ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ทุกวันนี้ธุรกิจ SME หรือธุรกิจขนาดเล็ก และกลางกลายมาเป็นรูปแบบธุรกิจที่ได้รับการจับตามองมากที่สุดในปัจจุบัน วันนี้ MoneyGuru ขอแนะนำเทคนิคการบริหารเงิน เพื่อให้ธุรกิจ SME ของเราสามารถดำเนินการได้อย่างประสบผลสำเร็จ และได้รับกำไรคุ้มค่าที่สุดครับ
ลดต้นทุน เพื่อกำไรที่มากกว่า
เป้าหมายของธุรกิจทุกประเภท ก็คือกำไรที่ได้จากการทำธุรกิจ รู้หรือไม่ครับว่า กำไรนั้นไม่ได้มาจากยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมาจากการลดต้นทุนของเราด้วย หรือที่เรียกกันว่า Lean Management ก็คือการลดมูลค่าความสูญเสีย หรือสิ้นเปลืองที่จะเกิดขึ้นในธุรกิจ เช่น การลดการใช้วัตถุดิบ แรงงาน และค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ประโยชน์ของการทำ Lean Management จะช่วยลดการสูญเสียได้ใน 7 เรื่อง ดังนี้ครับ
1. ความสูญเสียเนื่องมาจากการรองาน (Waiting)
2. ความสูญเสียเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายงาน (Transport)
3. ความสูญเสียเนื่องมาจากการแก้ไขข้อผิดพลาด (Defect)
4. ความสูญเสียเนื่องมาจากการทำงานซ้ำซ้อน (Over processing)
5. ความสูญเสียเนื่องมาจากการเก็บงานไว้ทำ (Inventory)
6. ความสูญเสียเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นของผู้ปฏิบัติงาน (Movement)
7. ความสูญเสียเนื่องมาจากการทำงานมากเกินไป (Over producing)
ดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเงินแบบ Lean Management จึงเป็นเทคนิคที่นักธุรกิจ SME ไม่ควรมองข้ามอย่างหนึ่งครับ
บริการร้านค้าที่สามารถรับบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตได้
บริการนี้เป็นอีกบริการหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจ SME เพราะเป็นการขยายช่องทางในการรับชำระค่าสินค้า และบริการที่ไม่เพียงแต่รับชำระทางเงินสดอย่างเดียว แต่สามารถรับชำระผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตได้ด้วย รวมไปถึงการชำระผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นผ่านทาง PayPal ชำระผ่านการหักบัตรเครดิต หรือการโอนเงิน ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางในการชำระเงินให้กับลูกค้าของเรา
การมีช่องทางการชำระเงินหลากหลายช่องทางย่อมส่งผลให้ลูกค้าใช้บริการเรามากขึ้นครับ การลงทุนกับการเพิ่มช่องทางการชำระเงิน จึงเป็นอีกส่วนนึงที่น่าสนใจไม่น้อยเลยล่ะครับ
การบริหารจัดการเงินสด
ปัญหาในการจัดการธุรกิจ SME ส่วนใหญ่ ก็คือ การขาดสภาพคล่องทางการเงิน หรือการที่มีเงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอนั่นเอง ดังนั้นเราจึงควรศึกษาวิธีการบริหารเงินสดเพื่อให้ธุรกิจ SME ของเรามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยหลักการสำคัญของการบริหารเงินสด มีดังนี้ครับ
1. มีการสำรองเงินไว้สำหรับรายจ่ายประจำ เช่น เงินเดือน เงินกู้และภาษี
2. ตรวจสอบสถานะทางการเงินของกิจการอยู่เป็นประจำ ทั้งรายรับและรายจ่าย
3. มีการจัดทำงบประมาณเงินสด
4. มีการพยากรณ์ปริมาณการไหลเวียนของเงินสด เพื่อให้เราสามารถคาดการณ์จุดสูงสุดและต่ำสุดของภาวะดุลเงินสดได้ โดยทำเป็นรายไตรมาศหรือรายปีล่วงหน้า แยกข้อมูลออกเป็นส่วน ของการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ และส่วนที่ใช้เป็นเงินทุน
ลดความเสี่ยงในธุรกิจ
การลดความเสี่ยงในธุรกิจอาจจะเป็นการทำประกันภัยสำหรับธุรกิจขนาดย่อม หรือจะเป็นหลีกเลี่ยงการสต็อกสินค้าไว้เป็นจำนวนมากๆ รวมถึงการเพิ่มความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ เช่น การทำการตลาดที่เหมาะสม การบริหารจัดการลูกค้าที่ดี และการทำสินค้าหรือแบรนด์ให้มีคุณค่าครับ
ติดตามเคล็ดลับ (ที่ไม่ลับ) ด้านการเงิน และผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพิ่มเติมได้ที่บล็อกของ MoneyGuru.co.th ที่นี่ ได้เลยครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก pattanakit,kasikornbank,gnosisadvisory
Create by smethailandclub.com