อยากต่อยอดธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ขยายกิจการให้โต SME ต้องทำอย่างไร?

 

    หนึ่งในโมเดลที่หลายคนให้ความสนใจในการขยายธุรกิจคือ การแปลงธุรกิจของตัวเองให้กลายเป็น “แฟรนไชส์” แต่หลายคนอาจสงสัยว่า การทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ต้องทำอย่างไร?

     วันนี้ SME Thailand Online จะพาไปคลายข้อสงสัยกัน

คอนเซปต์ธุรกิจต้องชัดเจน 

     สิ่งแรกในกระบวนการของการทำแฟรนไชส์ คือ ต้องวางแนวคิดด้าน Business Concept หรือการออกแบบธุรกิจให้ชัดเจนก่อน ยกตัวอย่าง ร้านกาแฟบางแบรนด์ถูกวางให้เป็นกาแฟของคนทำงาน ขณะที่บางแบรนด์เป็นกาแฟของครอบครัว หรือเป็นกาแฟเป็นของนักเดินทาง จะเห็นได้ว่ามันไม่ใช่แค่กาแฟเท่านั้น นอกจากนี้ Product Concept ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ซึ่งต้องโดดเด่นและถ้าวางแนวคิดได้ดี สามารถนำไปสู่การสร้าง Brand Concept ได้อีกด้วย 

ต้องมีแบรนด์ 

     เมื่อคอนเซปต์ธุรกิจชัดเจนแล้ว ก็ต้องมีแบรนด์และต้องไปจดลิขสิทธิ์เรื่องของแบรนด์และตราสินค้าให้ถูกต้องตามกฏหมาย จะได้เป็นที่จดจำและให้แฟรนไชส์ซี (ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์) สามารถนำแบรนด์นี้ไปใช้ได้

ออกแบบกระบวนการทำงาน 

     การออกแบบกระบวนการทำงาน หรือ Systematic Management คือ ต้องรู้จักบริหารจัดการ ให้เป็นรูปแบบให้ได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะตายเพราะขาดการวางระบบ หลายคนมัวแต่สร้างแบรนด์ พอลงมือทำจริงๆ กลับควบคุมคุณภาพไม่ได้ ที่ผ่านมาธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะคุมคุณภาพไม่ได้ เพราะสร้างแต่การตลาดแต่ไม่ได้สร้างระบบงานรองรับ 

ร้านต้นแบบ

     สำหรับคนที่คิดที่จะทำแฟรนไชส์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี “ร้านต้นแบบ” ขึ้นมาก่อน เป็นการทดลองต่างๆ เตรียมความพร้อมให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เช่น การออกแบบกระบวนการให้บริการลูกค้า การดีไซน์รูปแบบของร้านค้า เป็นต้น

โนว์ฮาว

    องค์ความรู้ต่างๆ ที่จะทำให้สินค้ามีมาตรฐาน ดังนั้นต้องมีการสร้างระบบเพื่อถ่ายทอดให้กับผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ อาทิ

1. กระบวนการ Operation หน้าร้าน ก่อนเข้ากะทำอะไร ระหว่างวันทำอะไร หลังจากปิดร้านต้องทำอะไร

2. วิธีการคุมสต็อก สั่งสินค้าตอนไหน จะตรวจรับสินค้าอย่างไร

3. การวิเคราะห์ข้อมูล คือยอดขายทั้งหมดจะต้องถูกสรุปมาว่าวันนี้อะไรขายดี อะไรขายไม่ดี จะใช้การตลาดทำให้ขายดีขึ้นมาได้ไหม หรือขายดีต้องรักษาไว้

4. การหาลูกค้า ทำอย่างไรให้ลูกค้าเป็นลูกค้าประจำ

5. เรื่องของคน จะฝึกพนักงานอย่างไรให้เก่งสามารถรับออร์เดอร์ เชียร์สินค้าได้ และคุมเงินได้ในกรณีที่เจ้าของไม่อยู่

ทีมงาน 

     คงไม่มีใครที่สามารถดูแลแฟรนไชส์กว่า 10 สาขาด้วยตัวคนเดียวได้ ต้องมีทีมงานคอยช่วยเหลือดูแลสาขาอื่นๆว่าบริการดีหรือไม่ ระบบต่างๆ ทำได้มาตรฐานไหม หรือคอยแนะนำสอนผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ทำธุรกิจ ว่าต้องทำร้านแบบนี้ ทำการตลาดแบบนี้ เรียกลูกค้าแบบนี้ ทำอย่างไรให้ลูกค้าเข้าร้าน ปัญหายอดขายตกเขาจะทำอย่างไร ฯลฯ

บริหารความสัมพันธ์   

     อีกเรื่องหนึ่งที่ผู้อยากทำธุรกิจแฟรนไชส์ต้องรู้คือ วิธีการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีด้วย เนื่องจากแฟรนไชส์เป็นกระบวนการที่ต้องมีการแบ่งผลประโยชน์ อาจเรียกได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการแบ่งผลประโยชน์ คือ คุณช่วยเขา เขาก็จ่ายผลประโยชน์กลับมา ดังนั้น ในธุรกิจแฟรนไชส์หากคุณไม่สามารถสร้างประโยชน์กลับมาได้อย่างต่อเนื่อง ตัวแฟรนไชซอร์เองก็จะลำบาก ฉะนั้นแล้วการบริหารความสัมพันธ์ในระบบแฟรนไชส์ นับเป็นอีกเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ด้วย 

     ถึงตรงนี้จะเห็นแล้วว่า การก้าวเข้าไปสู่ระบบแฟรนไชส์นั้นไม่ง่ายเลย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถทำได้ ดร.พีระพงษ์ มักจะพูดเสมอๆ ว่า “ก่อนที่สร้างเครื่องบิน คุณต้องสร้างจักรยานก่อน” เวลาที่คุณบอกว่าจะสร้างแฟรนไชส์ ก็เหมือนคุณบอกว่าจะสร้างเครื่องบินนั่นเอง ดังนั้น ก่อนที่จะไปสร้างเครื่องบิน ลองสร้างจักรยานก่อนดีกว่าไหม ค่อยๆ ทำไป เมื่อไหร่ที่คุณเข้าใจคอนเซ็ปต์ของจักรยาน คุณก็จะเข้าใจคอนเซ็ปต์ของเครื่องบิน แม้จะฟังดูเหมือนเป็นปรัชญา แต่นี่คือเรื่องจริงที่ ดร.พีระพงษ์ฝากทิ้งท้ายไว้

วิธีสร้างรายได้

1. ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น หรือ Initial Fee หลายคนอาจเข้าใจว่าเป็นเงินกินเปล่าแต่แท้จริงแล้ว เป็นค่าที่คุณต้องเทรนคนให้ทำเป็น ค่าที่คุณต้องทำการตลาดเพื่อให้ได้แฟรนไชซีเข้ามาคุณต้องไปออกงานอะไรบ้าง นี่คือค่าใช้จ่ายพวกนี้ เป็นต้นทุน

2. ค่ารอยัลตี้ เก็บรายเดือน คือ ค่าสิทธิ์และค่าใช้จ่ายที่เราเข้าไปช่วยดูแลเขา

3. ค่าการตลาด เป็นเหมือนเอาเงินแต่ละสาขามาลงขันอาจจะสัก 1-3 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน เพื่อทำการตลาดภาพรวม เช่น การโฆษณา และควรสรุปว่าค่าการตลาดที่เก็บไปเอาไปทำอะไรบ้าง เพื่อให้โปร่งใส เกิดความไว้ใจ เพราะถ้าไม่จริงใจต่อกัน ความสัมพันธ์ก็จะไม่เกิด

     นี่อาจเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะช่วยทำให้ผู้ที่อยากทำธุรกิจแฟรนไชส์นำไปปรับใช้ได้


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FRANCHISE

มัดรวม 4 แฟรนไชส์ตู้กด เทรนด์แรง น่าลงทุน

ธุรกิจตู้กด มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด หันไปทางไหนก็เจอ หลายธุรกิจหันมาขยายสู่โมเดลธุรกิจแฟรนไชส์ แต่เปลี่ยนจากหน้าร้านใหญ่โต ย่อส่วนลงมาให้เหลือเพียงตู้กด แต่จะมีแฟรนไชส์ไหนที่น่าลงทุนบ้าง เราได้รวบรวมแฟรนไชส์ตู้กดเจ๋งๆ มาให้ดูกัน

ระวังลูกค้าหนี แบรนด์พัง คู่แข่งแซงหน้า ถ้า SME ยังไม่ปรับตัวสู่ธุรกิจสีเขียว

ท่ามกลางอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นทุกปี คาดว่าปี 2567 จะร้อนยิ่งกว่าปี 2566  ประเทศไทยของเราต้องเผชิญกับทั้งอากาศร้อนจัดและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว แต่ท่ามกลางวิกฤต ยังมีโอกาส! เมื่อเศรษฐกิจสีเขียว กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

3 แฟรนไชส์ ก๋วยเตี๋ยวเรือเจ้าดัง น่าลงทุน ปี 2023

หนึ่งในร้านอาหารที่ติด Top 3 ที่คนค้นหามากที่สุด คือ ก๋วยเตี๋ยว วันนี้เราเลยจะมาแนะนำ 3 แฟรนไชส์ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือเจ้าดังที่น่าลงทุน ปี 2023 พร้อมราคาแฟรนไชส์มาฝากกัน