนาอะไรจากองค์กร พร้อมกับคอยติดตามดูความก้าวหน้าอยู่เสมอ

6.    ก็แค่ถาม ในกรณีที่คุณไม่ทราบว่าแรงจูงใจของพนักงานคืออะไร ลองถามพวกเขาดูก็ได้ ยกตัวอย่างเช่นทีมงานฝ่ายขาย หรือเซลส์ขายรถ บอกว่าแรงจูงใจในการทำงานของพวกเขาก็คือค่าคอมมิชชั่นจำนวนมหาศาล ขณะที่อีกคนอาจบอกว่าค่าคอมมิชชั่นไม่ใช่แรงจูงใจสูงสุด แต่เป็นการได้ทำงานตรงเวลา (ไม่ต้องทำล่วงเวลาแม้จะได้โอทีก็ตาม) เพื่อที่ช่วงเย็นจะได้มีเวลากลับไปดูแลครอบครัว เห็นไหม มันไม่ใช่เรื่องยากเลย ก็แค่ถามในสิ่งที่พนักงานต้องการ เราจะได้รู้ในสิ่งที่เขาต้องการ และสิ่งไหนที่เราสามารถทำได้ ก็ตอบสนองไป เพื่อให้พวกเขามีแรงกระตุ้นในการทำงาน รวมถึงมีความสุขกับการทำงานเพิ่มขึ้น

    ในบางองค์กร คุณอาจไม่สามารถใช้เคล็ดลับนี้ได้ครบทุกข้อ แต่การเริ่มต้นลงมือทำ แม้จะไม่กี่ข้อก็สามารถแสดงถึงความห่วงใยที่ผู้นำองค์กรมีต่อลูกน้องได้แล้ว   
 
    แปลและเรียบเรียงจากบทความของ Marty Fukuda ผ่านทาง www.entrepreneur.com  

    Crate by smethailandclub.com

RECCOMMEND: MANAGEMENT

เขียนสัญญาเช่ายังไงให้รัดกุม ธุรกิจไม่เสียเปรียบ

สัญญาเช่า เรื่องใกล้ตัวผู้ประกอบการหลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่รู้ไหมการมีสัญญาเช่าที่ดีและรัดกุม สามารถป้องกันปัญหาและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้มากมาย

ทำงานให้ได้งาน 4 เทคนิคบริหารเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ทำไมบางคนงานท่วมหัว ทำงานยุ่งอยู่ตลอดเวลา แต่งานกลับไม่หมดซะที แถมยังส่งงานไม่ทันกำหนด เราเลยมีเทคนิค เช่น Eisenhower Matrix, Eat that frog, Pomodoro และ กฎ 80/20  ซึ่งจะช่วยให้บริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพและชีวิตการทำงานไม่เครียดอีกต่อไป

ประชุมยังไงให้ได้งาน เทคนิคจาก 4 คนดังที่ประสบความสำเร็จ 

การประชุมที่มีประสิทธิภาพนำไปสู่ความสำเร็จ มักจะมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เราจึงมีเคล็ดลับการประชุมที่แตกต่างกันของคนดังที่ประสบความสำเร็จ  พร้อมแนะนำเทคนิคที่จะช่วยให้การประชุมมีประสิทธิภาพมาฝาก