เทรนด์ “บิทคอยน์” กำลังมา SME อยากรับชำระเงินดิจิทัล ต้องเข้าใจ 3 ข้อต่อไปนี้

TEXT : นเรศ เหล่าพรรณราย





     เร็วๆ นี้ได้เกิดข่าวที่สร้างเสียงฮือฮาในออนไลน์จากการที่ร้านค้าบางแห่งได้เปิดให้ลูกค้าสามารถชำระเงินได้ด้วยสกุลเงินดิจิทัลอย่างบิทคอยน์ ตั้งแต่โรงภาพยนต์เมเจอร์ รองเท้านันยาง ชาบูสไมล์ แม้กระทั่งดารานักแสดงที่รับค่าตัวเป็น Cryptocurrency
 
 
      ก่อนหน้านี้มีเคสที่สร้างกระแสมากที่สุดก็คือการที่ Elon Musk ประกาศรับชำระค่ารถยนต์ TESLA ด้วยบิทคอยน์ ขณะที่แบรนด์ต่างๆ ในระดับโลกต่างเปิดรับชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ล่าสุด Paypal ที่เปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลได้รวมถึงเพิ่งเปิดให้ร้านค้าที่ขายสินค้าทางออนไลน์สามารถเปิดรับสกุลเงินดิจิทัลในการชำระค่าสินค้าและบริการได้
 
 
     สำหรับผู้ประกอบการ SME หรือ Startup ที่อยากจะเปิดรับการชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลบ้าง จำเป็นต้องเข้าใจประเด็นดังต่อไปนี้เสียก่อน
 


 
 
  1. ความผันผวนของราคา
 

       การที่ราคาของสกุลเงินดิจิทัลปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะส่งผลดีต่อมูลค่าของการถือครองสินทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อที่สูงขึ้นด้วย แต่ในทางเดียวกันราคาก็มีความผันผวนต่อวันในระดับสูงเช่นกันต่างจากสกุลเงินปกติทั่วไปที่มักจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยต่อวัน ทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการใช้งานสกุลเงินดิจิทัลแทนที่เงินตราโดยเฉพาะในมุมของร้านค้าเนื่องจากมูลค่าทรัพย์สินที่ได้มาหลังการแลกเปลี่ยนสินค้าจะมีความผันผวน


        เท่ากับว่าร้านค้าที่จะเปิดรับสกุลเงินดิจิทัลต้องมีความเชื่อมั่นในแง่ของมูลค่าทรัพย์สินที่จะสูงขึ้นจากการถือครองสกุลเงินดิจิทัลถึงจะมั่นใจและเปิดรับชำระเงินด้วยคริปโต หมายความผู้ประกอบการอาจจะต้องถือครองสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นๆ ไประยะหนึ่ง

 
       อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีในปัจจุบันได้ออกมาแก้ไขปัญหาเรื่องของความผันผวนของราคาสกุลเงินดิจิทัลในการนำมาใช้จ่ายแทนเงินได้แล้วอย่างเช่นการ Convert สกุลเงินดิจิทัลจากลูกค้ามาเป็น Fiat Currency แบบ Real Time ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของการถือครองลงได้




 
  1. การบันทึกบัญชียังคงเป็นเครื่องหมายคำถาม
 

       ประเด็นสำคัญที่ร้านค้าหรือแบรนด์ยังไม่ลงมาเปิดรับชำระเงินด้วย Cryptocurrency ก็คือการบันทึกบัญชี เนื่องจากกฎหมายที่ยังคลุมเครือตลอดจนบริษัทตรวจสอบบัญชียังไม่มีมีความเข้าใจในเรื่องของสกุลเงินดิจิทัล เช่น จะจัดให้สกุลเงินดิจิทัลที่ถือครองอยู่บันทึกเป็นสินทรัพย์ประเภทใด เช่น สภาพคล่องหมุนเวียนหรือสินทรัพย์การลงทุน ตลอดจนเรื่องของภาษี ที่แม้ว่าประเทศไทยจะมี พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัลที่กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลและมีข้อกำหนดจากสรรพากรในเรื่องของภาษี แต่ก็ถือว่ายังไม่มีความชัดเจนในการจัดเก็บ



 
 
  1. ราคามีขึ้นก็มีลง
 

       แม้ภาพรวมของราคาสกุลเงินดิจิทัลอย่างบิทคอยน์จะเป็นขาขึ้น แต่ในประวัติศาสตร์สิบปีที่ผ่านมาก็มีช่วงเวลาที่ราคาบิทคอยน์เป็นขาลงยาวนานหลายปีเช่นกัน สำหรับผู้ที่ต้องการถือครองสินทรัพย์ประเภทนี้จึงต้องมีความเข้าใจในความเสี่ยงนี้ด้วย

 
       เราไม่อาจที่จะต้านกระแสของสังคมไร้เงินสดตลอดจนการเติบโตของสกุลเงินดิจิทัลได้ การเปิดรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสกุลเงินดิจิทัลจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ประกอบการยุคใหม่นี้ อย่างไรก็ตามต้องมีความเข้าใจในเทคโนโลยีนี้เป็นอย่างมาก อย่ากระโดดลงมาเพียงแค่ตามกระแสเท่านั้น


 

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้