SME จะสร้างโอกาส จากการชำระเงินดิจิทัลได้อย่างไร เมื่อคนใช้เงินสดน้อยลง

 

     ปัจจุบันการชำระเงินทางดิจิทัลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ทั้งในส่วนของธุรกิจและผู้บริโภค โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่เคยใช่เงินสดก็หันมาจ่ายเงินผ่านทาง mobile banking กันค่อนข้างเยอะ เพราะว่าทั้งง่ายและสะดวก และด้วยเหตุนี้ทำให้การชำระเงินดิจิทัล สร้างโอกาสให้กับธุรกิจ ไปดูกันว่าจะสร้างโอกาสให้กับธุรกิจได้อย่างไร ตามมาดูกันเลย

     ต้องยอมรับว่าการชำระเงินทางดิจิทัลนั้น มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งรูปแบบการใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตซื้อสินค้าแบบ ซื้อตอนนี้ จ่ายทีหลังก็เป็นที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภค เทรนด์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยทำให้การชำระเงินดิจิทัลขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย

     แม้การปรับเปลี่ยนธุรกิจให้รองรับการชำระเงินดิจิทัลเป็นเรื่องดี แต่ผู้ประกอบการต้องพิจารณาการขยายระบบการชำระเงินทางดิจิทัลด้วยว่าจะเป็นอย่างไร ทั้งความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า หุ้นส่วนและซัพพลายเออร์ เพราะไม่ใช่ว่าทุกกลยุทธ์หรือโซลูชั่นจะได้ผลหรือมีประโยชน์ต่อธุรกิจ แต่การไม่พัฒนาหรือนำสิ่งที่ไม่ถูกต้องมาใช้ ก็อาจต้องเสียลูกค้าปัจจุบันและในอนาคตไป

     การชำระเงินทางดิจิทัลมีประโยชน์อย่างไรกับธุรกิจ

  • เป็นแนวทางที่ทำให้เกิดโมเดลธุรกิจและวิธีทำการตลาดรูปแบบใหม่ๆ ได้
  • มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น เพราะไม่มีใครเป็นตัวกลาง
  • ช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกรรมทั้งลูกค้าและธุรกิจได้
  • มีความปลอดภัย ซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้บริโภคดีขึ้น

 

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับระบบของโซลูชั่นการชำระเงินแบบดิจิทัล

     ไม่ว่าองค์กรจะสร้างหรือซื้อโซลูชั่นการชำระเงินแบบดิจิทัล เรื่องที่ต้องคำนึงถึงตั้งแต่แรก คือ การจัดการข้อมูลของลูกค้า ซึ่งต้องมีความปลอดภัย และเป็นไปตามกฎข้อบังคับที่ตั้งไว้

     “การจัดการความปลอดภัยของข้อมูลให้ถูกต้องตั้งแต่แรกเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะค่าใช้จ่ายในการจัดการในภายหลังจะสูงขึ้นมาก” การป้องกันความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่ดีที่สุดคือ การให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยให้แก่ทุกคน ตั้งแต่ทีมภายในจนถึงพาร์ทเนอร์ และที่สำคัญที่สุด ก็คือลูกค้า” นิคิล โจชิ Director, Financial Services ของ Thoughtworks กล่าว

องค์กรต้องทำอย่างไรถึงปลอดภัย

     ด่านแรกของการป้องกันความปลอดภัย คือการดูว่าบริษัทจัดเก็บข้อมูลอะไรบ้าง ทำไมต้องเก็บ และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากเก็บข้อมูลมีอะไรบ้าง ซึ่งการกำหนดนโยบายของการใช้ข้อมูลทำให้เห็นว่าธุรกิจจะปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ตั้งไว้ ซึ่งเป็นการบอกลูกค้าว่าธุรกิจจะเก็บข้อมูลอะไรเกี่ยวกับเขาบ้าง ซึ่งธุรกิจสามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ลูกค้า เพื่อที่จะนำมาสร้างรายได้เพิ่ม

     แม้ว่าข้อมูลการชำระเงินจะสร้างโอกาสด้านการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ก็สร้างความกังวลเกี่ยวกับความคุ้มครองสิทธิในข้อมูลผู้บริโภคเช่นกัน เพราะการติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคทำได้ง่ายมากขึ้น หน่วยงานที่ดูแลจึงออกข้อกำหนดให้ผู้บริโภคมีสิทธิในการควบคุมการใช้ข้อมูลของตนเอง “ธุรกิจต้องตระหนักว่า หากจะใช้ข้อมูลการชำระเงิน หรือแบ่งปันข้อมูลกับบริษัทอื่น จะต้องเปิดเผยว่าทำไมต้องใช้ข้อมูล และจะใช้อย่างไร” เคลซอลกล่าว

     สำหรับธุรกิจหรือองค์กรที่ให้พาร์ทเนอร์ใช้ข้อมูลของลูกค้าได้ สิ่งสำคัญคือต้องถามพวกเขาว่ามีมาตรฐานอย่างไร และจะรับมืออย่างไรหากข้อมูลหลุดออกไปหรือหากระบบหยุดทำงาน

     แม้จะมีความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย แต่การชำระเงินทางดิจิทัลก็แพร่หลายมากขึ้น และบริษัทก็สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครอบคลุมและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นให้กับลูกค้าได้ เทรนด์การจ่ายเงินที่ง่ายเป็นการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้ามากขึ้น แต่ไม่ใช่สำหรับองค์กรหรือธุรกิจ คานธี กล่าว

สังคมไร้เงินสดจะมีทิศทางไปทางใด

  • ในระยะสั้น การใช้จ่ายเงินแบบล่องหน(invisible payments) และตัวเลือกการชำระเงินอื่นๆ ยังคงเป็นจุดศูนย์กลาง ในขณะที่ความสะดวกสบายในการใช้งานจะกลายเป็นจุดขาย

 

  • ในระยะยาว ผู้เชี่ยวชาญของThoughtworks มองว่าการพัฒนาของประสบการณ์ที่เชื่อมโยงการชำระเงินดิจิทัลอย่างเมต้าเวิร์ส  NFTs และคริปโต จะกลายเป็นสิ่งที่น่าจับตามอง

 

     คานธี Principal, Financial Services ของ Thoughtworks บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีระดับโลก ให้ความเห็นว่า ความนิยมที่เพิ่มขึ้นของสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งมีความสามารถในการเป็นสินทรัพย์ที่ใช้ป้องกันเงินเฟ้อ (inflation hedge) นั้นสำคัญในหลายแง่มุม “เนื่องจากสินค้าดิจิทัลมีเพิ่มมากขึ้น หลายประเทศจึงกำลังออกสกุลเงินดิจิทัลของรัฐบาลกลาง (CBDCs) ซึ่งเป็นตัวแทนของเงินดิจิทัล ส่วนอีกมุมหนึ่งคือการชำระเงินกับสกุลเงินดิจิทัลในหน่วยนาที ซึ่งทำให้เกิดการจ่ายเงินล่องหนมากยิ่งขึ้น”

     แม้จะมีข้อสงสัยอยู่ไม่น้อย ซึ่งกลุ่มมิลเลนเนียลจำนวนมากเห็นว่าสกุลเงินดิจิทัลจะมาแทนที่เงินสด บัตรเครดิตและเดบิต และจะใช้สกุลเงินเหล่านี้ในการซื้อทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นที่อุปกรณ์เสริมโทรศัพท์ สินค้าไลฟ์สไตล์ต่างๆ เป็นต้น

     “แรงกดดันนี้ทำให้วิธีจัดเก็บมูลค่า อย่างกระเป๋าคริปโต จะใช้ทดแทนกันได้มากขึ้นและกลายเป็นจุดซื้อตามความต้องการ” เคลซอลกล่าว “ธนาคารยุคใหม่หลายแห่งได้ออกผลิตภัณฑ์ที่อนุญาตให้ลูกค้านำเงินเข้ากองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยนซึ่งจะกลายเป็นจุดซื้อได้เมื่อต้องการเข้าถึงกองทุนเหล่านี้” คานธีกล่าวทิ้งท้าย

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้