7 ขั้นตอนเตรียมความพร้อมซื้อแฟรนไชส์จากต่างประเทศ   

Text : Phan P.


     หากมีเงินสักก้อนแล้วอยากลงทุนทำธุรกิจ เชื่อว่าหนึ่งในโมเดลที่น่าสนใจคือ การซื้อแฟรนไชส์ต่างประเทศมาเปิดสาขาในประเทศไทย ซึ่งหลายคนอยากรู้ว่ามีขั้นตอนรายละเอียดอย่างไร มีความยุ่งยากหรือไม่ และจะต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง วันนี้ SME Thailand เลยจะมาบอกเล่าขั้นตอนและเคล็ดลับดีๆ ของการซื้อแฟรนไชส์จากต่างประเทศมาดำเนินธุรกิจในไทยกันว่ามีอะไรบ้าง

1. เช็กความต้องการของตัวเอง

     วิเคราะห์โอกาส เทรนด์ ความต้องการของตลาดของแฟรนไชส์นั้นๆ โดยพิจารณาจากชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ ความโดดเด่น ว่ามีโอกาสเติบโตมากน้อยแค่ไหนในเมืองไทย และไปด้วยกันได้กับพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยหรือไม่ ซึ่งหากสามารถเลือกแฟรนไชส์ที่มีความชอบมีความถนัดอยู่แล้ว ก็จะช่วยให้การทำแฟรนไชส์นี้มีความสุขไปด้วย   

2. ตรวจสอบข้อมูลแฟรนไชส์ที่สนใจ

     พาร์ทเนอร์นั้นสำคัญมาก ด้วยการทำงานกับแฟรนไชส์ต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะมีสัญญาระยะเวลายาว ดังนั้น การเลือกแฟรนไชส์ นอกจากจะมั่นใจในโปรดักต์แล้ว ต้องดูไปถึงรายละเอียดต่างๆ และบริษัทแฟรนไชส์นั้นด้วยว่าจะทำให้เราสามารถทำงานด้วยความสบายใจหรือไม่ ทั้งนี้ ช่องทางหนึ่งที่จะทำให้รู้จักแฟรนไชส์มากขึ้น คือการไปเดินดูงานแฟร์แฟรนไชส์ต่างประเทศ เพื่อจะได้รู้จักพูดคุยในรายละเอียดข้อสงสัยโดยตรง ซึ่งจะทำให้มีโอกาสเจอแฟรนไชส์ที่ถูกใจจริงๆ และที่สำคัญอย่าลืมศึกษาข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

 3. ดูความพร้อมของตัวเอง

     สิ่งสำคัญในการซื้อแฟรนไชส์ต่างประเทศคือ ถามตัวเองด้วยว่ามีความพร้อมหรือไม่ ทั้งเงินทุน ทีม ความรู้ความสามารถ และปัจจัยอื่นๆ เช่น สถานที่ขาย เวลาที่มี ซึ่งเวลาที่เราติดต่อขอซื้อแฟรนไชส์นั้นไม่ใช่เราเลือกแฟรนไชส์อย่างเดียว แต่เจ้าของลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ก็จะต้องเลือกเราด้วยเหมือนกัน ซึ่งหลายที่ไม่ได้ดูที่เงินอย่างเดียว แต่ดูไปถึงประสบการณ์ และโปรไฟล์ของผู้ซื้อด้วย รวมถึงการดูเอกสารต่างๆ เช่น งบการเงิน เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

 

4. พิจารณาค่าใช้จ่าย

     ก่อนจะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ต่างประเทศ ต้องรู้และเข้าใจว่ามีค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง มีวิธีการแบ่งผลตอบแทนอย่างไร โดยค่าธรรมเนียมที่ผู้ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องจ่ายนอกจากค่าธรรมเนียมเริ่มต้น ซึ่งส่วนใหญ่จ่ายเป็นเงินก้อนแล้ว ยังมีค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายต่อเนื่อง และเงินประกัน บางที่มีค่าใช้จ่ายสำหรับการฝึกอบรมพนักงานด้วย

 5. ติดต่อเจรจากับแบรนด์

     หลังจากรู้ว่าชอบและสนใจแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศนั้นแล้ว ก็ควรเริ่มติดต่อและมีการเจรจาพูดคุยกันกับบริษัทแม่ โดยต้องแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ มีการเสนอโปรไฟล์ มีการจัดทำเอกสารต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนธุรกิจ    

6. หาทำเลที่มีศักยภาพๆ

    ปัจจัยหนึ่งหนึ่งที่บริษัทแฟรนไชส์ให้ความสำคัญ ก็คือทำเลที่ตั้งในการเปิดร้านหรือดำเนินธุรกิจ นอกจากจะต้องมองหาสถานที่ที่เปิดตัวมีคนหนาแน่น มีคนเดินผ่านไปผ่านมาแล้วเห็นเยอะ ยังควรเลือกทำเลที่สะท้อนถึงตัวตนของแบรนด์แฟรนไชส์นั้นๆ ด้วย  

7. รับการฝึกอบรมและเปิดร้าน

     การซื้อแฟรนไชส์จากต่างประเทศเข้ามาเมืองไทย หลังจากเจรจาลงตัว จะต้องมีการส่งทีมงานไปอบรมการทำงานกับบริษัทแม่ เพื่อเรียนรู้งานทุกๆ ขั้นตอนอย่างละเอียดก่อนที่เปิดร้าน เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FRANCHISE

เปิดเทรนด์ 4 Franchise ตัวท้อป! น่าลงทุนปี 2025

ธุรกิจแฟรนไชส์มีมูลค่าตลาดสูงถึง 3 แสนล้านบาท ไม่รวมร้านสะดวกซื้อขนาดใหญ่ จึงยังเป็นทางเลือกของการลงทุน แล้วมีแฟรนไชส์อะไรในปี 2025 ที่ควรค่าแก่การลงทุน ไปอัปเดตกันเลย

มัดรวม 4 แฟรนไชส์ตู้กด เทรนด์แรง น่าลงทุน

ธุรกิจตู้กด มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด หันไปทางไหนก็เจอ หลายธุรกิจหันมาขยายสู่โมเดลธุรกิจแฟรนไชส์ แต่เปลี่ยนจากหน้าร้านใหญ่โต ย่อส่วนลงมาให้เหลือเพียงตู้กด แต่จะมีแฟรนไชส์ไหนที่น่าลงทุนบ้าง เราได้รวบรวมแฟรนไชส์ตู้กดเจ๋งๆ มาให้ดูกัน

ระวังลูกค้าหนี แบรนด์พัง คู่แข่งแซงหน้า ถ้า SME ยังไม่ปรับตัวสู่ธุรกิจสีเขียว

ท่ามกลางอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นทุกปี คาดว่าปี 2567 จะร้อนยิ่งกว่าปี 2566  ประเทศไทยของเราต้องเผชิญกับทั้งอากาศร้อนจัดและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว แต่ท่ามกลางวิกฤต ยังมีโอกาส! เมื่อเศรษฐกิจสีเขียว กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว