ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิงวด 6 เดือน 2562 จำนวน 429.9 ล้านบาท เติบ 19.4% YoY




     อดิศร เสริมชัยวงศ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคาร สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2562 มีกำไรสุทธิจำนวน 429.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 69.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.4 เมื่อเปรียบเทียบผลกำไรสุทธิของงวดเดียวกันปี 2561 สาเหตุหลักเกิดจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการดำเนินงานร้อยละ 1.2 และการลดลงของสำรองหนี้สงสัยจะสูญร้อยละ 31.0 สุทธิกับการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานร้อยละ 16.9 
 
               
     รายได้จากการดำเนินงาน สำหรับงวดหกเดือนปี 2562  มีจำนวน 6,875.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 80.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.2 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2561 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิร้อยละ 3.8 เป็นผลจากการขยายตัวของสินเชื่อและการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินลงทุน    สุทธิกับการลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิจำนวน 40.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.1   รายได้อื่นลดลงจำนวน 77.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.5 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของขาดทุนสุทธิจากหนี้สินทางการเงินที่กำหนดให้แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม
 
               
     ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสำหรับงวดหกเดือนปี 2562 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2561 เพิ่มขึ้นจำนวน 653.3 ล้านบาทหรือร้อยละ 16.9 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานเนื่องจากกลยุทธ์การขยายงานของธนาคารภายใต้โครงการ Fast Forward และการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ซึ่งกำหนดให้จ่ายค่าชดเชยเพิ่มขึ้นสำหรับพนักงานที่เกษียณอายุและมีอายุงานมากกว่าหรือเท่ากับ 20 ปี ประกอบกับขาดทุนจากการขายทรัพย์สินรอการขายเพิ่มขึ้นเป็นผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ต่อรายได้จากการดำเนินงานงวดหกเดือนปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 65.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2561 อยู่ที่ ร้อยละ 57.0
 
               
     อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Net Interest Margin – NIM) สำหรับงวดหกเดือนปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 3.30 ลดลงจากงวดเดียวกันปี 2561อยู่ที่ร้อยละ 3.87 เป็นผลจากต้นทุนเงินฝากที่เพิ่มขึ้น
 
               
      วันที่ 30 มิถุนายน 2562 เงินให้สินเชื่อสุทธิจากรายได้รอตัดบัญชี (รวมเงินให้สินเชื่อซึ่งค้ำประกันโดยธนาคารอื่นและเงินให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงิน) ของกลุ่มธนาคารอยู่ที่ 237.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับเงินให้สินเชื่อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 กลุ่มธนาคารมีเงินฝาก (รวมตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ และผลิตภัณฑ์ทางการเงินบางประเภท) จำนวน 235.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากสิ้นปี 2561 ซึ่งมีจำนวน 234.3 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (the Modified Loan to Deposit Ratio) ของกลุ่มธนาคารเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 100.9 จากร้อยละ 97.2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561
 
               
     สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) อยู่ที่ 10.7 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้น (NPL ratio) อยู่ที่ร้อยละ 4.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 เป็นผลจากความสามารถในการชำระหนี้ลดลงซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากลูกหนี้ภาคธุรกิจและรายย่อย อย่างไรก็ตาม ธนาคารซีไอเอ็มบีไทยยังคงมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อ และนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุมขึ้น ตลอดจนได้มีแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามหนี้ การดำเนินการดูแลและการแก้ไขลูกหนี้ที่ถูกผลกระทบดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
 
               
     อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 อยู่ที่ร้อยละ 106.5  ลดลงจากสิ้นปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 107.0   ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562   เงินสำรองของกลุ่มธนาคารอยู่ที่จำนวน 11.3 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสำรองส่วนเกินจากเงินสำรองขั้นต่ำตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 5.2 พันล้านบาท
 
               
     เงินกองทุนรวมของกลุ่มธนาคาร ณ สิ้นวันที่ 30 มิถุนายน 2562 มีจำนวน 48.4 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงร้อยละ 18.7 โดยเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 13.7



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้