TMB มอบดิจิทัลโซลูชั่น! จัดการ 3 ปัญหาที่ SME ต้องเผชิญ



Main Idea


 
  • รู้หรือไม่ โลกธุรกิจยุคใหม่เป็นยุคที่  SME ได้เปรียบ ทั้งเรื่องของการขยับตัวไวกว่า เปลี่ยนแปลงเร็วกว่า เข้าถึงลูกค้าได้รวดเร็วมากขึ้น เราจึงมักเห็น SME ชกข้ามรุ่นและชนะน็อกองค์กรใหญ่ได้หลายครั้ง
 
  • แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ทำให้ SME ไม่สามารถคว้าโอกาสได้ทัน นั่นคือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและทรัพยากรที่ไม่พร้อม เพราะโอกาสก็เหมือนไอศกรีมถ้าคว้าไม่ทัน ไอศกรีมก็พร้อมจะละลายหายไปได้ทุกเมื่อ 
 
  • ทีเอ็มบีจึงได้ทำการวิจัยและในที่สุดก็พบว่าธุรกิจ SME มี 3 โรคหลักที่ต้องเจอนั่นคือ โรคธุรกรรมยุ่งเหยิง โรคพนักงานไม่รักและโรคพลาดโอกาส ทีเอ็มบี จึงพยายามมากว่าเพื่อให้ SME ได้มากกว่า จนเกิดเป็น 3 ดิจิทัลโซลูชั่นที่ช่วยให้ SME มีสุขภาพดีและเติบโตแบบสตรอง!




     หากเปรียบโลกธุรกิจเป็นเหมือนสังเวียนมวย SME ก็คงเป็นนักมวยรุ่นเล็กที่คล่องแคล่วว่องไว มีหมัดมวยที่สร้างความหวือหวาให้ผู้ชมได้ไม่น้อย ส่วนองค์กรขนาดใหญ่คือแชมป์รุ่นยักษ์ที่ดูได้เปรียบนักมวยหน้าใหม่ทั้งประสบการณ์ชกและทรัพยากรที่พร้อมมากกว่า ทว่าในสังเวียนธุรกิจยุคใหม่นั้น ยักษ์เล็กไม่ได้เป็นมวยรองอีกต่อไป และการชกข้ามรุ่นก็มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง





     โดย 
ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย (ทีเอ็มบี) ได้พูดถึงโอกาสของผู้ประกอบการ SME ในตอนนี้ว่า ธุรกิจรายเล็กสามารถคว้าโอกาสได้ไวกว่าองค์กรขนาดใหญ่ อีกทั้งยังขยับตัวได้เร็วกว่าในยุค Disruption ที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งแรงและเร็วอย่างวันนี้


     “ท่ามกลางยุค Disruption คือโอกาสของ SME คนยุคนี้ซื้อของออนไลน์ ธุรกิจไม่ต้องมีหน้าร้านเพื่อขายของอีกต่อไป ธุรกิจรายเล็กก็สามารถชนะน็อกคู่ต่อสู้รายใหญ่ได้ เพียงแต่ SME ต้องพยายามอย่างหนักเพราะพวกเขาต้องเจออุปสรรคเดียวกันกับองค์กรใหญ่ ขณะที่องค์กรใหญ่มีทรัพยากรพร้อมกว่า”





     หลายธุรกิจยังติดกับดักเพราะเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน มีทรัพยากรไม่พร้อม ดังนั้นธนาคารจึงกลายเป็นตัวแปรสำคัญในการเสริมแกร่งให้ SME เติบโตได้ในยุค Disruption    



 
  • เผย 3 โรคหลักที่ทำให้ SME ต้องหยุดชะงัก




     ชมภูนุช ปฐมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบี ได้กล่าวถึงธุรกิจ SME ว่าเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีกทั้งยังเจอกับความท้าทายมากมาย หากปรับตัวได้เร็ววิกฤตินั้นก็จะเปลี่ยนเป็นโอกาส แต่ทว่าหากไม่ทันจะกลายเป็นอุปสรรคให้ SME ต้องล้มพ่ายได้  ซึ่งจากรายงานพบว่ามี SME กว่า 50% ที่ไปต่อไม่ได้ในปีแรก ส่วนอีก 10%ก็แพ้พ่ายในปีที่สอง


     “ในฐานะที่เราเป็นแบงก์ เราจะช่วย SME อย่างไรได้บ้าง เมื่อทีเอ็มบีตั้งคำถามและศึกษาเชิงลึกทำงานร่วมกันอย่างพิถีพิถัน จนในที่สุดเราก็พบคำตอบว่า SME มีอยู่ 3 โรคหลักที่ต้องพบเจอ”





1.โรคธุรกรรมยุ่งเหยิง

     
พฤติกรรมการรับจ่ายเงินหลายช่องทางอาจทำให้ SME สับสน สถิติที่น่าสนใจคือผู้ประกอบการเสียเวลาไปกับการนั่งดู Statement ใน 1 ปีถึง 26 วัน นอกจากนี้การทำบัญชีของ SME มีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย และยังบริหารสภาพคล่องทางการเงินได้ยากอีกด้วย


2.โรคพนักงานไม่รัก

     
หลายองค์กรต้องเผชิญกับการที่พนักงานเข้าออกบ่อย หากขาดคนเก่งๆ ไปก็อาจทำให้องค์กรเกิดการสะดุดได้ ทว่าด้วยข้อจำกัดของการเป็นองค์กรขนาดเล็ก จึงยากที่จะมอบสวัสดิการต่างๆ ให้เทียบเท่าองค์กรขนาดใหญ่ เช่น การทำประกันสุขภาพแบบกลุ่ม ด้วยจำนวนพนักงานที่น้อยเกิน ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้


3.โรคพลาดโอกาส
     
     
ความฝันของ SME นั้นยิ่งใหญ่ แต่โอกาสที่คว้าไม่ทันก็เปรียบเสมือนไอศกรีมที่ละลายหายไปและพบว่าตามสถิติ มี SME แค่ 20% ที่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ อีกทั้งยังต้องใช้เวลานานในการรวบรวมเอกสารจำนวนมากเพื่อขอสินเชื่อ ซึ่งเวลาที่นานเกินไปส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายคนต้องพลาดโอกาสดีๆ ในการทำธุรกิจไปด้วย
 


 
  • TMB เสนอ 3 โซลูชั่นเพื่อช่วยให้ SME มีสุขภาพดีและเติบโตแบบสตรอง!



     ทีเอ็มบีพยายามมากว่าเพื่อให้ SME ได้มากกว่า จนเกิดเป็น 3 ดิจิทัลโซลูชั่น ‘พร้อมพงษ์ พัฒนธีระเดช’ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารผลิตภัณฑ์และ Portfolio ธุรกิจเอสเอ็มอี ทีเอ็มบี เผย 3 โซลูชั่นดังกล่าวที่จะเข้ามาเสริมแกร่งให้ธุรกิจให้โตขึ้นแบบสตรอง
 
 
  • โรคธุรกรรมยุ่งเหยิงแก้ด้วย TMB SME Smart Report
     จากการที่ SME ต้องปวดหัวจากการทำบัญชี มีการกระทบยอดที่ต้องเจอ ธนาคารส่วนใหญ่อาจมอบให้ได้แค่ Statement และรายการเดินบัญชีที่ต้องใช้เวลานานในการทำความเข้าใจ ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย ทีเอ็มบีจึงมุ่งเน้นการมอบประสบการณ์ใหม่ ให้ SME ได้มากกว่าด้วย TMB SME Smart Report เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการจัดการข้อมูลและธุรกรรมแบบเข้าใจง่ายด้วยกราฟฟิกที่สวยงาม ลดความยุ่งเหยิง ลดงาน Manual ลด Error เห็นทิศทางเงินเข้า เงินออก สามารถคาดการณ์สภาพคล่องทางธุรกิจได้แบบ Real Time มีการแจ้งเตือนรับจ่ายล่วงหน้า แก้ปัญหาเรื่องเงินขาดมือได้อย่างจริงจัง
   
 
  • โรคพนักงานไม่รักแก้ด้วยสวัสดิการสุขภาพ TMB SME Smart Care
     ผู้ประกอบการหลายคนอยากให้พนักงานทำงานด้วย Passion อยากดูแลพนักงานให้ดี แต่เรื่องสวัสดิการบางทีก็มีข้อจำกัด ทีเอ็มบีจึงมอบประสบการณ์ใหม่ด้วยสวัสดิการเพื่อสุขภาพที่ตอบโจทย์องค์กรขนาดเล็ก สามารถซื้อโปรแกรมสวัสดิการสุขภาพเพื่อพนักงานได้ โดยมีขั้นต่ำแค่เพียง 5 คนก็ซื้อได้ เริ่มต้น 300 กว่าบาทต่อเดือน/คน โดยสามารถแบ่งจ่ายรายเดือนได้ เพื่อความคล่องตัว อีกทั้งครอบคลุมทั้งผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ
 
 
  • โรคพลาดโอกาสสินเชื่อแก้ด้วยข้อมูลธุรกรรมที่สามารถแปลงเป็นหลักประกัน
     ไม่ใช่ SME ทุกคนจะมีหลักประกันในการขอสินเชื่ออีกทั้งในการขอสินเชื่อแต่ละทียังต้องใช้เวลารวบรวมเอกสารเป็นเวลานาน ทีเอ็มบีจึงมอบประสบการณ์ใหม่ในการขอสินเชื่อให้ SME สามารถใช้ข้อมูลธุรกรรมการเงินของบัญชีธุรกิจ TMB SME One Bank เป็นหลักประกันขอสินเชื่อ เพื่อให้ SME เข้าถึงโอกาสสินเชื่อง่ายขึ้น ผ่าน TMB BIZ TOUCH แอป เพียงแค่ใช้ทีเอ็มบีเป็นธนาคารหลักในการเดินบัญชีธุรกิจ ช่วยให้คว้าทุกโอกาสทางธุรกิจได้ทันเวลา ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของ SME ที่มีโอกาสเข้ามาและต้องคว้าไว้ให้ทัน

 



     การเป็น SME นั้นไม่ง่าย ต้องเจอหลายอุปสรรคที่อาจทำให้ธุรกิจไปต่อไม่ได้ ธนาคารจึงเป็นเหมือนพันธมิตรที่คอยผลักดันให้ SME ไปได้ไกลถึงฝันและ ทีเอ็มบี คือหนึ่งในธนาคารที่เดินหน้าหาโซลูชั่นใหม่ๆ มอบให้ SME ภายใต้แนวคิด Make THE Difference ที่อยากสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ SME มีชีวิตที่ดีขึ้นและสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ SME เติบโตได้มากกว่า Get MORE with TMB



     ผู้ประกอบการคนไหนสนใจ 3 โซลูชั่นดังกล่าวติดต่อได้ที่ TMB ทุกสาขาทั่วประเทศ, โทรศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ TMB SME 02-828-2828 หรือสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม คลิก





www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้