“อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า โรงแรม และภัตตาคาร” ธุรกิจที่ยังน่าเป็นห่วง

TEXT : กองบรรณาธิการ





Main Idea
 
 
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแบบ U-Shaped ปรับจีดีพีปีนี้หดตัว 10 เปอร์เซ็นต์ โดยธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า โรงแรมและภัตตาคาร ยังเป็นธุรกิจที่เข้าข่ายเปราะบาง และน่าเป็นห่วงมากที่สุด
 
  • การจะประคองเศรษฐกิจไทยให้ผ่านพ้นช่วงฐานตัว U ได้เร็วแค่ไหนนั้น ขึ้นกับการออกมาตรการเศรษฐกิจเพิ่มเติมที่เพียงพอและทันต่อเหตุการณ์ในสภาวะการณ์ที่ไม่นิ่ง เช่น หนี้สาธารณะที่จะเพิ่มขึ้น รวมถึงความเสี่ยงในการแพร่ระบาดรอบสองของไวรัสวิด-19  เมื่อทยอยเปิดประเทศแล้วนั่นเอง



     ผ่านพ้นจุดที่หนักที่สุดของสถานการณ์ไวรัสโควิด-19ในประเทศมาได้ แต่ยังมีความท้าทายอีกมากสำหรับ
เศรษฐกิจไทย รวมถึงผู้ประกอบการ SME ในอุตสาหกรรมต่างๆ  ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในเวลานี้เศรษฐกิจประเทศไทยอยู่ไหนระดับไหน และธุรกิจใดที่ยังเข้าข่ายน่าเป็นห่วง ไปหาคำตอบกัน




 
  • ปรับจีดีพีปี 63 หดตัว 10 เปอร์เซ็นต์


      ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองเศรษฐกิจไทยแตะระดับต่ำสุดเมื่อไตรมาส 2 ของปีนี้ พิจารณาจากการหดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าโดยคาดว่าจีดีพีในปีนี้อยู่ที่ -10 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า เศรษฐกิจไทยมีโอกาสฟื้นตัวแบบ U-Shaped ได้


      ทั้งนี้แนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังเผชิญความไม่แน่นอนสูง จากทั้งสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 การแข็งค่ำของเงินบาท รวมถึงประเด็นทางการเมือง ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2563 มาที่ -10 เปอร์เซ็นต์  จากเดิมที่ -6 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่มองว่าความไม่แน่นอนดังกล่าว จะทำให้เห็นการฟื้นตัวในรูปแบบ U-Shaped ซึ่งการจะประคองเศรษฐกิจไทยผ่านพ้นช่วงฐานตัว U ได้เร็วเพียงใดนั้น เป็นโจทย์ของทางการไทยที่ต้องชั่งน้ำ หนักระหว่างการออกมาตรการเศรษฐกิจเพิ่มเติมในขนาดที่เพียงพอและทันต่อเหตุการณ์ในสภาวะการณ์ที่ไม่นิ่งกับต้นทุนจากการออกมาตรการนั้น เช่น หนี้สาธารณะ ที่จะเพิ่มขึ้น รวมถึงความเสี่ยงในการแพร่ระบาดอีกครั้ง ของไวรัสฯ เมื่อทยอยเปิดประเทศ เป็นต้น




 
  • สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยขยายตัว 6.5-8.0 เปอร์เซ็นต์  


       ด้านภาคการเงิน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในปี 2563 จะขยายตัว 6.5-8.0 เปอร์เซ็นต์  เทียบกับที่ขยายตัว 2.3 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2562 ซึ่งการเติบโตสูงกว่าปกติ สะท้อนผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกค้าและภาคธุรกิจที่ขอสินเชื่อเสริมสภาพคล่อง มากกว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจแท้จริง โดยยังต้องติดตามประเด็นคุณภาพหนี้ที่ระดับเอ็นพีแอล จะขยับขึ้นเข้าหา 3.5 เปอร์เซ็นต์ ณ สิ้นปี 2563 เทียบกับ 3.23 เปอร์เซ็นต์ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563




      ขณะที่แม้ภาครัฐจะต้องระดมทุนอีกจำนวนมากในตลาดการเงิน แต่เชื่อว่าเครื่องมือของ ธปท.ที่มีอยู่จะช่วยบริหารจัดการไม่ให้กระทบอัตราดอกเบี้ยในระบบได้ และปัจจุบัน เงินฝากธนาคารพาณิชย์ก็เติบโตสูงราว 9-10 เปอร์เซ็นต์ จากปีก่อน


       นอกจากนี้ รัฐบาลคงจะออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ประสบปัญหาเพิ่มเติม โดยเฉพาะ SME ที่จะช่วยเพิ่มการจ้างงานไปในตัว หลังจากในช่วง 6-8 เดือนแรกได้ออกมาตรการเสริมสภาพคล่องต่างๆ ราว 3.6 แสนล้านบาท ซึ่งประสิทธิผลของมาตรการเพิ่มเติมขึ้นกับระดับการลดความเสี่ยงเครดิตของลูกค้า หรือการผ่อนปรนเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้กับสถาบันการเงิน ส่วนความเข้มแข็งของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยนั้น มีสถานะเงินกองทุนชั้น ที่ 1 ที่ 15.8 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์ขั้น ต่ำ ที่ 8.5-9.5 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ อีกทั้งมีสภาพคล่องในระดับสูง ทำ ให้มั่นใจว่ายังทำหน้าที่เป็นกลไกหลักในการประคองลูกค้าผ่านวิกฤตได้




 
  • กลุ่มธุรกิจที่เปราะบางและยังน่าเป็นห่วง
 

       ในส่วนของแนวโน้มธุรกิจนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สถานการณ์รายได้ของธุรกิจ แม้จะมีบางพื้นที่ที่อาจทยอยปรับตัวดีขึ้นบ้างตามนโยบายทยอยเปิดประเทศและการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ แต่ก็ยังไม่เข้าใกล้ภาวะปกติ โดยธุรกิจที่มีสัดส่วนกิจการที่มีความเปราะบาง 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (13.0 เปอร์เซ็นต์) การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์เสริม (12.1 เปอร์เซ็นต์)   และธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร (9.5 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งคงเป็นกลุ่มที่ทางการอาจพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อเนื่อง





         รวมถึงธุรกิจอื่นๆ อย่าง ธุรกิจด้านการขนส่ง (7.2 เปอร์เซ็นต์) ธุรกิจค้าปลีก  (4.4 เปอร์เซ็นต์) และธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง (2.0 เปอร์เซ็นต์) ก็อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายเปราะบางมากที่สุดในเวลานี้ พิจารณาจากสัดส่วนกิจการที่ดำเนินธุรกิจน้อยกว่า 5 ปี และมีบันทึกการขาดทุนสุทธิก่อนโควิด 
 



        ในวันที่เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในแอ่งกระทะ และรอเวลาที่จะฟื้นตัว ผู้ประกอบการคงต้องประคับประคองธุรกิจ และพิจารณาการลงทุนตลอดจนการดำเนินกิจการอย่างรอบคอบ เพื่อให้สามารถฟื้นตัวจากวิกฤตและไปต่อได้เมื่อเศรษฐกิจกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งในอนาคต
 
 
               

        ที่มา : เรียบเรียงข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย





www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้