อยู่ดีๆ ตกงาน ควรใช้บัตรเครดิตต่อหรือไม่?

 


 

เรื่อง : MoneyGuru

    หากวันหนึ่ง คุณพบว่าคุณต้องตกงาน และคุณยังไม่มีงานใหม่ คุณอาจเกิดคำถามกับตัวเองว่า ปกติเป็นคนที่ใช้บัตรเครดิตตลอด พอตกงาน ขาดรายได้ ยังควรใช้ต่อไปหรือไม่ แล้วถ้ามีหนี้บัตรเครดิตอยู่ด้วยแล้วล่ะ จะทำอย่างไรกับชีวิตการเงินของคุณดี  วันนี้ MoneyGuru อยากให้คุณใจเย็นๆ เพราะทุกปัญหาการเงินมีทางแก้ วันนี้เราจึงเอาคำตอบของสถานการณ์นี้มาฝากกัน

หากยังมีหนี้อยู่ ทำอย่างไรกับหนี้สินดี?

     วิธีจัดการเบื้องต้นนั้น ก็ไม่ต่างอะไรมากนักกับเวลาที่บรรดาธุรกิจที่ประสบกับภาวะหนี้สิน นั่นก็คือการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งพูดง่ายๆ ก็คือการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการชำระหนี้ในช่วงระยะเวลานั้นๆ นั่นเอง 

    เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่คุณต้องทำเลยคือ อย่าหนีหนี้ ยกหูโทรศัพท์หาธนาคารเจ้าของบัตร เล่าสถานการณ์ให้ฟัง และดูว่าธนาคารสามารถช่วยอะไรเราได้บ้างหรือไม่ 

    ต่อมา ที่ควรทำคือ การชำระหนี้อย่างน้อย จ่ายขั้นต่ำ สำหรับหนี้ทุกก้อนที่คุณมี โดยเริ่มจากหนี้สินที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก่อน ทั้งค่ารถ ค่าบ้าน เพราะหากคุณไม่ยอมจ่ายหลายๆเดือน คุณอาจจะถูกยึดหลักทรัพย์เหล่านั้นไป 

    ต่อมาคือ หนี้สินที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ได้แก่ บัตรเครดิต ซึ่งก็เหมือนกับหนี้สินประเภทอื่นๆ คือ พยายามจ่ายขั้นต่ำของทุกบัตรที่คุณมีอยู่ ลองคุยกับธนาคารว่าสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้หรือไม่ แล้วยิ่งหากคุยมีประวัติเครดิตที่ดีมาตลอด ถือว่าคุณเป็นลูกหนี้ชั้นดี คุณจะยังมีภาษีพอที่จะต่อรองธนาคารได้ 

    ซึ่งส่วนมากนั้น หากคุณซื้อสัตย์กับธนาคารจริง ธนาคารจะเข้าใจและพร้อมที่จะช่วยเหลือ ดีกว่าคุณไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ กลายเป็นบุคคลล้มละลาย หนี้ของคุณจะกลายเป็นหนี้สูญทันที และธนาคารจะไม่ได้ประโยชน์อะไร หรืออีกกรณีหนึ่งคือ คุณบอกกับธนาคารว่า คุณจะทำการโอนยอดหนี้ไปบัตรอื่น ธนาคารอื่น ก็อาจจะเป็นการช่วยเพิ่มน้ำหนักในการเจรจาอีกทางหนึ่ง

เป็นคนปลอดหนี้ ควรใช้บัตรเครดิตต่อไปหรือไม่?

    หากคุณเป็นคนกลุ่มนี้ อาจจะน่าโล่งใจกว่าคนกลุ่มแรก เพราะคุณไม่มีหนี้สินต้องพะวง เพียงแค่ต้องหารายได้มาจุนเจือค่าใช้จ่ายรายวัน และรายเดือนในช่วงเวลาที่คุณยังหางานไม่ได้ และยังต้องใช้เงินเก็บสำรองกรณีฉุกเฉิน ที่คุณเก็บสะสมไว้ก่อนหน้านี้

     แต่กระนั้น คุณก็คงไม่สามารถมองเห็นอนาคตได้ว่าคุณจะได้งานเมื่อไหร่ เพราะฉะนั้น การใช้เงินในช่วงนี้ของคุณต้องใช้อย่างระมัดระวังมากที่สุด ดังนั้น การใช้บัตรเครดิต อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีอยู่ไม่น้อย เพียงแต่ว่า คุณต้องคุยเจรจากับทางธนาคาร หรือ เลือกบัตรเครดิตที่อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดเท่าที่คุณจะหาได้ เพื่อที่คุณสามารถใช้จ่ายในช่วงสองถึงสามเดือนที่คุณหางานทำอยู่ โดยที่คุณไม่ต้องเสียดอกเบี้ยมากจนเกินไป 

ตัดลดงบประมาณจนกว่าจะได้งานใหม่

    ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม คุณก็หลีกเลี่ยงข้อนี้ไม่ได้ คือ คุณต้องประหยัด! คุณจะไม่สามารถมีไลฟ์สไตล์เดิมก่อนที่คุณจะตกงานได้ไปซักพัก ก่อนที่จะได้งานใหม่ เพราะตอนนี้คุณกำลังใช้ชีวิตอยู่ด้วยกองทุนฉุกเฉินที่ไม่มากมายเท่าไหร่นัก (แล้วแต่ว่าก่อนหน้านี้คุณอมเงินไว้มากแค่ไหน) ถึงจะมากก็ไม่ควรใช้จ่ายมากอยู่ดี ควรที่จะใช้ให้ประหยัดที่สุด ซึ่งในส่วนของค่าใช้จ่ายที่คุณไม่สามารถตัดออกได้ ก็ควรใช้บัตรเครดิตในการจ่าย เพราะอย่างน้อยคุณยังสามารถสร้างเครดิตของคุณได้ต่อไป แต่อย่าลืมล่ะ ต้องมีเงินพอที่จะชำระบิลบัตรเครดิตด้วยนะ มิฉะนั้น คะแนนเครดิตสกอร์ของคุณย่ำแย่แน่นอน 

    หากมีข้อสงสัยด้านการเงิน หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงิน MoneyGuru อยู่เคียงข้างคุณเสมอที่ www.moneyguru.co.th หรือ info@moneyguru.co.th 

Create by smethailandclub.com


 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้