แง้มช่องส่อง “5 อุตสาหกรรม” ที่ยังโตได้แม้โควิดยังไม่สงบ และโลกยังไม่พบวัคซีน

TEXT : กองบรรณาธิการ





Main Idea
 
 
     5 อุตสาหกรรมการผลิตที่ยังโตได้ในโควิด
 
 
  • เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค ขยายตัว 30.20 เปอร์เซ็นต์
 
  • เครื่องใช้ในครัวเรือน ขยายตัว 34.07 เปอร์เซ็นต์
 
  • แปรรูปและถนอมผลไม้และผัก ขยายตัว 27.03 เปอร์เซ็นต์
 
  • เฟอร์นิเจอร์ ขยายตัว 13.13 เปอร์เซ็นต์
 
  • อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัว 6.18 เปอร์เซ็นต์
 


 

     ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา เราคงพอเห็นสัญญานบวกบางอย่างในกลุ่มสินค้าส่งออก ที่เริ่มกลับมาขยายตัวได้บ้างแล้ว ล่าสุดกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ก็ออกมาเผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกันยายน พบว่า ขยายตัว 3.25 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 โดยที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 เช่นกัน มาอยู่ที่ระดับ 63.07 ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาส 3 ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 91.22 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ที่ 13.73 เปอร์เซ็นต์ สะท้อนให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมของไทยได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นใกล้กับช่วงก่อนหน้าสถานการณ์โควิด-19 แล้ว


     โดยอุตสาหกรรมหลักที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภคเป็นหลัก อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.40 เปอร์เซ็นต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.50 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมหลักๆ ได้เริ่มฟื้นกลับมาโดยเพิ่มกำลังการผลิตอีกครั้ง เช่น รถยนต์ได้เพิ่มกำลังการผลิตเดือนกันยายนมาอยู่ที่ระดับ 76.98 จากระดับ 59.81 ในเดือนก่อน โดยมีความต้องการเพิ่มขึ้นจากทั้งตลาดในประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น และตลาดส่งออก
               




     และนี่คือ 5 อุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัวได้ดีในเดือนกันยายนที่ผ่านมา
               

     1. เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค ขยายตัวเพิ่มขึ้น 30.20 เปอร์เซ็นต์


     เนื่องจากในช่วงปีก่อนได้มีการหยุดผลิตเพื่อย้ายโรงงาน ประกอบกับได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดในประเทศและต่างประเทศ



 

     2. เครื่องใช้ในครัวเรือน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 34.07 เปอร์เซ็นต์


     โดยการขยายตัวมาจากผลิตภัณฑ์ตู้เย็นและเครื่องซักผ้า โดยตู้เย็น มีความต้องการเพิ่มขึ้นทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับได้มีผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิตมาจากประเทศจีนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 ในขณะที่เครื่องซักผ้าได้มีการเปิดช่องทางการตลาดใหม่ ทำให้มีคำสั่งซื้อจากตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงการส่งออกเพิ่มขึ้น ไปยังประเทศมาเลเซียและญี่ปุ่นด้วย



               

     3.แปรรูปและถนอมผลไม้และผัก ขยายตัวเพิ่มขึ้น 27.03 เปอร์เซ็นต์


     เป็นการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง และข้าวโพดหวานเป็นหลัก เนื่องจากปีนี้มีการปลูกสับปะรดในหลายพื้นที่ทำให้ยังมีผลผลิตในการเก็บเกี่ยวนอกฤดูกาล รวมถึงการขยายพื้นที่เพาะปลูกของข้าวโพดของเกษตรกร



               

     4.เฟอร์นิเจอร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 13.13 เปอร์เซ็นต์


     จากผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนทำด้วยไม้และที่นอน เนื่องจากผู้ผลิตได้เร่งผลิตให้ทันส่งมอบตามคำสั่งซื้อจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นจากการกักตัวอยู่บ้านในช่วงการระบาดขแงไวรัสโควิด-19 ในขณะที่สินค้าที่นอนได้มีการเพิ่มช่องทางจำหน่ายออนไลน์



               

     5.อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.18 เปอร์เซ็นต์


     จากผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูปและอาหารปลา เนื่องจากความต้องการมีการเติบโตขึ้นต่อเนื่องในตลาดต่างประเทศ ประกอบกับในปีก่อนเกิดภาวะภัยแล้งทำให้มีการเลี้ยงปลาน้อยกว่าในปีนี้
 
               
     สถานการณ์ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ที่เริ่มกลับมาขยายตัวได้เพิ่มขึ้นในเดือนกันยายน สะท้อนให้เห็นว่าแม้สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ยังไม่สงบและโลกยังไม่ค้นพบวัคซีน แต่ในโลกของการค้าและอุตสาหกรรมก็ยังคงต้องดำเนินต่อไป อย่างไรก็ตามจากปัจจัยเสี่ยงโควิด-19 ระลอกที่สองในต่างประเทศ ก็ทำให้เศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น และใช้จุดเด่นในการควบคุมโรคของบ้านเรามาดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) กันมากขึ้น
 


 
               
     ที่มา : เรียบเรียงจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกันยายน 2563
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้