4 เกณฑ์พิจารณาเงินกู้รูปแบบใหม่ รับกระแส ESG เอสเอ็มอีต้องรู้ ถ้าไม่อยากเสียโอกาส

 

 

      กระแสเรื่องของ ESG ซึ่งย่อมาจาก Enviroment+Social Responsibility และ Corporate Governance ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัทขนาดใหญ่หรือบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์แต่เพียงอย่างเดียวแต่กำลังครอบคลุมไปถึงภาคธุรกิจขนาดกลางหรือเอสเอ็มอีด้วยเช่นกันซึ่งสถาบันการเงินจะนำเอาหลักการดังกล่าวไปพิจารณาในการปล่อยสินเชื่อเงินกู้ด้วย

      โดยหลักการ ESG ที่มีแนวโน้มจะเป็นมาตรฐานหลักของภาคธุรกิจในอนาคตจะประกอบไปด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้

ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

      ประเด็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมกลายมาเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของธนาคารและสถาบันการเงินในการพิจารณาให้เงินกู้กับภาคธุรกิจไปแล้ว โดยเฉพาะภาคการผลิตที่จะต้องพิจารณาว่าธุรกิจได้มีการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยรอบหรือไม่ ตลอดจนการยกระดับภาคการผลิตให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเช่นลดของเสีย ลดปริมาณการปล่อยมลพิษ ถ้าหากผู้ประกอบการสามารถทำได้ดังนี้ก็มีโอกาสจะได้รับพิจารณาสินเชื่อมากขึ้น

 ให้ความสำคัญสิทธิมนุษยชน

      เรื่องของสิทธิมนุษยชนเป็นวาระสำคัญที่ทั่วโลกต่างยกให้เป็นประเด็นที่ต้องใส่ใจโดยเฉพาะเรื่องของการใช้งานแรงงานอย่างเช่นแรงงานผิดกฎหมาย จำนวนชั่วโมงการทำงานที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยตลอดจนความเป็นอยู่ของแรงงาน แม้ว่าจะเป็นการเพิ่มต้นทุนการดำเนินงานให้กับผู้ประกอบการแต่ต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนกำลังเป็นมาตราฐานหลักของภาคธุรกิจไม่ใช่เพียงแค่ภาพลักษณ์แต่รวมถึงโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ

 ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders)

      อีกหนึ่งมาตรฐานของผู้ประกอบธุรกิจยุคใหม่ก็คือการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรอบตัวหรือที่เรียกว่า Stakerholders ไม่ว่าจะเป็นคู่ค้า ลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ ตลอดจนชุมชนที่อยู่โดยรอบสถานประกอบการ กล่าวคือการกระทำที่มีต่อ Stakeholders ในเชิงลบก็จะส่งผลต่อการพิจารณาสินเชื่อด้วยเช่นกัน 

 ความโปร่งใสของผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร

      หลักการนำ Good Governance หรือหลักธรรมภิบาลมาใช้ในการบริหารองค์กรเริ่มที่จะเป็นมาตราฐานที่ภาคธุรกิจไม่ว่าจะขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ต้องให้ความสำคัญแม้ว่าจะไม่ใช่บริษัทมหาชนก็ตาม โดยต้องมีการยึดหลักของการถ่วงดุลอำนาจระหว่างผู้ถือหุ้นและบอร์ดบริหารควรจะต้องมีการแยกออกจากกัน ตลอดจนการตรวจสอบการบริหารและกาตัดสินใจของผู้บริหารที่จะต้องสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้

      ทั้งหมดนี้ถือเป็นหลักเกณฑ์ของการนำ ESG มาใช้ในการประกอบพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงิน แม้ว่าอาจจะไม่ถึงขั้นเป็นหลักเกณฑ์ตายตัวแบบเดียวกับการพิจารณาโดยใช้งบการเงินและผลประกอบการเป็นหลัก เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องปรับตัวเข้าสู่หลักเกณฑ์เหล่านี้

 

Text: นเรศ เหล่าพรรณราย

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้