สุดล้ำ! เทคโนโลยีจ่ายเงินด้วยฝ่ามือ รวดเร็ว ปลอดภัย เก็บข้อมูลลูกค้าได้ด้วย

TEXT : Momiin

Main Idea

  • ปัจจุบันเพื่อนๆ รู้กันดีว่าการจ่ายเงินแบบดิจิทัลเติบโตขึ้นมาก ข้อมูลจาก Digital 2021 Global Overview Report ระบุว่าการทำธุรกรรมผ่านMobile Banking ของคนไทยครองแชมป์อันดับ 1 ของโลก และเติบโตราว 40% – 45.6% จากปี 2565

 

  • เพราะเนื่องจากความสะดวกสบาย ง่าย และรวดเร็ว ทำให้ผู้บริโภคมีการทำธุรกรรมผ่านMobile Banking มากขึ้น

 

  • แต่สำหรับธุรกิจแล้วการที่ลูกค้าจ่ายเงินโดยการสแกนผ่าน Mobile Banking แทบจะไม่ได้ข้อมูลใดๆ ของลูกค้า นอกจากว่าลูกค้าจะเป็นสมาชิกของร้านคุณ

 

  • วันนี้เราเลยไปเจอร้านอาหารที่ต่างประเทศเขาใช้ Amazon One เทคโนโลยีจ่ายเงินด้วยฝ่ามือ ที่ทั้งลดการสัมผัส รวดเร็ว ปลอดภัย และยังเก็บข้อมูลลูกค้าไปในตัวด้วย ไปดูว่าระบบนี้จะมีการทำงานอย่างไร

 

   ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไป ทุกอย่างต้องลดการสัมผัสสิ่งของต่างๆ ในที่สาธารณะ ซึ่งก็รวมถึงเงินสดด้วย ทำให้เทรนด์การชำระเงินดิจิทัลเริ่มเข้ามามีบทบาทในตอนนั้น และทำให้ในปี 2022  Amazon ได้มีการเปิดตัว Amazon One ระบบการชำระเงินที่สแกนด้วยฝ่ามือที่ใช้รูปแบบการตรวจสอบแบบไบโอเมตริกซ์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุตัวตน ตรวจพิสูจน์ผู้ใช้ โดยใช้เทคนิคการแปรค่าเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละบุคคล

     แต่หลังจากการเปิดตัวระบบนี้ ก็ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์ และกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวมาก แต่ทาง Amazon ก็ได้ออกมาทำการแย้งว่า “การสแกนฝ่ามือที่ใช้การตรวจสอบแบบไบโอเมตริกซ์มีการเป็นส่วนตัวกว่าเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ เนื่องไม่สามารถระบุตัวตนของใครบางคนจากภาพพิมพ์ฝ่ามือเพียงอย่างเดียวได้”

    ซึ่งแน่นอนว่า Amazon ไม่ได้แค่เก็บภาพฝ่ามือเท่านั้น นอกจากนี้ยังจับคู่กับบัญชีลูกค้าและบัตรเครดิต สร้างฐานข้อมูลลูกค้ารวมกับไบโอเมตริกซ์ โดยระบบการชำระเงินแบบไบโอเมตริกถูกนำมาใช้ตั้งแต่ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของโควิด-19 เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสนใจในการชำระเงินแบบไม่ต้องสัมผัส แต่ว่าโปรเจกต์นี้ก็ใช้ไม่ค่อยได้ผล เพราะว่าลูกค้าสวมถุงมือขณะซื้อของ และเมื่อจะทำการสแกนผ่ามือก็ต้องถอดถุงมือออก ทำให้ลูกค้าบางรายเผลอเอามือไปกดที่เครื่องอ่านฝ่ามือโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค

     แต่ในปี 2021 มีการนำระบบนี้มาใช้ในร้านค้าปลีกหลายแห่งของ Amazon รวมถึงร้านสะดวกซื้อ Amazon Go, Amazon Go Grocery, Amazon Books และร้านค้าระดับ 4 ดาวของ Amazon เมื่อปีที่แล้วได้ขยาย Amazon One ไปยังร้าน Whole Foods หลายสิบแห่ง ระบบนี้ยังถูกนำไปใช้ในสนามกีฬาและสนามบินต่างๆ อีกด้วย

     และปัจจุบัน Panera Bread ร้านเบเกอรี่ & คาเฟ่ สัญชาติอเมริกัน ที่มีสาขามากกว่า 2,000 แห่ง นำ Amazon One ไปใช้ในร้านค้าเพื่อที่สามารถชำระเงินได้อย่างรวดเร็ว และความพิเศษของระบบนี้สำหรับลูกค้าที่เชื่อมโยงบัญชี MyPanera กับ Amazon One จะได้รับคำแนะนำอาหารตามคำสั่งซื้อและการตั้งค่าก่อนหน้านี้ โดยทางพนักงานของ Panera จะสามารถทักทายลูกค้าด้วยชื่อ สามารถสื่อสารเกี่ยวกับสิทธิพิเศษที่ลูกค้ามี และสามารถบอกรายการโปรดของลูกค้าใหม่ได้

     ถึงตอนนี้เพื่อนๆ คงสงสัยว่าเขาจะรู้ได้ไงว่าเรา คือ ใคร เพราะว่าเวลาที่ไปคาเฟ่หรือร้านอาหารก็จะเข้าไปหาโต๊ะนั่งเลย ซึ่งระบบนี้จะทำการสแกนฝ่ามือทั้งหมดสองครั้ง ครั้งแรกทำการสแกนเพื่อให้รู้ว่าเรา คือ ใคร และครั้งที่สองจะสแกนเพื่อชำระเงินเมื่อทำการสั่งซื้อเสร็จนั่นเอง

     “ที่ Panera เราให้ความสำคัญในการบริการลูกค้าที่มีความอบอุ่น และเรามองหาเทคโนโลยีที่จะทำให้ประสบการณ์นั้นดียิ่งขึ้น สำหรับเราแล้ว นี่เป็นวิธีที่จะทำให้ Customer Journey มีประสิทธิภาพและมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้นผ่านกระบวนการแบบไม่ต้องสัมผัส รวดเร็ว และปลอดภัยและเพื่อให้ลูกค้าได้เพลิดเพลินกับสิ่งที่พวกเขาชื่นชอบเกี่ยวกับ Panera ได้เร็วและง่ายขึ้น” George Hanson รองประธานอาวุโสและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัลของ Panera กล่าว

     โดย Amazon One เป็นไปได้มากกว่าแค่ต้องการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความสะดวกสบาย เพราะว่าได้ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการชำระเงิน โปรแกรมความภักดี ที่ทำให้ Panera สามารถติดตามลูกค้าได้ง่ายขึ้น และยังได้รู้ข้อมูลความชอบ พฤติกรรม และความสนใจของลูกค้า เพื่อนำไปทำการตลาดต่อไปได้อีกด้วย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะไม่ได้ถูกเก็บสำหรับลูกค้าที่เลือกชำระเงินด้วยเทคโนโลยีการชำระเงินที่เน้นความเป็นส่วนตัวมากกว่า เช่น Apple Pay เป็นต้น

ที่มา: https://techcrunch.com/2023/03/22/amazons-palm-reading-payments-tech-is-coming-to-panera-bread/?utm

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้