เป็นหนี้ยังไง ไม่โดนฟ้องล้มละลาย ส่องวิธี ฟื้นฟูกิจการของของลูกหนี้ SME

TEXT : อุดมทรัพย์ สุวรรณคุณ

 

Main Idea

  • โควิด-19 ทำให้หลายกิจการ ไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้เป็นปกติ จนบางคนกลัวที่จะถูกฟ้องล้มละลาย

 

  • คุณสามารถหยุดเรื่องดังกล่าวไว้ได้ ด้วยการยื่นขอฟื้นฟูกิจการ ทำยังไง ไปดูกัน

 

 

     ธุรกิจโดนผลกระทบเยอะมากในสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งจากโควิด-19 หรือการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาด จนผู้ประกอบการหลายรายไม่สามารถชำระหนี้ที่มีอยู่ได้ การยื่นขอฟื้นฟูกิจการอาจเป็นทางเลือกในการที่จะทำให้ธุรกิจมีโอกาสเดินหน้าต่อ คุณจะได้รับความคุ้มครองกิจการและทรัพย์สิน เพื่อจัดทำแผนฟื้นฟูและปรับโครงสร้างการชำระหนี้ ให้ธุรกิจของคุณยังคงอยู่ต่อได้

     กฎหมายฟื้นฟูกิจการสำหรับลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย ฉบับที่ 9 พ.ศ.2559 ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ที่มีหนี้จากการประสบปัญหาทางการเงิน ขาดสภาพคล่อง จนไม่สามารถชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ สามารถยื่นขอฟื้นฟูกิจการได้

     ใคร? มีสิทธิในการยื่นขอฟื้นฟูกิจการ SMEs

  • ผู้ประกอบการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) หรือจดทะเบียนกับหน่วยงานอื่นของรัฐและเป็นหนี้จากการดำเนินกิจการ

 

  • ลูกหนี้บุคคลธรรมดา, คณะบุคคล, ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน, ห้างหุ้นส่วนสามัญ, นิติบุคคล, ห้างหุ้นส่วนจำกัด, บริษัทจำกัด

 

หนี้เท่าไหร่ถึงจะยื่นขอฟื้นฟูกิจการได้

  • ลูกหนี้บุคคลธรรมดาต้องมีหนี้แน่นอนไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท

 

  • ลูกหนี้ที่เป็นคณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือนิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มีจำนวนที่แน่นอน ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท

 

  • ลูกหนี้ที่เป็นบริษัทจำกัด ต้องมีจำนวนหนี้แน่นอน ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 10 ล้านบาท

 

ขั้นตอนการขอฟื้นฟูกิจการ

  • เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ที่จะขอให้มีการฟื้นฟูกิจการจะนัดเจ้าหนี้มาประชุมร่วมกันเพื่อร่วมทำแผนฟื้นฟูกิจการ กำหนดวิธีการชำระหนี้ การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ ระบุตัวผู้บริหารแผน และลงมติว่าจะยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการที่ร่วมกันทำนั้นหรือไม่

 

  • เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ที่ร้องขอ จะต้องทำคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ พร้อมแนบแผนฟื้นฟูกิจการที่ผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้ และหลักฐานการประชุม พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องยื่นต่อศาลล้มละลายกลาง

 

  • เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ผู้บริหารจะดำเนินกิจการตามแผนทันที

 

     การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ SMEs เป็นการช่วยให้ธุรกิจของคุณอยู่ต่อได้ และไม่ต้องกลายเป็นบุคคลล้มละลาย มีโอกาสได้ฟื้นฟูกิจการ ช่วยแก้ปัญหาได้ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ โดยที่เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้ และลูกหนี้ได้รักษาธุรกิจของตัวเองไว้

     ถ้าไม่อยากให้ธุรกิจต้องถึงขั้นยื่นขอฟื้นฟูกิจการ สิ่งสำคัญที่เจ้าของกิจการต้องนึกถึง คือการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ เตรียมแผนรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ให้กับธุรกิจของคุณในอนาคต ทั้งโครงสร้างเศรษฐกิจ กฎระเบียบจากรัฐบาล การเตรียมตัวรับมือจะช่วยพยุงให้ธุรกิจ SME ไปต่อได้


ที่มา :  https://www.led.go.th/brd/smes.asp

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้