​7 หลุมพราง ฉุดธุรกิจไปไม่ถึงฝัน SME รู้ก่อน...จะได้ไม่พลาด!





 
               
     กว่าที่ธุรกิจหนึ่งจะเดินทางจากจุดเริ่มต้น ผ่านอุปสรรคนับไม่ถ้วน จนไปถึงเส้นชัยที่ใครๆ ต่างเรียกว่าความสำเร็จนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่ผู้ประกอบการทุกคนจะสามารถทำได้ เพราะระหว่างการเดินทางไปถึงความสำเร็จ มักมีสิ่งที่เรียกว่า “หลุมพราง” คอยเป็นกับดักที่จะฉุดรั้งธุรกิจให้สะดุด หรือไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้


     ทั้งนี้ หากดูจากวงจรชีวิตของธุรกิจ SME (SME Business Lifecycle) จะมีอยู่ 3 ช่วงด้วยกัน คือ 1. Startup ช่วงเริ่มต้น เน้นไอเดีย เป้าหมายและเงินลงทุน 2. Growth & Mature ช่วงกำลังเติบโต จนถึง ช่วงที่เติบโต เน้นการบริหารกำไรและหาลูกค้าใหม่ๆ เพื่อต่อยอด   และ ช่วงที่3. คือ ช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ช่วงนี้ เป็นช่วงที่ต้องเปิดรับและบริหารการเปลี่ยนแปลง    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น กลับพบว่ามีธุรกิจ SME กว่าครึ่งไม่สามารถก้าวผ่านปีแรกไปได้
 

เพราะอะไร ธุรกิจ SME 50% ถึงไปต่อไม่ได้?
               

     จากการสำรวจล่าสุดของ TMB SME Insights โดยการเปิดเผยของ ชมภูนุช  ปฐมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบี ระบุว่า หลุมพราง คือ สิ่งที่ทำให้ธุรกิจไม่สามารถไปถึงฝันไป และพบว่ามีอยู่ 7 หลุมพรางที่ SME ส่วนใหญ่มักพลาดพลั้งตกลงไป และหากว่าผู้ประกอบการนั้นๆ ไม่มี Solution ในการแก้ปัญหาที่ดีพออาจทำให้ธุรกิจต้องออกจากตลาดก่อนเวลาอันควร
 
 
 
  
หลุมพรางที่ 1 ใช้เงินทุนโดยไม่วางแผน


     ในช่วงเวลาที่ธุรกิจกำลังเริ่มต้น เงินทุน คือเรื่องที่สำคัญ แต่ผู้ประกอบการหลายคนไม่ได้มีการวางแผนการใช้เงินทุนอย่างถี่ถ้วน แต่กลับทุ่มเงินเก็บที่มีทั้งชีวิตมาลงทุน สำหรับการลงทุนในการเริ่มต้นธุรกิจ พบว่าSME 84% ใช้เงินเก็บส่วนตัวในการลงทุน (อาจเป็นเงินที่เก็บมาทั้งชีวิต) 20% ระดมทุนจากเครือญาติ เพื่อนฝูงและกรรมการ 39% เงินกู้สำหรับธุรกิจ และ 27% เงินกู้อเนกประสงค์/บัตรเครดิต (ดอกเบี้ยแพง) ซึ่งทำให้ SME ต้องแบกรับกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินความคุ้มค่าระหว่างดอกเบี้ยกับกำไรของธุรกิจ


Solution: ทางออกจากหลุมพราง


     SME อาจเริ่มทำจากเล็กก่อนแล้วค่อยขยายเพิ่มขึ้น เพื่อจะได้ไม่ต้องลงทุนก้อนใหญ่ในครั้งเดียว เพราะถ้าหากล้มเหลวจะได้ไม่เจ็บตัวมากและลุกขึ้นได้เร็วกว่า นอกจากนี้ ควรใช้เงินทุนให้เหมาะสม รู้วัตถุประสงค์ของการใช้เงินทุน ควรสำรองเงินเก็บไว้ใช้อย่างน้อย 6 เดือน เพราะ 6 เดือนแรกคือช่วงชี้เป็นชี้ตายของธุรกิจ หากต้องใช้เงินกู้ ควรใช้สินเชื่อให้ถูกประเภท เช่น เงินทุนหมุนเวียน ควรใช้สินเชื่อระยะสั้น ส่วนเงินทุนที่ต้องใช้ก้อนใหญ่ เช่น ซื้อเครื่องจักร ควรใช้สินเชื่อระยะยาวที่ดอกเบี้ยต่ำกว่า นอกจากนี้ SME ควรเดินบัญชีอย่างมีวินัยต่อเนื่องด้วย
 

หลุมพรางที่ 2 ทำธุรกิจแบบไร้ Business Plan
               

     มีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่ตกหลุมพรางข้อนี้ ด้วยการทำธุรกิจโดยไม่มีแผนธุรกิจรองรับ อาจเป็นเพราะคิดว่าการทำแผนธุรกิจเป็นเรื่องยุ่งยาก เสียเวลา ดังนั้นเมื่อลงมือทำธุรกิจแบบไร้แผนการใดๆ สุดท้ายต้องเจอปัญหาหน้างาน ทำให้ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันสำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า


Solution: ทางออกจากหลุมพราง


     เริ่มทำแผนธุรกิจ โดยให้ตั้งต้นจากเป้าหมาย > ต่อยอด/สร้างใหม่ > ตลาดและคู่แข่ง > วิธีทำ > กำลังการผลิต > ประเภทคน > เงิน > เวลา และหากใครที่ยังคิดว่ายาก ปัจจุบันมีหลายๆ เครื่องมือที่ช่วยในการทำแผนธุรกิจ เช่น แอพพลิเคชั่นที่ให้กรอกไอเดีย ข้อมูลต่างๆ จากนั้นก็ออกมาเป็น Business Plan ให้เลย นอกจากนี้ ยังมีคอร์สออนไลน์ต่างๆ ทั้งจาก Google, Facebook และ Youtube ให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้ได้ด้วย
 
  


หลุมพรางที่ 3 ไม่แยกกระเป๋าธุรกิจกับกระเป๋าส่วนตัว


     หลายคนได้เงินจากการทำธุรกิจ แต่กลับนำไปใช้จ่ายในครอบครัว ใช้ไปกับเรื่องส่วนตัว ทั้งที่ความจริงแล้วกระเป๋าเงินของธุรกิจไม่ควรนำมาใช้รวมกับกระเป๋าส่วนตัว นี่คือหลุมพรางใหญ่ของ SME ที่จะทำให้ผู้ประกอบการไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วธุรกิจมีกำไรหรือไม่ ข้อดีของการแยกกระเป๋าธุรกิจออกจากกระเป๋าส่วนตัว คือทำให้ผู้ประกอบการมีความน่าเชื่อถือเวลาขอเงินกู้กับธนาคาร รวมทั้งทำให้วางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้ว่ามีรายรับ รายจ่าย และกำไรเท่าไหร่ โดย 67% ของ SME เคยทำพฤติกรรมใช้เงินธุรกิจกับเงินส่วนตัวปนกัน เช่น 30% แยกเงินส่วนตัวกับธุรกิจไม่ขาดและ 29% ไม่เคยตั้งเงินเดือนให้ตัวเอง


Solution: ทางออกจากหลุมพราง


     แยกกระเป๋าเงินธุรกิจกับกระเป๋าเงินส่วนตัวให้ชัดเจนตั้งแต่วันนี้ และอย่าลืมตั้งเงินเดือนให้กับตัวเองเพื่อจะได้มีรายได้ใช้จ่ายในครอบครัว นอกจากนี้ควรทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างมีวินัยและสม่ำเสมอ หากคุณเป็นผู้ประกอบการที่ไม่ถนัดงานด้านบัญชี ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะปัจจุบันมีตัวช่วยมากมายที่จะทำให้คุณทำบัญชีได้ง่ายดายยิ่งขึ้น แม้จะไม่มีความรู้ด้านบัญชีเลยก็ตาม
 
 
 

หลุมพรางที่ 4 ยอดขายดีแต่ไม่มีกำไร
               

     หลายธุรกิจเจอปัญหานี้ คือ ยอดขายสูง ขายดี แต่ท้ายที่สุดกลับไม่มีกำไร หรือบางรายขาดทุนด้วยซ้ำ โดย 37% ของ SME ไทยเคยทำพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการขาดทุน   14% ลดราคาโดยไม่ดูต้นทุน 9% คิดแค่ว่าขายของให้ราคาสูงกว่าวัตถุดิบก็กำไรแล้ว และ 14% ไม่ใส่เงินเดือนตัวเองลงไปในต้นทุนสินค้า นอกจากนี้ ผู้ประกอบการหลายคนยังไม่รู้ต้นทุนที่แท้จริง โดยต้นทุนสามารถแบ่งออกเป็น ต้นทุนทางตรง เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าเครื่องจักร ค่าจ้างพนักงาน ค่าแพ็กเกจจิ้ง และต้นทุนทางอ้อม เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าสำนักงาน ค่าเสื่อมเครื่องจักร ค่ากระเช้าของขวัญลูกค้า เมื่อรวมกันทั้งหมดจึงกลายเป็นต้นทุนที่แท้จริง


Solution: ทางออกจากหลุมพราง


     หากยอดขายสูง ดูว่าขายดี แต่ไม่มีกำไร กรณีนี้ต้องหันกลับมาดูต้นทุนที่แท้จริงว่าคืออะไร ผู้ประกอบการหลายคนดูแต่ต้นทุนทางตรง แต่กลับไม่ได้ดูต้นทุนทางอ้อมเลย จึงทำให้คิดราคาต้นทุนที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้กำไรไม่มี และเมื่อดูต้นทุนที่แท้จริงทั้งหมดแล้ว ยังมีกำไรที่ต่ำอยู่ก็ต้องหันมาดูอีกว่า ต้นทุนส่วนไหนที่ควรจะตัดทิ้งได้บ้าง
 

หลุมพรางที่ 5 ทุ่มกับ Operation แต่ไม่มีเวลาทำตลาด


     กระบวนการทำงานหลักของ SME มี 4 กระบวนการ คือ กระบวนการผลิต งานสำนักงาน การขายและการตลาด แต่หลายธุรกิจกลับทำทุกกระบวนการยกเว้นการทำตลาด จึงทำให้แพ้คู่แข่ง โดย SME 87% บอกว่าไม่มีเวลาให้กับการตลาด ทำให้พลาดในการสร้างจุดเด่นหรือสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง และการวิจัยยังบอกด้วยว่า ใน SME100%  พบว่า  63% ของ SMEใช้ไปกับกระบวนการผลิต รองลงมาคือ 43% ใช้เวลาไปกับงานสำนักงาน ขณะที่ 30% ใช้ไปกับการขาย และสุดท้าย 13% ของ SMEเท่านั้นที่มีเวลาให้กับการตลาด


Solution: ทางออกจากหลุมพราง


     ต้องรู้ก่อนว่าธุรกิจใช้เวลาไปกับงานไหนมากสุดและมองหาเครื่องทุ่นแรงให้กับงานนั้นๆ เช่น ระบบที่ช่วยควบคุมการผลิต เพื่อจะได้มีเวลาเพิ่มสำหรับการหาความรู้ในการทำการตลาด เช่น จากออนไลน์ งานสัมมนาต่างๆ เป็นต้น
 
 
หลุมพรางที่ 6 One man show on stand-in
               

     กว่า 70% ของ SME ไทยยังไม่สามารถหาตัวตายตัวแทนที่ตัดสินใจแทนได้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์    49% บอกว่าธุรกิจอาจสะดุดบ้างไม่มากก็น้อย หากตัวเจ้าของธุรกิจไม่อยู่นานๆ และ 30% ของ SME ใช้เวลาไปกับการขายสินค้าและพบปะลูกค้าด้วยตัวเอง  หากเขาไม่อยู่นานๆ จะส่งผลโดยตรงกับยอดขาย และ ฐานลูกค้าทันที    จะเห็นได้ว่า การที่ผู้ประกอบการทำทุกอย่างด้วยตัวเอง แม้จะเป็นเรื่องที่ดี แต่นี่คือหลุมพรางดักความสำเร็จไว้ เพราะในระยะยาว อาจทำให้ธุรกิจไม่สามารถเติบโตได้


Solution: ทางออกจากหลุมพราง


     ต้องมีการสร้างทีม ด้วยการเลือกคนที่เหมาะกับงานนั้นๆ มารับผิดชอบ โดยผู้ประกอบการต้องให้โอกาสทีมได้ทดลองทำ รวมถึงมองหาเครื่องทุ่นแรงและวางแผนในการพัฒนา นอกจากนี้ ในยุคที่ AI เริ่มเข้ามาทำงานแทนมนุษย์มากขึ้น อาจใช้โอกาสนี้ในการใช้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาทำงานแทนในส่วนที่ทำได้
 

หลุมพรางที่ 7 ไม่พร้อมรับสิ่งใหม่
               

     เมื่อถึงจุดหนึ่ง ทุกคนต้องเจอกับความเปลี่ยนแปลง ถ้าหากปรับตัวไม่ทันอาจจะต้องแพ้พ่าย โดยหลุมพรางที่ 7 คือการไม่พร้อมรับสิ่งใหม่ ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง แม้ผลวิจัยจะพบว่า SME ส่วนใหญ่ 62% มีการมองหาสิ่งใหม่มาพัฒนาธุรกิจเสมอ แต่อีก 38% กลับยังไม่พร้อมรับสิ่งใหม่ 19% บอกว่ากลัวการเริ่มต้นใหม่จะมีปัญหา 14% ไม่เปิดรับ ไม่ว่างหาข้อมูล 5% มองว่าแค่ที่ทำก็ดีอยู่แล้ว


Solution: ทางออกจากหลุมพราง


     ลองพาตัวเองไปเปิดหูเปิดตา เดินทางแฟร์ หรือ Flea Market ต่างๆ เพื่อดูว่าเทรนด์ตลาดตอนนี้เป็นอย่างไร มีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้น หรือมองหาที่ปรึกษาทางธุรกิจ ซึ่งมีหลายองค์กรและหลายหน่วยงาน ช่วยทำหน้าที่ให้คำปรึกษาได้ หรือจะเป็นการจับมือกับคนที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกันเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ร่วมกัน เป็นต้น
 

     จะเห็นได้ว่า มีหลุมพรางมากมายที่อยู่ระหว่างทางในการทำธุรกิจของ SME ด้วยเหตุนี้เอง TMB ซึ่งให้ความสำคัญในการทำความเข้าใจและตอบโจทย์ลูกค้า เพื่อที่จะได้นำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตรงความต้องการมากที่สุด ซึ่งการทำวิจัยอย่าง TMB SME Insights ถือเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้เข้าใจพฤติกรรมของผู้ประกอบ SME ได้อย่างลึกซึ้ง เพื่อเป็นแนวทางในการให้คำปรึกษา และสนับสนุนให้ลูกค้า SME สามารถเติบโต “ได้มากกว่า” (Get MORE with TMB) อย่างยั่งยืน


     ดังนั้น หาก SME ไม่อยากตกหลุมพรางเหล่านี้ได้ง่ายๆ ลองใช้แนวทางที่ TMB นำเสนอให้นี้ ไปใช้ช่วยสร้างความแตกต่าง – Make THE Difference ให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างยั่งยืน และก้าวไปถึงฝั่งฝันได้ในที่สุด


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้