เรื่อง เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ
ภาพ กฤษฎา ศิลปไชย
ขนมยุคดิจิตอลเพียงรสชาติอร่อยอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องหน้าตาดีด้วยจึงจะโดนใจผู้บริโภค “รัตน์ปิยะ เหมือนเปี่ยม” ซึ่งเข้าใจดีกับพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่นี้ จึงเกิดไอเดียแปลงโฉมขนมบราวนี่ขึ้นมา ให้มีหน้าตาเก๋ไก๋ไม่ซ้ำใคร ภายใต้แบรนด์ Brownie Prop เรียกได้ว่าเป็นบราวนี่มีสไตลทั้งรสชาติอร่อย แถมหน้าตายังน่าทาน เหมาะแก่การถ่ายรูปโอดโฉมบนโลกโซเชียมีเดียอีกต่างหาก
รัตน์ปิยะ หนุ่มเจ้าของไอเดีย Brownie Prop ย้อนเล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกนั้น เขาเปิดร้านอาหารทะเลให้แฟน (เวธกา โตชูวงศ์) ดูแล ซึ่งสร้างได้รายได้เป็นแสนต่อเดือน แต่เมื่อหันกลับมามองก็รู้สึกว่า ในแต่ละปีสั่งฆ่าปลาเป็นจำนวนมากเลยคิดว่าน่าจะมีทางเลือกในการทำเงินที่ไม่ต้องยุ่งกับสิ่งมีชีวิต ประกอบกับแฟนของเขาเป็นคนชอบทำขนมอยู่แล้ว จึงตัดสินใจที่เลือกบราวนี่มาสร้างเป็นธุรกิจใหม่
“เพราะบราวนี่เป็นขนมที่ผมชอบที่สุดและแฟนผมก็คิดว่าเป็นขนมจุดเด่นของเขาด้วย ตอนนั้นพยายามนั่งคิดว่าจะเอาตัวบราวนี่มาทำอะไรให้แปลกตา ก็เปิดตู้เย็นดูเห็นไอศกรีมและช็อคโกแลตแช่อยู่ ด้วยความอยากรู้อยากลอง ผมตัดบราวนี่ขนาดเท่าไอศกรีมแท่ง และลองเสียบไม้จริงๆ ไอเดียบราวนี่เสียบไม้มีอยู่แล้วในต่างประเทศ เพราะคำว่า Prop หมายถึงขนมที่เสียบไม้ แต่การเสียบไม้ของเขาไม่สวย ผมเลยครีเอทใหม่พร้อมต่อยอดให้ดูดี ด้วยการลองเคลือบช็อคโกแลตและโรยหน้าท๊อปปิ้งหน้าดู”
ทั้งนี้ หากมองตลาดในเมืองไทยตัวขนมบราวนี่ ถือว่ามีคนขายเป็นจำนวนมาก แทบทุกร้านเบเกอรี่จะบรรจุบราวนี่เป็นหนึ่งในเมนูที่ขาดไม่ได้ จุดนี้เองทำรู้ว่าตลาดบราวนี่มีมาเก็ตแชร์มีผู้บริโภคอยู่ แต่กลับไม่มีร้านขายบราวนี่เฉพาะเจาะจง หรือขายบราวนี่แบบมีสไตล ทำให้เกิดช่องว่างสำหรับBrownie Prop ในการเจาะตลาดบราวนี่และข้อดีของบราวนี่ที่แตกต่างจากขนมชนิดอื่น คืออายุการเก็บรักษานานสามารถอยู่ได้ประมาณหนึ่งอาทิตย์ ทำให้ง่ายแก่การควบคุมสต็อกอีกด้วย
ก่อนที่จะตัดสินใจขยายธุรกิจด้วยรูปแบบของการขายแฟรนไชส์ รัตน์ปิยะเล่าว่า เขาขายบราวนี่ผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก ด้วยรูปลักษณ์ของบราวนี่ที่แปลกตา พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถเลือกดิปปิ้งและท๊อปปิ้งได้ตามใจ ก่อนที่บราวนี่สวยๆ เหล่านี้จะถูกบรรจุลงในกล่องสีขาวหรูหราเหมาะกับการให้เป็นของขวัญ ประกอบกับช่วงเวลาที่เปิดตรงกับเทศกาลวาเลนไทน์พอดี ทำให้ Brownie Propมียอดสั่งซื้อทะล่มทะลายผลิตแทบไม่ทันและหลังจากนั้นก็มีคนติดต่อขอซื้อแฟรไชส์จำนวนมาก แต่รัตน์ปิยะขอระยะเวลาศึกษาเรื่องแฟรนไชส์ก่อน
“เริ่มขายได้สามเดือน ก็มีคนถามว่ามีขายส่ง มีขายแฟรนไชส์ไหม ก็เลยศึกษาเรื่องระบบแฟรนไชส์ และระบบขายส่งเพื่อจะได้บริหารจัดการให้ได้มาตรฐานเหมือนกัน เพราะถ้าไม่มีระบบธุรกิจไม่มีทางยั่งยืน เดือนที่สี่ เดือนที่ห้าผมออกบูธขายบราวนี่ตามหัวเมืองต่าง ขายที่ตลาดนัดออฟฟิศ วางขายตามห้างในเมืองและชานเมืองเพื่อเก็บสถิติและวิเคราะห์กลั่นกรองจนรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของ Brownie Prop คือกลุ่มคนออฟฟิศ วัยรุ่น และเด็ก
ต่อมาผมประเมินกำลังการผลิตว่าพนักงาน 5 คน ผลิตได้กี่ชิ้น และสุดท้ายคิดระบบขนส่งว่าทำอย่างไรให้สินค้าไม่เสียหายเพราะสินค้าทำด้วยช็อคโกแลตโดนแดดแล้วละลาย ผมลองส่งทุกทางเพื่อหาวิธีที่เหมาะสม เมื่อมั่นใจว่า Brownie Prop พร้อม จึงเปิดขายแฟรนไชส์และขายส่งด้วย
หลักการก็คือ ถ้าคุณเป็นแฟรนไชส์จะซื้อในราคาที่ถูกกว่าราคาขายส่ง สำหรับขายส่งต้องมีการสั่งซื้อขั้นต่ำและจะสามารถทำกำไรต่อกล่องได้ 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแฟรนไชส์จะได้กำไร 50 เปอร์เซ็นต์ เหตุผลที่ผมไม่เปิดรับแฟรนไชส์ตั้งแต่แรกเพราะผมต้องการวางระบบจนมั่นใจว่า คนลงทุนกับผมเขาจะไม่เจ๊ง ผมอยากให้เขาอยู่กับBrownie Prop นานๆ”
ในส่วนของรูปแบบแฟรนไชส์ของ BrownieProp มี 2 แบบ รูปแบบแรกเป็นช็อปแบบเทคโฮม ต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 2เมตรx2 เมตร แฟรนไชส์รูปแบบนี้ แฟรนไชส์ซีจะมีรายได้ 3 ทางด้วยกันได้แก่ ขายหน้าร้าน ขายออนไลน์และขายส่งให้กับพ่อค้าแม่ค้าตามพื้นที่ เช่น เชียงใหม่ แฟรนไชส์ซีจะมีสิทธิ์ขายส่งแต่เพียงรายเดียวทั่วจังหวัด ราคาค่าแฟรนไชส์อยู่ที่150,000 บาท โดยแฟรไชส์ซีจะได้รับตู้แช่เค้ก ป้ายโลโก้ ถาดโชว์สินค้า ถุงผลิตภัณฑ์ และตัวบราวนี่ขนาดใหญ่จำนวน135 แท่งและบราวนี่ขนาดเล็กจำนวน 100 แท่ง เรียกได้ว่าได้อุปกรณ์ครบถ้วนพร้อมขายไม่ต้องลงทุนเพิ่ม
“ผมคำนวณคร่าวๆ แบบยอดขายขั้นต่ำสุด เผื่อคนซื้อแฟรนไชส์อยู่ในทำเลไม่ดี เพราะถ้าผมขายเองผมขายได้มากกว่านี้เยอะ ถ้าในหนึ่งวันขายบราวนี่กล่องใหญ่ที่บรรจุบราวนี่ 5 ชิ้นได้5 กล่อง บราวนี่กล่องเล็กที่บรรจุบราวนี่ 3 ชิ้นได้5 กล่อง และขายบราวนี่ชิ้นเล็กได้ 50 ชิ้น ถ้าขายได้ตามที่วางเป้าหมายไว้จะได้กำไร 4,000-5,000 ต่อวัน เมื่อรวมยอดขายรายเดือนจะได้ประมาณ 100,000 บาท เมื่อหักค่าต้นทุนบราวนี่จะเหลือประมาณ 60,000 บาท หักค่าพนักงานกและค่าเช่าที่ประมาณ 20,000 บาทจะเหลือกำไรประมาณ 20,000-30,000 บาทต่อเดือน แค่ 5 เดือนก็คืนทุน”
ส่วนแฟรนไชส์อีกรูปแบบหนึ่งเป็นคีออส เหมาะแก่การเคลื่อนย้ายขายตามตลาดนัดออฟฟิศ หรือตลาดนัดในห้าง แฟรนไชส์ชนิดนี้ลงทุนเพียง 50,000 บาท โดยจะได้รับสินค้าพร้อมเปิดดำเนินการ เช่น บูธถอดประกอบได้ กล่องผลิตภัณฑ์ ถุงผลิตภัณฑ์ และตัวบราวนี่ขนาดเล็กจำนวน 200 แท่ง
“ผมเคยลองตั้งบูธขายบราวนี่ชิ้นเล็ก ในหนึ่งวันขายได้ขั้นต่ำประมาณ 200-300 ชิ้น ราคาบราวนี่ชิ้นเล็ก 3 ชิ้น 100 บาทจะได้กำไรต่อชิ้น17 บาท ร้อยชิ้นก็ 1,700บาท 200 ร้อย ชิ้นก็ 3,400 บาท อันนี้คือรายได้ต่อวันหักค่าเช่าพื้นที่จะเหลือประมาณ 3,000บาท รูปแบบนี้เดือนเดียวก็คืนทุนรูปแบบคีออสออกแบบมาสำหรับคนที่อยากเคลื่อนย้ายไปตั้งขายที่ไหนก็ได้ แต่ขอเน้นว่าต้องอยู่ในร่มเพราะสินค้าเป็นช็อคโกแลตถ้าตากแดดจะละลาย”
หลายคนอาจกังวลว่าเมื่อจ่ายเงินค่าซื้อแฟรนไชส์แล้วจะถูกแฟรนไชส์ซอร์ลอยแพ ปล่อยให้ดูแลตัวเองหรือเปล่าแต่สิ่งเหล่านั้นจะไม่เกิดขึ้นกับแฟรนไชส์ซีของBrownie Prop แน่นอน เพราะรัตน์ปิยะเน้นการบริหารสไตล์ดูแลแบบครอบครัวและเติบโตไปพร้อมๆ กัน
“ผมจะดูแลช่วยเหลือผู้ซื้อแฟรนไชส์ตลอด ถ้าเขาไม่มียอดสั่งจากเรา ผมก็จะถามว่าเป็นยังไงบ้าง ทำไมยอดขายตก ขายไม่ได้หรือไม่อยากขายแล้ว ผมก็จะช่วยวิเคราะห์ว่าทำเลเขาไม่ดีหรือเปล่า หรือถ้าทำเลดีแสดงว่าสินค้าเราไม่ดีแล้ว ก็จะช่วยกันหาทางออกถ้าทำเลไม่ดีจะถามว่าเขาจะสู้ต่อหรือเปล่า ถ้าเขาพร้อมจะสู้ต่อก็จะช่วยหาทำเลใหม่ ในทุกวันผมจะโทรคุยกับแฟรนไชส์ของผมทุกคนวันละรอบ”
นอกจากตัวสินค้า Brownie Prop จะอร่อยแบบมีสไตล์ ตัวเจ้าของรัตน์ปิยะก็ดำเนินธุรกิจแบบมีสไตล์เป็นของตัวเองเช่นเดียวกัน ในบางครั้งสินค้ามีสไตล์อาจถูกลอกเลียนแบบ แต่เชื่อว่าสไตล์การบริหารเป็นเรื่องแนวคิดส่วนบุคคลไม่สามารถเลียนแบบได้ หากใครชอบสินค้าและการบริหารแบบมีสไตล์ แฟรนไชส์ Brownie Prop คงเป็นคำตอบที่ลงตัวลงทุนแฟรนไชส์ Brownie Prop งบการลงทุนเบื้องต้น
แบบช็อป : 150,000 บาท
แบบคีออส :50,000 บาท
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
www.Facebook.com/brownieprop
โทร081-824-0558 ,085-070-0199
Create by smethailandclub.com