เปิดแนวทางลดข้อจำกัด SMEs เข้าถึงเงินทุนของธนาคารเอกชน




    ข้อจำกัดในการเข้าถึงเงินทุนของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาด้านการเงินที่สำคัญ ซึ่งเป็นผลจากความไม่สมบูรณ์ของตลาดส่งผลให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมถึงครัวเรือนที่มีรายได้ไม่สม่ำเสมอหรือมีรายได้น้อยไม่สามารถเพิ่มกำไรลงทุน หรือการบริโภคได้ตามต้องการ ซึ่งข้อจำกัดนี้จะนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระดับที่ต่ำกว่ำศักยภาพที่แท้จริง

    บทวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ในกรณีของไทยภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ข้อจำกัดของการเข้าถึงสินเชื่อของภาคธุรกิจและครัวเรือนจากธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มผ่อนคลายลง จากปัจจัยหลักคือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยรวมทั้งการปรับปรุงกฎเกณฑ์และการกำกับดูแลสถาบันการเงินไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ และการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของธนาคารพาณิชย์จากภาวะการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ผลักดันให้สถาบันการเงินสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินด้านต่างๆ ที่ผสมผสานกันทั้งด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง ด้านการตลาดและการสื่อสาร ด้านกระบวนการทำงานและเทคโนโลยี และด้านช่องทางการให้บริการ 




    ซึ่งการผ่อนคลายข้อจำกัดดังกล่าวเห็นได้จากปริมาณและราคาสินเชื่อ SMEs มีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น ผลการศึกษาเชิงประจักษ์ยังพบว่า ธุรกิจขนาดเล็กมีต้นทุนการกู้ยืมสูงกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ แต่พัฒนาการในระบบการเงินและผลประกอบการของธุรกิจที่ดีขึ้นได้เอื้อให้ธุรกิจขนาดเล็กมีต้นทุนทางการเงินลดลงได้มากกว่าและโน้มเอียงเข้าใกล้ธุรกิจขนาดใหญ่มากขึ้น

    ในช่วงที่ผ่านมาข้อจำกัดของการเข้าถึงเงินทุนยังผ่อนคลายได้เพียงระดับหนึ่ง เนื่องจากระดับการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์ที่ยังไม่มากพอ ผู้วิจัยจึงเสนอว่าควรกระตุ้นการแข่งขันและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินให้มากขึ้นโดยการเปิดเสรีภาคการเงินเพื่อช่วยลดข้อจำกัดดังกล่าว 



    อย่างไรก็ตาม ภายใต้ภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอาจทำให้ธุรกิจ SMEs เผชิญแรงกดดันทางการแข่งขันและมีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้นทำให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากขึ้น ดังนั้น ทุกภาคส่วนจึงต้องร่วมผลักดันการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยอย่างเร่งด่วน

    ผู้วิจารณ์มีความเห็นว่า ข้อจำกัดในการเข้าถึงเงินทุนอำจตีความได้หลากหลายทั้งแง่ที่ผู้กู้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ หรือเข้าถึงได้ด้วยต้นทุนที่สูง ซึ่งต้นทุนการกู้ยืมในการศึกษานี้อาจไม่สะท้อนถึงข้อจำกัดตามนิยามแรกเนื่องจากการกู้ยืมได้เกิดขึ้นแล้ว ในขณะเดียวกันข้อจำกัดในการเข้ำถึงเงินทุนยังมาจากด้านผู้ให้กู้ซึ่งมีปัญหาด้านแหล่งเงินทุนโดยเฉพาะจากเงินฝากด้วย ทำให้การปล่อยสินเชื่อให้ SMEs และครัวเรือนบางกลุ่มเข้มงวดขึ้น นอกจากนี้ข้อมูลที่ใช้อาจยังไม่ครอบคลุมกลุ่ม SMEs ได้ทั้งหมด และอาจขยายขอบเขตการศึกษาในกลุ่มครัวเรือน และแยกประเภทธุรกิจของผู้ประกอบการ รวมทั้งแหล่งเงินทุนอื่นนอกจากธนาคารพาณิชย์ เช่น Non-bank และ SFIs

ข้อมูล : งานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2557

Create by smethailandclub.com

 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้