กรมสรรพากรขยายเวลาลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก 1 ปี



    กรมสรรพากรชี้แจงขยายเวลาการลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก 1 ปี เป็นการบรรเทาภาระด้านภาษีอากรให้แก่ประชาชน

    ด้วยขณะนี้พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 576) พ.ศ.2557 ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 แล้ว โดยพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นการขยายเวลาการใช้อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบ 7 ขั้น ซึ่งได้มีผลใช้บังคับมาแล้วตั้งแต่ปีภาษี 2556-2557 ต่อไปอีก 1 ปีภาษี คือในปีภาษี 2558 ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558

    กรมสรรพากร ขอชี้แจงเกี่ยวกับการลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาตาม พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว เพื่อให้เป็นที่เข้าใจทั่วกัน โดยกำหนดให้ลดอัตราภาษีเงินได้ ดังนี้
 


    อย่างไรก็ดี สำหรับเงินได้สุทธิหลังจากการคำนวณเงินได้พึงประเมิน หักด้วยค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนแล้ว ในส่วนที่ไม่เกิน 1.5 แสนบาทแรก ยังคงได้รับการยกเว้นภาษีเช่นเดิม ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551

    การขยายเวลาการลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังกล่าว เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบาย ในการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ และค่าครองชีพในปัจจุบัน หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สานักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ RD Call Center โทร. 1161 หรือ www.rd.go.th

ที่มา : กรมสรรพากร

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้