TEXT : Mr.Natthapat Kamolpollapat (Pop)
เชื่อว่านาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักระบบการเงินใหม่แห่งอนาคตที่เรียกกันติดปากว่า Cryptocurrency ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนและการใช้จ่ายของผู้คนในอนาคต แต่อีกอย่างหนึ่งที่เติบโตควบคู่กันมาและมักจะสร้างความสับสนให้กับผู้คนมือใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดนั่นคือตัวของ Token ที่เป็นเหรียญในลักษณะที่คล้ายกันแต่ทำงานแตกต่างกันและตัวของ Token นี้ก็มีอยู่มากมายหลายแบบตามแต่ที่จะนิยามซึ่งประโยชน์ของมันก็มักจะถูกนำมาใช้งานใน Ecosystem ที่แต่ละเหรียญถูกออกแบบมา
การนำระบบรับชำระเงินด้วย Cryptocurrency มาใช้ในการจองโรงแรมถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของการ Transformation ธุรกรรมด้านการเงินของอุตสาหกรรมโรงแรม แม้จะยังไม่แพร่หลายนักแต่ก็มีแนวโน้มการพยายามศึกษาและนำระบบการรับชำระเงินนี้มาใช้กันมากขึ้นในหลายโรงแรมและแม้แต่ผู้ให้บริการรับจองห้องพัก Online หรือ OTA ด้วยก็ตาม
ก่อนหน้าธุรกิจโรงแรมยังมีหลากหลายอุตสาหกรรมที่เริ่มออกมาทยอยรับการชำระเงินค่าใช้จ่ายในรูปแบบต่างๆ ผ่านสกุลเงิน Cryptocurrency และที่เริ่มได้รับความนิยมตามมานั่นคือตัวของ Token ที่เริ่มมีการนำมาใช้เพื่อสร้างสภาพคล่องด้านการเงินและการใช้งานให้กับ Stakeholder ต่างๆ ใน Ecosystem นั้นๆ
ตัวอย่างเช่น Investment Token ของ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ในชื่อของ “SiriHub A และ SiriHub B” ที่นักลงทุนที่ซื้อเหรียญในสอง Series นี้จะได้รับผลตอบแทนในอัตราที่แตกต่างกันแต่มีที่มาเหมือนกัน กล่าวคือ Investment Token ของแสนสิรินี้จะใช้อ้างอิงการรับผลตอบแทนจากสินทรัพย์อ้างอิงคือ “กลุ่มอาคารสำนักงาน แสนสิริ แคมปัส” ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของแสนสิริ โดยมีสัญญาเช่าระยะยาว 12 ปี ผู้ลงทุนจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ทุกไตรมาส สำหรับผู้ถือ Token SiriHub A จะได้รับผลตอบแทนร้อยละ 4.5 ต่อปี และสำหรับผู้ถือ SiriHub B จะได้รับผลตอบแทนร้อยละ 8.0 ต่อปี และผู้ถือจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ส่วนสุดท้ายจากการจำหน่ายทรัพย์สินเมื่อสิ้นสุดโครงการ (https://xspringdigital.com/th/project/sirihub)
นี่คือภาพของการใช้ Token ในมุมของภาคอสังหาริมทรพัย์แล้วในส่วนของธุรกิจโรงแรมจะสามารถนำ Token มาใช้ได้อย่างไรบ้าง?
แล้วสำหรับธุรกิจโรงแรมล่ะ?
แน่นอนว่า Token นั้นมีหลายแบบแต่สำหรับแบบที่น่าจะเหมาะกับธุรกิจโรงแรมที่สุดคงจะหนีไม่พ้น Token ที่เป็นตัวที่เรียกว่า “Utility Token” คือ Token ที่ใช้หมุนเวียนใช้จ่ายใน Ecosystem ของตัวเองซึ่งข้อดีของ Token ชนิดนี้คือ “ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจาก ก.ล.ต. สามารถออกใช้งานใน Platform ได้เลย” เพราะไม่มีการเกี่ยวข้องกับการรับผลตอบแทนหรือส่วนได้ส่วนเสียเหมือน Investment Token ที่ใช้เพื่อแสดงสิทธิในการรับผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งประเด็นหลักๆ ที่หากมีการออก Utility Token มาใช้ในธุรกิจโรงแรมแล้วน่าจะเกิดขึ้นคือ
1. Utility Token จะถูกนำมาใช้ในการชำระค่าใช้จ่ายแทนการใช้เงินสดในลักษณะของการ “ขายเครดิต” ล่วงหน้า เหมือนกรณีที่เราใช้งานผ่าน Platform อื่นๆ โดยจะเป็นการให้แขกผู้เข้าพักซื้อเหรียญ Utility Token และแจ้งสิทธิที่แขกจะสามารถนำ Utility Token นี้ไปใช้งานได้ เช่น ซื้อ Utility Token 100 เหรียญ ในอัตราเหรียญละ 1,000 บาท ผู้ถือ Utility Token นี้ จะสามารถนำไปชำระค่าห้องพัก ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าสปา หรือค่าบริการอื่นๆ ในโรงแรม และอาจจะรวมถึงสิทธิในการได้รับส่วนลดในลักษณะของการ Top up เพิ่มขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งด้วยก็ได้เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับ Utility Token ของโรงแรม
2. การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ในกรณีที่โรงแรมต้องการให้ Utility Token ของโรงแรมได้รับความนิยมจากแขกจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนการตลาดและมอง Utility Token เป็นสินค้าอีกตัวหนึ่งของโรงแรม ซึ่งไม่ควรมองว่า Utility Token นี้เป็นเพียงระบบใช้งานเฉพาะที่ไม่จำเป็นต้องทำการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับรายละเอียดออกไปว่าใช้ทำอะไรได้บ้าง? เพื่อให้แขกได้รับรู้เพราะหากไม่มีการสื่อสารและทำให้แขกเห็นถึงความสำคัญ ประโยชน์ หรือความแตกต่างของการมีหรือไม่มี Token ให้ได้ การประสบความสำเร็จในการออกขายเหรียญ Utility Token นี้ย่อมยากที่จะประสบความสำเร็จและอาจจะทำให้เสียเวลา เสียงบประมาณในการศึกษาและจัดทำโดยใช่เหตุ
3. ข้อดีของการออก Utility Token สำหรับโรงแรม แน่นอนว่าเมื่อเป็นการ “ขายล่วงหน้า” โรงแรมจะมีกระแสเงินสด (Cash Flow) เข้ามาหมุนเวียนในการทำธุรกิจได้ดีขึ้น ในข้อกำหนดที่ว่าเหรียญ Utility Token ของโรงแรมนั้นต้องดึงดูดให้แขกมาซื้อได้ ซึ่งสิ่งที่จะทำให้แขกสนใจ Token ของโรงแรมคงหนีไม่พ้นสิทธิพิเศษเฉพาะ (Privilege) ของผู้ที่ถือ Token ของโรงแรมที่แตกต่างจากแขกทั่วไปในจุดนี้อาจต้องมีการวางแผนทำ Service Design เข้ามาประกอบเรื่องสิทธิประโยชน์ของผู้ถือ Token
4. ข้อควรระวังหากออก Utility Token มาใช้ในโรงแรมที่สำคัญที่สุดคือ “ระบบการใช้งาน” ที่จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลาทั้งในเรื่องของ Circulation Supply ปริมาณ Token ที่จะใช้งานในระบบต้องมีความชัดเจนว่าจะเป็นแบบ Unlimited ออกได้เรื่อยๆ หรือเป็นแบบที่มี Maximum Supply คือมีการจำกัดจำนวนเหรียญทั้งหมดที่จะใช้งาน ซึ่งแต่ละอย่างมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป ประการต่อมาคือเรื่องของระบบการ Redeem ตัว Token ที่นำมาใช้งานต้องมีความเสถียรและปลอดภัยแม่นยำในการคิดคำนวณไม่เกิดเหตุการณ์ที่ Token ของแขกหายไปในขณะ Redeem แต่แขกไม่ได้รับของรางวัลหรือใช้งานไม่ได้ รวมทั้งระบบการจัดเก็บเหรียญที่แขกได้ซื้อไปซึ่งต้องไม่เกิดการ “สูญหาย” จากการจัดเก็บ และตัวสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของการวางระบบ Cyber Security ต้องมีระบบป้องกันที่ปลอดภัย สามารถป้องกันการถูก Hack ข้อมูลผู้ใช้หรือแทรกแทรงระบบการดำเนินงานจากภายนอกซึ่งจะทำให้โรงแรมและแขกได้รับความเสียหาย
5. หน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับ Utility Token ของโรงแรม ในกรณีนี้ต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับหน่วยงานในโรงแรมที่จะดูแลบริหารจัดการเกี่ยวกับ Utility Token ที่ชัดเจนตั้งแต่ขั้นตอนการออกใช้งาน การใช้งาน การควบคุม รวมถึงการประเมินผลจากข้อมูลจากการใช้งาน Token ในลักษณะของการทำ Data Analysis แต่ด้วยเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอาจต้องมีการกำหนดบุคคลากรและฝ่ายที่รับผิดชอบให้ชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้ดูแลตรวจสอบและแก้ไข จะเป็น ฝ่าย IT หรือฝ่าย Sales & Marketing หรือฝ่ายบัญชี หรืออาจจะต้องใช้บริการบริษัท Outsource จากข้อจำกัดเรื่องความชำนาญที่บริษัทเหล่านี้น่าจะมีมากกว่าบุคคลากรด้านการโรงแรมโดยตรงแต่ก็ต้องระมัดระวังเรื่องการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล PDPA ให้ดีด้วยเช่นกันเพราะเป็นการเชื่อมต่อและดูแลข้อมูลจาก 3rd Party.
6. กฎ ระเบียบ และข้อบังคับจากทางภาครัฐ หากในอนาคตตัว Utility Token มีการนำมาใช้งานมากขึ้นในทุกอุตสาหกรรมและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายซึ่งอาจจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งของกลุ่มมิจฉาชีพในการสร้างความเดือดร้อนประชาชนซึ่งเราอาจจะได้เห็นการออกกฎหมาย ระเบียบหรือมาตรการใหม่ๆ มาป้องกันในกรณีนี้และแน่นอนว่ามันอาจจะส่งผลกระทบต่อทั้งผู้ออก Token และผู้ใช้งาน Token ด้วยเช่นกันดังนั้นการเตรียมพร้อมในการรับมือกับกรณีด้วย
คิดว่าในระยะเวลาอันใกล้นี้เราน่าจะได้เห็น “เชนโรงแรม” ทั้งในระดับ International หรือในระดับ Domestic ในประเทศของเรามีการออก Utility Token ออกมาใช้งานกันได้เร็วๆ นี้เนื่องจากมีปัจจัยที่เอื้อในความสำเร็จหากจะลงมาจัดทำ Utility Token จริงๆ เพราะมี Supply คือ จำนวนโรงแรมในเชนที่มีหลากหลายให้เลือกทุกระดับ ทุกราคา ทุกตลาด ซึ่งก็จะรวมถึงห้องอาหาร สปา ฯลฯ เข้าไปด้วยเพิ่มความน่าสนใจในการถือ Token เพราะในความเป็นเชนย่อมมีข้อได้เปรียบด้าน Economy of Scale เมื่อออก Utility Token แล้วสามารถใช้งานได้กับการใช้จ่ายด้านห้องพัก อาหาร สปา ฯลฯ ทุกโรงแรมในเครือทั่วโลก แขกจะมีความรู้สึกคุ้มค่า น่าถือ Token ยิ่งหากเชนโรงแรมทำการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ได้ดีก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในความสำเร็จและต่อยอดไปยังบริการตัวอื่นได้อีกด้วย
แต่ในอีกมุมนี่คงเป็นอีกอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึง Gap ที่เกิดขึ้นระหว่างโรงแรมขนาดใหญ่และโรงแรมขนาดเล็กจากผลพวงของ Digital Transformation ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกธุรกิจบริการ ซึ่งผู้ประกอบการรายเล็กย่อมไม่มีเงินทุนและทรัพยากรมากเท่าผู้เล่นรายใหญ่ทำให้การบ้านอีกข้อหนึ่งคือหากไม่สามารถที่จะปรับองค์กรได้อย่างรวดเร็วให้สอดคล้องกับ Digital Transformation ได้ทันที ก็จำเป็นที่จะต้องหา Unique Selling Point ของตัวเองให้เจอ ซึ่งต้องเป็นจุดที่แขกให้ความสนใจมากกว่าการมีเทคโนโลยีที่ตื่นตาตื่นใจเข้ามาให้บริการในโรงแรม น่าสนใจว่าในอนาคตต่อไปฉากทัศน์ของธุรกิจโรงแรมที่เคยมีจุดขาย จุดเด่นด้านการให้บริการ จะปรับตัวรับ Digital Disruption ได้อย่างไรในอนาคตอันใกล้นี้?
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี