TEXT : กองบรรณาธิการ
นับเป็นอีกภาพมุมมองของสื่อโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook ที่นอกจากจะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มช่องทางการสื่อสารของผู้คนทั่วไป แบรนด์ และธุรกิจต่างๆ แล้ว วันนี้เฟซบุ๊กยังทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจอีกด้วย
โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมานี้ เฟซบุ๊กได้ทำการจับมือกับ “Indifi” บริษัทสินเชื่อออนไลน์ของอินเดีย เพื่ออช่วยจัดหาเงินกู้ให้ธุรกิจรายย่อยวงเงินตั้งแต่ 5 แสน – 5 ล้านรูปี (6,719 - 67,191 ดอลลาร์สหรัฐ) ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
มีเงื่อนไขง่ายๆ เพียงแค่ต้องเคยเป็นธุรกิจที่ลงโฆษณาบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก หรือบริษัทในเครือมาก่อนอย่างน้อย 180 วันก่อนสมัครเข้าขอใช้บริการ โดยหากผ่านการอนุมัติจะได้รับเงินกู้ภายใน 3 วันเท่านั้น
Ajit Mohan กรรมการผู้จัดการของ Facebook India ได้กล่าวในงานแถลงข่าวออนไลน์ว่าเฟซบุ๊กไม่ได้ต้องการสร้างรายได้จากโครงการดังกล่าว เพียงแต่อยากช่วยสนับสนุนและฟื้นฟูกิจการในอินเดียให้ดีขึ้นหลังเผชิญวิกฤตไวรัสโควิด-19 ด้วยเครื่องมือดิจิตอล ซึ่งเมื่อธุรกิจต่างๆ กลับมาฟื้นตัวได้ดีเมื่อนั้นก็จะส่งผลกลับมายังการใช้โฆษณาบนแพลตฟอร์มที่ขยายเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
โดยอินเดียนับเป็นตลาดที่มีการเติบโตสำคัญสำหรับ Facebook ซึ่งมีผู้ใช้งานมากถึง 410 ล้านคน และเป็นตลาดผู้ใช้งาน WhatsApp มากที่สุดในกลุ่มประเทศเอเชียใต้โดยมีผู้ใช้งานกว่า 530 ล้านคน รวมถึง Instagram ซึ่งมีผู้ใช้มากกว่า 210 ล้านคนในอินเดีย และยังได้รับประโยชน์จากการห้ามใช้ TikTok แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นของจีนเมื่อปีที่แล้ว
จากผลสำรวจในปี 2563 ที่ Facebook จัดทำร่วมกับหน่วยงานพัฒนาทางเศรษฐกิจในอินเดีย และธนาคารโลกพบว่าปัญหาหลักที่ผู้ประกอบการรายย่อย 1 ใน 3 บนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กประสบมากที่สุด ก็คือ กระแสเงินสดไม่เพียงพอนั่นเอง
เรียกว่าคงต้องจับตาดูกันยาวๆ กันต่อไปสำหรับความเคลื่อนไหวของยักษ์ใหญ่โซเชียลมีเดียเจ้านี้ที่ชอบมีเซอร์ไพรส์ออกมาให้แปลกใจอยู่เรื่อยๆ หลังจากเมื่อกลางปีก่อนก็ได้ประกาศเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลของตัวเองขึ้นมาอย่าง Libra จนเป็นที่ฮือฮามาแล้ว ส่วนในไทยและประเทศอื่นๆ จะมีการปล่อยเงินกู้จากเฟซบุ๊กเหมือนกับอินเดียหรือเปล่านั้น ก็ต้องรอลุ้นกันต่อไปเช่นกัน
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
RECCOMMEND: FINANCE
หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน
ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ
อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้