ถ้าไม่อยากโดนภาษีย้อนหลัง เสียเงินเป็นล้าน ต้องรู้!!

TEXT : Momin

Main Idea

  • สาเหตุที่โดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

 

  • ถ้าไม่อยากโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังต้องทำอย่างไร

 

  • ถ้าไม่จ่ายภาษีย้อนหลังต้องโดนโทษอะไรบ้าง

 

  • ขายของได้เท่าไหร่ถึงต้องจ่ายค่าภาษี

 

     จากเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้ประกอบการออนไลน์หลายคนถึงกับต้องอึ้ง กับกรณีหลังจากที่แม่ของน้องปอผู้ป่วยติดเตียง ที่ต้องมาไลฟ์ขายขนมเพื่อหาค่าใช้จ่ายดูแลลูก ซึ่งโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังจากการขายของ รวมเป็นเวลาถึง 5 ปี ค่าปรับเป็นจำนวนเงินรวม 12 ล้านบาท เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ให้กับผู้ประกอบการที่ขายของผ่านทางช่องทางออนไลน์เป็นอย่างมาก วันนี้เราเลยจะพาทุกคนไปดูว่าขายของได้เท่าไหร่ถึงต้องจ่ายภาษี และข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับการเก็บภาษีย้อนหลังมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย

 สาเหตุที่โดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

     การเก็บภาษีย้อนหลัง (Retroactive tax) คือ จะเกิดขึ้นหลังจากมีการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง ซึ่งจะเป็นการป้องปรามทางภาษีอากร โดยการตรวจสอบภาษีย้อนหลังจะดำเนินการโดย 3 หน่วยงาน คือ กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และสาเหตุที่โดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังมี 2 อย่างด้วยกันดังนี้

     1. ยังไม่จ่ายภาษี

     2. จ่ายภาษีไม่ถูกต้องหรือไม่ครบ

ถ้าไม่จ่ายภาษีย้อนหลังต้องโดนโทษอะไรบ้าง

  • กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี  

 

  • กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบออกหมายเรียก และปรากฏว่าไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป นอกจากจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มแล้ว ยังจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี  

 

  • กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท 

 

  • กรณีจงใจ แจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท

 

  • กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ถ้าไม่อยากโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังต้องทำอย่างไร

     1. ต้องยื่นภาษีทุกปี และต้องตรวจสอบเอกสารรายรับของธุรกิจให้ถูกต้องและครบถ้วนก่อนยื่นภาษี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาได้ในภายหลัง

     2. ทำบัญชีรายเดือน เพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นภาษีรายได้ในแต่ละปี และสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม อย่างธุรกิจออนไลน์ขนาดเล็กที่คิดว่าการทำบัญชีอาจเป็นเรื่องไกลตัว แต่ระวังจะโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังเหมือนกับเคสข้างต้น

     3. ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับภาษีอยู่เสมอ เพราะว่าการยื่นภาษีในแต่ละปีมักจะมีเงื่อนไขใหม่ๆ ออกมาเสมอ ซึ่งผู้ประกอบการควรติดตามข่าสารเรื่องภาษีอย่างใกล้ชิด เพราะอาจเป็นประโยชน์ในเรื่องของการลดหย่อนภาษี

 

ขายของได้เท่าไหร่ถึงต้องจ่ายค่าภาษี

     สำหรับผู้ประกอบการที่ขายของผ่านช่องทางออนไลน์ หรือที่เรียกเป็นทางการว่าการทำธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ในรูปแบบของการซื้อ-ขายสินค้าและบริการ ผ่านช่องทาง (e-Commerce) ด้วยช่องทางต่างๆ เช่น Line Lnwshop Facebook Weloveshopping Instagram Twitter Lazada Shopee Konvy เป็นต้น ต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับการขายสินค้าที่มีหน้าร้านทั่วไป ซึ่งผู้ขายต้องนำรายได้นั้นมารวมเพื่อคำนวณยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ด้วย และถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าทีต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

     และสาเหตุที่แม่ของน้องปอโดนเรียกเก็บภาษีเนื่องจากขายของได้เกินปีละ 1.8 ล้าบาท แต่ไม่ได้ไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้ต้องเจอค่าปรับอย่างที่เราได้บอกไปในข้างต้น

 ที่มา : https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/infographic/info-e-business.pdf

https://www.rd.go.th/562.html

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้