เครียดไหม! รายได้ไม่มี หนี้ก็ต้องจ่าย 5 คาถาปลดหนี้เอาตัวรอดจากวิกฤต

TEXT : กองบรรณาธิการ

 


     ความยากของผู้ประกอบการธุรกิจในวิกฤตโควิด-19 ไม่ใช่แค่การรับมือหารายได้เข้ามาจุนเจือกิจการให้อยู่รอดเท่านั้น เพราะอีกด้านหนึ่งก็ยังมีภาระหนี้สินให้ต้องดูแลรับผิดชอบด้วย แต่จะทำยังไงเมื่อรายได้ก็แทบจะไม่มีเข้ามาเลย หนี้ที่ค้างเอาไว้ก็ยังต้องจ่าย หันไปทางไหนก็มีแต่เรื่องให้เครียดให้ปวดหัว วันนี้เราจึงขอหยิบ 5 เทคนิคการปลดหนี้เพื่อเอาตัวรอดจากวิกฤตเหมือนที่หลายคนกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้มาฝากกัน

 
คาถา 1 : หยุดสร้างหนี้

  • อย่าสร้างหนี้ก้อนใหม่

 

  • มีวินัยการใช้จ่าย ลดรายจ่ายไม่จำเป็นออกไป

 

  • เลิกยืมเงินคนอื่นหรือบัตรเครดิตเพื่อมาโปะหนี้

 

  • รักษาเงินสดไว้ให้เยอะที่สุด

 





คาถา 2 : เช็คยอดหนี้ทั้งหมดที่มี

  • เช็คว่ามีหนี้อยู่ทั้งหมดเท่าไหร่

 

  • ดูความสามารถชำระขั้นต่ำต่อเดือน

 

  • แบ่งประเภทหนี้ตามอัตราดอกเบี้ย ปิดหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน

 

  • แบ่งสัดส่วนค่าใช้จ่าย รายได้ หนี้ที่ต้องชำระ เงินคงเหลือ เพื่อวางแผนการใช้เงินต่อเดือนง่ายขึ้น

 





คาถา 3 : แยกประเภทหนี้ให้ถูกต้อง

  • หนี้ประจำที่ต้องจ่าย (คงที่) เช่น ค่าแรงพนักงาน ค่าเช่าร้าน

 

  • หนี้ประจำที่ต้องจ่าย (แปรผัน) เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าวัตถุดิบ

 

  • หนี้ระยะยาว เช่น การก่อสร้างอาคาร, การพัฒนาเครื่องจักร

 

  • หนี้ระยะสั้น เช่น หนี้บัตรเครดิต, หนี้เงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น

 

  • นำทั้งหมดมาจัดสรรก่อนหลัง

 





คาถา 4 : วางแผนการเงินอย่างเป็นระบบ

  • จดบันทึกรายรับ - รายจ่าย

 

  • วางแผนการเงินในแต่ละเดือน ต้องมีขั้นต่ำเท่าไหร่

 

  • สำรวจเงินสดคงเหลือ

 

  • วางแผนการออม หรือหารายได้เพิ่ม

 





คาถา 5 : อย่ารังเกียจการมีหนี้

  • ปรับทัศนคติหนี้ไม่ใช่วายร้าย หนี้ดีเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจก็มี

 

  • แยกประเภทหนี้ ได้แก่ หนี้ดี – ก่อให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจ, หนี้เสีย - ไม่ก่อให้เกิดรายได้

 

  • วางแผนการมีหนี้ในอนาคตใหม่อีกครั้งให้ลงตัว

 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเพื่อเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้