วิธีทำ e-Tax Invoice รับโอกาสผู้ซื้อต้องการซื้อสินค้าคืนภาษี

TEXT : กองบรรณาธิการ

Main Idea

  • ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร

 

  • ข้อดีและขั้นตอนการทำ e-Tax Invoice

 

     ช่วงต้นปีมีภารกิจหนึ่งของคนไทยก็คือ การเสียภาษี ดูจะเป็นเหมือนธรรมเนียมที่ภาครัฐจะมีนโยบายมากระตุ้นมาตรการลดหย่อนภาษีดังเช่น Easy E-Receipt มาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับปี 2567 ที่สนับสนุนให้เกิดการบริโภคภายในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท โดยจะต้องซื้อผ่านร้านค้าที่สามารถออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เท่านั้น

     เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการ SME ต้องตกยุคหรือพลาดโอกาสทางการค้า SME Thailand พาไปรู้จักวิธีการทำ e-Tax Invoice & e-Receipt

 


ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร

     เป็นระบบบริการที่่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้้ ใบลดหนี้้ และใบเสร็จรับเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นผู้ประกอบการต้องนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร

ทำไมต้องเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

     สำหรับการเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0 และ National e-Payment รองรับการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและการบริหารจัดการของภาครัฐและภาคเอกชน ลดการใช้เอกสารในรูปแบบกระดาษ ช่วยลดภาวะโลกร้อน

ข้อดีของ e-Tax Invoice

  • ลดความซ้ำซ้อนและลดปัญหาการจัดการเอกสารที่อยู่ในรูปของกระดาษ
  • ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร
  • สามารถนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลต่อในระบบสารสนเทศภายในองค์กรได้ทันที
  • เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
  • มีความน่าเชื่อถือและมีผลผูกพันทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

 

ใครบ้างที่ทำ e-Tax Invoice ได้

  • ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ จากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority: CA) ที่่มีความน่าเชื่อถือ ภายใต้การรับรองของผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (Thailand National Root Certification Authority หรือ Thailand NRCA) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)
  • ปัจจุบันมีผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่
  1. บริษัท ไทยดิจิทัล ไอดี จำกัด thaidigitalid.com
  2. บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) https://ca.inet.co.th

ขั้นตอนการลงทะเบียนขอใช้ระบบ e-Tax Invoice

  • ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม Ultimate Sign & Viewer ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์
  • เชื่อมต่ออุปกรณ์ Token หรือ HSM ที่มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์และตั้งค่าโปรแกรม
  • ลงทะเบียน บ.อ.01 ผ่านโปรแกรมฯ โดยระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ระบบ จะแสดงชื่อสถานประกอบการและที่ตั้งสำนักงาน ให้ตรวจสอบข้อมูล ระบุอีเมลที่ใช้ในการติดต่อกรมสรรพากร และลงลายมือชื่อเพื่อยืนยันการลงทะเบียน
  • ตรวจสอบอีเมล สร้างบัญชีผู้ใช้งานประเภทผู้ประกอบการ (Corporate) และกำหนดรหัสผ่าน (Password) ด้วยตนเอง
  • log in เข้าสู่ระบบบริการสมาชิก ที่เว็บไซต์ https://etax.rd.go.th
  • เมื่อได้รับอนุมัติตามคำขอ บ.อ.01 แล้วระบบจะสร้างบัญชีผู้ใช้งานประเภท ผู้ประกอบการ (Corporate) ในนามของสำนักงานใหญ่ ที่ขึ้นต้นด้วย CA ตามด้วยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก ซึ่งผู้ประกอบการสามารถสร้างบัญชีผู้ใช้งาน และกำหนดสิทธิผู้ใช้งานภายในองค์กรได้ตามประเภทผู้ใช้งาน

 

     ทั้งนี้ผู้ประกอบการต้องจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ที่ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าและผู้รับบริการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือตามวิธีที่ตกลงกัน เช่น ทางอีเมล เป็นต้น ซึ่งต้องจัดเก็บข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PDF , PDF/A-3 เป็น หรือ สามารถนำไฟล์ข้อมูลที่จัดทำขึ้นในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์นั้นถ่ายเอกสาร โดยต้องปรากฏข้อความบนเอกสารว่า “เอกสารนี้ได้จั้ดทำและส่งข้อมูลให้แก่กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”

     นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีหน้าที่ต้องนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร เป็นรายเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยสามารถส่งได้ 3 ช่องทางคือ

 1 ผ่านเว็บไซต์ https://etax.rd.go.th สามารถตรวจสอบการนำส่งข้อมูล (Tracking) หรือเรียกดููรายงานการนำส่งย้อนหลังได้

2 Host to Host เป็นวิธีการนำส่งข้อมูล XML โดยผู้ประกอบการทำการเชื่อมต่อระบบการรับส่งข้อมูลโดยตรงกับกรมสรรพากร วิธีนี้้ผู้ประกอบการต้องยื่นคำขออนุมัติต่อกรมสรรพากร และทำการทดสอบนำส่งข้อมูลกับกรมสรรพากรก่อนนำส่งข้อมูลจริง

3 Service Provider เป็นผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยจัดการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แทนผู้ประกอบการ (ผู้ใช้บริการ) ด้วยระบบรับส่งข้อมูลที่่เชื่อมต่อกับระบบข้อมูลของกรมสรรพากร ที่มีมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยด้านระบบสารสนเทศ

ที่มา: กรมสรรพากร

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้