‘3 เรื่องต้องจับตา’ สถานการณ์เศรษฐกิจครึ่งปีหลัง ที่จะชี้ชะตา SME ไทย


 

Main Idea
 
  • หลังจากประเทศไทยเจอกับสถานการณ์โควิด-19 กระทบกับเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน มาตั้งแต่ต้นปี 2563 ผู้ประกอบการ SME ได้แต่หวังว่า ครึ่งปีหลังจะยังมีสัญญานบวกมาฟื้นกำลังใจในการขับเคลื่อนธุรกิจหรือไม่
 
  • กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร หรือ KKP มีบทวิเคราะห์เศรษฐกิจ กับ 3 เรื่องต้องจับตาเศรษฐกิจไทยครึ่งปี จะมีอะไรน่าสนใจบ้างนั้น ไปหาคำตอบพร้อมกัน
 
 
               
     เจอเรื่องหนักๆ มาตั้งแต่ต้นปี 2563 ผู้ประกอบการ SME ได้แต่หวังว่า ครึ่งปีหลังจะยังมีสัญญานบวกมาฟื้นกำลังใจในการขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปได้
               

     แต่จะเป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่
               




     มาฟัง 3 เรื่องต้องจับตา เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังจาก “ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย
 
  • สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ยังไม่จบ
               
     โดยแม้ประเทศไทยไทยจะไม่มีผู้ติดเชื้อต่อเนื่องมานานกว่า 60 วันแล้ว แต่อัตราการติดเชื้อในโลกยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงวันละกว่า 200,000 คน จนทำให้ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อรวมแล้วกว่า 17 ล้านคน และมีความเสี่ยงที่บางพื้นที่อาจจะมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีก ขณะที่การพัฒนาวัคซีนสำเร็จคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นหลังต้นปีหรือกลางปีหน้า นั่นทำให้เรายังไม่สามารถวางใจได้ว่าสถานการณ์จบลงเมื่อไร แต่อาจจะคาดได้ว่าเศรษฐกิจโลกโดยรวมน่าจะผ่านช่วงที่เลวร้ายที่สุดไปแล้ว
 


 
  • เศรษฐกิจไทยยังโตต่ำกว่าศักยภาพ

     ในด้านเศรษฐกิจไทย คาดการณ์ว่าอาจจะยังโตต่ำกว่าศักยภาพไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากเศรษฐกิจไทยพึ่งพิงการท่องเที่ยวจากต่างชาติค่อนข้างมาก และการใช้จ่ายจากนักท่องเที่ยวต่างชาติคิดเป็นถึงร้อยละ 12 ของจีดีพี ตลอดจนมาตรการปิดเมืองทั้งในและต่างประเทศ ที่จะกระทบถึงธุรกิจและเศรษฐกิจในภาพรวมด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก ที่คาดว่าอาจจะมีจำนวนคนว่างงานสูงสุดถึง 5 ล้านคน ซึ่งจะส่งผลไปถึงความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ของทั้งธุรกิจและครัวเรือน จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ของทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ โดยปัจจุบันพบว่า มีลูกค้าสถาบันการเงินถึง 12.8 ล้านบัญชี หรือมูลค่าหนี้กว่า 6.9 ล้านล้านบาท หรือหนึ่งในสามของหนี้รวมทั้งระบบที่ได้รับความช่วยเหลือผ่านการปรับโครงสร้างหนี้อยู่



 
  • ข้อจำกัดในการอัดฉีดของภาครัฐ

     เรื่องสุดท้ายคือ ประเด็นการอัดฉีดของภาครัฐ มองว่าแม้ในระยะเวลาที่ผ่านมา การช่วยเหลือจากธนาคารกลางและรัฐบาล จะช่วยพยุงสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลก และตลาดการเงินได้ แต่ปัจจุบันรัฐบาลทั่วโลกอัดฉีดเงินไปแล้วกว่า 11 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของไทยเองก็อาจจะเพิ่มจากร้อยละ 41 ในปี 2562 ไปถึงร้อยละ 60 ในปีหน้า ซึ่งอาจจะเป็นข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายในอนาคต นอกจากนี้




     อีกสองปัจจัยเสี่ยงที่ควรต้องระวัง คือความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ทวีความรุนแรงขึ้น และการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่อาจจะนำไปสู่ความไม่แน่นอนด้านนโยบาย และอาจมีผลต่อนโยบายเศรษฐกิจไทย เช่น การตัดสินใจเข้าร่วม CPTPP (Comprehensive and Progressive Trans-pacific Partnership) หรือความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกของไทยด้วย
 



     และนี่คือ 3 เรื่องหลักๆ ที่สะท้อนถึงความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง ซึ่งส่งสัญญาณให้ SME ไทยต้องจับตา  และเตรียมรับมือ แม้โจทย์จะยังหนัก แต่ถ้า SME ไทยยังสู้ วิกฤตหนักแค่ไหนก็จะผ่านไปได้เสมอ
 
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้