ธนาคารกรุงเทพ ช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจสู้โควิด-19 ด้วยมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู และมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้




       สุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงมีผลกระทบต่อแนวโน้มทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2564 และยังมีความไม่แน่นอนสูง ส่งผลต่อผู้ประกอบธุรกิจในวงกว้าง และประเมินว่าในบางธุรกิจอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะฟื้นตัวกลับมาใกล้เคียงปกติ ธนาคารกรุงเทพจึงพร้อมขานรับมาตรการของ ธปท. และกระทรวงการคลัง ในการร่วมส่งมอบความช่วยเหลือเพิ่มเติมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ ผ่าน 2 มาตรการ
 
 
       มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ สามารถประคับประคองและฟื้นฟูธุรกิจให้สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจต่อได้ สำหรับทั้งลูกค้าปัจจุบันที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับธนาคารไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งสามารถขอวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูได้สูงสุด 30 เปอร์เซ็นต์ ของวงเงินเดิม สูงสุดไม่เกิน 150 ล้านบาท (นับรวมกับวงเงิน Soft Loan เดิมที่เคยได้รับตาม พ.ร.ก.)  และลูกค้าใหม่ที่ยังไม่เคยมีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินใด สามารถขอสินเชื่อได้สูงสุด 20 ล้านบาท โดยนับรวมวงเงินจากทุกสถาบันการเงิน
 
 
       ในช่วง 5 ปีแรก คิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี โดยช่วง 2 ปีแรก คิด 2 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี ทั้งยังได้รับยกเว้นดอกเบี้ย 6 เดือนแรกจากการสนับสนุนของกระทรวงการคลัง ขณะเดียวกันธนาคารได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขอสินเชื่อ เพื่อช่วยลดภาระผู้ประกอบการให้ก้าวข้ามสถานการณ์ที่ยากลำบากในเวลานี้
 
 
       นอกจากนี้ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จะเป็นผู้ค้ำประกันสินเชื่อทุกราย คิดค่าธรรมเนียมการค้ำประกันไม่เกิน 1.75 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี โดยรัฐบาลจะชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันให้บางส่วน
 
 
        มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ (Asset Warehousing) เพื่อลดภาระทางการเงินของผู้ประกอบธุรกิจที่มีศักยภาพ ซึ่งได้รับผลกระทบและต้องใช้ระยะเวลานานในการฟื้นตัว ด้วยการโอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันชำระหนี้ให้กับธนาคาร ตามราคาที่ตกลงกัน โดยผู้ประกอบธุรกิจสามารถเช่าทรัพย์สินนั้นเพื่อไปประกอบธุรกิจได้ตามอัตราค่าเช่าที่ตกลงกัน และให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจในการซื้อทรัพย์คืน ภายใน 3-5 ปี
 
 
        สุวรรณ กล่าวอีกว่า การช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจให้มีสภาพคล่อง สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ จะเป็นผลบวกต่อเศรษฐกิจโดยรวม และช่วยพยุงการจ้างงานอีกเป็นจำนวนมาก
 
 
       ตลอดระยะเวลากว่า 1 ปีที่เกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ธนาคารกรุงเทพได้ออกมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบแก่ลูกค้ากลุ่มต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และพร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งต่อมาตรการความช่วยเหลือของภาครัฐ ให้เข้าถึงลูกค้าและผู้ประกอบการได้อย่างแท้จริง ซึ่งยืนยันถึงจุดยืนของธนาคารกรุงเทพ ในการเป็น “เพื่อนคู่คิด” ที่พร้อมเคียงข้างลูกค้าตลอดเวลา แม้ในยามที่ยากลำบากก็จะก้าวข้ามสถานการณ์เหล่านั้นไปด้วยกัน
 
 
 
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้