เหรียญ Luna จากดาวรุ่งสู่ดาวร่วง กรณีศึกษาที่ SME นำไปปรับใช้ได้

 

 

      ในโลกธุรกิจ “ความแน่นอน ก็คือความไม่แน่นอน” ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งในหลายครั้งหลายเหตุการณ์นั้นแทบไม่มีเวลาให้ปรับตัวเลย หรือระยะเวลาให้ปรับตัวนั้นสั้นมาก โดยเรื่องราวที่โด่งดังมากในตอนนี้ก็คงหลีกหนีกรณีศึกษา เหรียญ LUNA ที่ราคาเปลี่ยนแปลงลดลง 99.99% จนเรียกได้ว่าไร้มูลค่าได้เลย

      เหรียญ LUNA เคยเป็นสกุลเงินที่ได้รับความนิยมอย่างมากและขึ้นแท่นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มูลค่าสูงที่สุด 10 อันดับแรกของโลกตามการจัดลำดับของนิตยสาร Forbes 

      สาเหตุของการล่มสลายในครั้งนี้ : ปัญหาของโครงข่าย Terra ส่งผลให้ความเชื่อมั่นต่อสกุลเงินเข้ารหัสสั่นคลอนทั้งกระดาน ชวนให้ตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับ LUNA ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกมองว่าจะมา ‘ปฏิวัติ’ ระบบเงินตรารวมศูนย์ของธนาคารกลางที่เราคุ้นเคย

      สัญญาณไม่ดีนักเริ่มต้นเมื่อราววันที่ 7 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมาเมื่อมีการเทขาย TerraUSD ในแพลตฟอร์มรับฝากเหรียญที่ชื่อว่า Anchor ก่อนที่ราคาของ LUNA จะร่วงลงอย่างต่อเนื่องและลดฮวบในวันที่ 9 พฤษภาคมเมื่อ TerraUSD ไม่สามารถตรึงมูลค่าที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ได้อีกต่อไป

     ปัจจุบันยังไม่มีใครตอบได้ว่าแรงเทขาย TerraUSD นั้นมาจากไหนและมีเหตุผลเบื้องหลังคืออะไร บางสำนักมองว่าเป็นกลุ่มผู้ประสงค์ร้ายที่มุ่งหมายทุบค่าเงิน บางคนมองว่ามีสาเหตุมาจากการกู้ยืมผ่านแพลตฟอร์ม Abracadabra ที่เพิ่งจับมือกับ Terra เมื่อไม่นานมานี้ หรือกระทั่งการพยายามสร้างราคาโดยกลุ่มผู้ก่อตั้งเองผ่านการให้ดอกเบี้ยในอัตราที่ไม่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ดี ท่ามกลางฝุ่นตลบก็ยังไม่มีใครกล้าฟันธงว่าสาเหตุที่แท้จริงคืออะไร

โดยสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกรณีศึกษานี้ :

1. ไม่ใช่ว่าการลงทุนในสกุลเงินเข้ารหัสเป็นเรื่องต้องห้าม หรือนวัตกรรมดังกล่าวเป็นเรื่องลวงโลกแต่อย่างใด เพียงแต่ตอกย้ำชัดๆ อีกหนึ่งครั้งว่า ‘High Risk High Return’

2. ทฤษฎีสามเป็นไปไม่ได้ หมายถึงนโยบายการเงินสามอย่างที่ไม่สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันได้นั่นคือ (1) อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (fixed exchange rate) (2) เงินทุนเคลื่อนย้ายแบบเสรี (free capital flows) และ (3) การกำหนดนโยบายการเงินอย่างอิสระ (independent monetary policy) เพราะหากใช้ทั้งสามนโยบายพร้อมกัน สิ่งที่ตามมาคือระบบการเงินที่ไร้เสถียรภาพและเสี่ยงต่อการพังทลายโดยจะต้องเลือกใช้เพียง 2 ใน 3 เท่านั้น

  • Monitoring การเฝ้าติดตามข้อมูลอย่าง “รวดเร็วและเข้าใจ” จะทำให้มีโอกาสรอดที่สูงในสภาวะแวดล้อมธุรกิจของปัจจุบันและอนาคต ที่ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเร็วและไม่แน่นอน

 

  • Diversification การกระจายความเสี่ยงและแผนสำรอง บางทีการทำธุรกิจเพียงอย่างเดียวอาจกลายเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจที่มากในอนาคตก็เป็นได้ เพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าวันใด ธุรกิจเราจะสูญหายไป

 

  • Nothing is Perfect ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ ต่อให้มีเทคโนโลยีที่บอกกล่าวคอนเซ็ปต์ได้ดีแค่ไหน แต่ก็มีช่องโหว่ให้โดนโจมตีและทำลายได้อยู่ดี

 

      สุดท้ายแล้วทุกสิ่งทุกอย่างล้วนอนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่ยึดติด ไม่เป็นเจ้าเข้าเจ้าของ หลายๆ สิ่งหลายๆ อย่าง เกินสิ่งที่เราควบคุมได้ หากใครได้รับผลกระทบจากกรณีศึกษานี้ ผมอยากจะบอกว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ล้วนดีเสมอ” ในทุกๆ เรื่องจะมีเรื่องราวดีๆ อยู่เสมอ เป็นกำลังใจให้กับทุกคนครับ

Ref : https://thematter.co/thinkers/why-luna-fall-from-the-sky/174883

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้