4 สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับคนงบน้อย แต่อยากเป็นเจ้าของกิจการ

 

     บอกเลยว่าธุรกิจแฟรนไชส์เป็นที่นิยมมาก ใครๆ ก็อยากเป็นเจ้าของแฟรนไชส์กันทั้งนั้น ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยเรานั้นก็มีแฟรนไชส์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ทำให้คนสนใจอยากจะเป็นเจ้าของกันมากขึ้น แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้เศรษกิจไม่ดี ซึ่งส่งผลกระทบเรื่องการเงินของผู้คนเป็นอย่างมาก แต่วันนี้ SME Thailand Online ได้รวบรวม 4 สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับคนอยากเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ แต่ไม่มีเงินทุน มาไว้ในแล้ว จะมีของธนาคารอะไรบ้าง ดอกเบี้ยเท่าไร ตามมาดูกันเลย

1. ธนาคารกรุงเทพ

     สินเชื่อเพื่อสนับสนุนโอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถยื่นขอสินเชื่อ เพื่อใช้เป็นเงินลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ได้ แม้ไม่มีประสบการณ์  ซึ่งเหมาะสำหรับมือใหม่ที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจเป็นอย่างมาก สำหรับใครที่ยังไม่ค่อยรู้เรื่องการทำธุรกิจ แนะนำสินเชื่อนี้เลย และสามารถสมัครผ่านทางออนไลน์ได้เลย เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่มากๆ

สินเชื่อ: สินเชื่อบัวหลวงเพื่อธุรกิจแฟรนไชส์

วงเงินกู้: สูงสุด 70% (ไม่เกิน 5 ล้านบาท)

ระยะเวลา : ผ่อนนานสูงสุด 7 ปี

อัตราดอกเบี้ย : สูงสุด MRR + 2% ต่อปี

ระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ :  31 ธ.ค. 2565

     อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bangkokbank.com/th-TH/Business-Banking/Finance-My-Business/Loans-for-SMEs/Franchise-Loans

2. ธนาคารเพื่อการเกษตร

     เป็นสินเชื่อสนับสนุนเงินทุนเพื่เป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในกิจการที่เกี่ยวกับแฟรนไชส์ ทั้งค่าเช่าที่ดินหรืออาคาร ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์รายเดือน ค่าธรรมเนียมการตลาด ค่าวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโฆษณา ค่าขนส่งและการบริการ  และเป็นสินเชื่อที่ส่งเสริมการลงทุนทำกิจการเกี่ยวกับแฟรนไชส์ โดยให้สินเชื่อเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้าพร้อมค่าอุปกรณ์ ค่าเช่าอาคารหรือร้าน ค่าลงทุนก่อสร้าง ปรับปรุงต่อเติม เป็นต้น สำหรับใครที่มีค่าใช่จ่ายตามข้างต้น แนะนำสินเชื่อนี้เลย

สินเชื่อ: สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์

วงเงินกู้: ไม่เกินรายละ 10 ล้านบาท

ระยะเวลา : สูงสุด 10 ปี

อัตราดอกเบี้ย :  MRL 4.875 ต่อปี

ระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ :  31 มี.ค. 2566

     อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.baac.or.th/th/content-product.php?content_id=14260

3. ธนาคารกสิกรไทย

     สินเชื่อ: สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ธุรกิจเฉพาะ ซึ่งแบ่งเป็นหมวดหมู่ดังนี้

อาหาร

วงเงินกู้: สูงสุด 80%

ระยะเวลา : ผ่อนนานสูงสุด 10 ปี

อัตราดอกเบี้ย : สูงสุด MRR + 3% ต่อปี

เครื่องดื่ม

วงเงินกู้: สูงสุด 80%

ระยะเวลา : ผ่อนนานสูงสุด 5 ปี

อัตราดอกเบี้ย : สูงสุด MRR + 3% ต่อปี

เบเกอรี่

วงเงินกู้: สูงสุด 80%

ระยะเวลา : ผ่อนนานสูงสุด 9 ปี

อัตราดอกเบี้ย : สูงสุด MRR + 3% ต่อปี

ค้าปลีก

วงเงินกู้: สูงสุด 100%

ระยะเวลา : ผ่อนนานสูงสุด 9 ปี

อัตราดอกเบี้ย : สูงสุด MRR + 3% ต่อปี

การศึกษา

วงเงินกู้: สูงสุด 70%

ระยะเวลา : ผ่อนนานสูงสุด 6 ปี

อัตราดอกเบี้ย : สูงสุด MRR + 3% ต่อปี

การบริการ

วงเงินกู้: สูงสุด 70%

ระยะเวลา : ผ่อนนานสูงสุด 5 ปี

อัตราดอกเบี้ย : สูงสุด MRR + 3% ต่อปี

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/loan/Business-Solutions/Pages/franchise-credit.aspx

4. EXIM BANK

     เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการซื้อแฟรนไชส์ไทย เพื่อนำไปเปิดบริการในต่างประเทศ หรือว่าจ้างเชนไทยในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ สำหรับใครที่ต้องการที่อยากไปเปิดแฟรนไชส์ในต่างประเทศ แนะนำสินเชื่อนี้เลย

สินเชื่อ : สินเชื่อเพื่อสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ไทย/เชนไทย (Loan for Thai Franchise / Thai Chain Buyers)

วงเงินกู้:  พิจารณาตามความเหมาะสม

ระยะเวลา: ระยะเวลาเงินกู้ไม่เกินระยะเวลาของสัญญาซื้อขายแฟรนไชส์/สัญญาว่าจ้างเชน

อัตราดอกเบี้ย:

สกุลดอลลาร์สหรัฐ  : ไม่ต่ำกว่า LIBOR+3.5% ต่อปี

สกุลบาท : ไม่ต่ำกว่า Prime Rate ต่อปี

Front-end Fee : 1.0% ของวงเงินกู้ 

     อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://shorturl.asia/dIKLN

     และนี่คือ 4  สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับคนอยากเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ แต่ไม่มีเงินทุน

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้