กู้สินเชื่อที่พักอาศัย ผ่านไม่ผ่าน ดูที่อะไร?

 




เรื่อง : MoneyGuru

     คุณกำลังคิดจะยื่นขออนุมัติสินเชื่อบ้านหรือไม่? หากใช่ คุณควรอ่านบทความนี้ เพราะข้อมูลที่เรานำเสนอจำเป็นอย่างมากในการที่สินเชื่อของคุณจะได้รับการอนุมัติ ซึ่งหากทราบถึงหลักเกณฑ์คุณก็สามารถคาดเดาได้ไม่ยากเลยว่าสินเชื่อของตนจะได้รับการอนุมัติหรือไม่ จะได้ไม่ต้องนั่งลุ้นรอผลจากทางธนาคาร หรือหากมั่นใจว่าจะได้รับการปฏิเสธก็จะได้ไม่ส่งคำขออนุมัติให้เสียเวลา และเรายังปิดท้ายด้วยเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการกู้ร่วมมาฝากอีกด้วย

หลักเกณฑ์การพิจารณามีดังต่อไปนี้:

1. ความสามารถในการชำระหนี้ของคุณมีแค่ไหน
    ธนาคารผู้ให้สินเชื่อจะพิจารณาจากรายได้ ในกรณีที่มีผู้กู้ร่วม ก็จะนำรายได้ของผู้กู้ร่วมมาคำนวณด้วย และส่วนมากจะให้กู้เป็นวงเงินสูงสุดประมาณ 30 – 40เท่าของรายได้ ซึ่งแล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละธนาคาร ทั้งนี้ทั้งนั้นธนาคารจะนำอาชีพของผู้กู้มาประกอบการตัดสินใจ ซึ่งถ้าเป็นอาชีพที่มั่นคงก็อาจได้รับการอนุมัติวงเงินสูงกว่า และยังพิจารณาไปถึงหนี้สินต่อรายได้ต่อเดือนของคุณ ซึ่งปกติแล้วทางธนาคารอาจไม่อนุมัติหากอัตราหนี้สินต่อรายได้ปัจจุบันของคุณเกิน40%

2. ความเหมาะสมของหลักประกัน
    มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่คุณต้องการซื้อส่งผลต่อการอนุมัติของธนาคาร หากเป็นอาคารที่มีมูลค่าทางตลาดสูง ตั้งอยู่ในทำเลดี และหากทำประกันให้อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวก็อาจเพิ่มโอกาสการได้รับอนุมัติสินเชื่อเช่นกัน

3. คุณสมบัติของผู้กู้
    อายุและประวัติส่วนตัวของคุณก็มักถูกใช้ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ ตั้งแต่อาชีพไปถึงอายุ ซึ่งอายุของคุณเมื่อครบเวลาผ่อนชำระต้องไม่เกิน70ปี รวมไปถึงเครดิตสกอร์จากเครดิตบูโร ถ้าอยู่ในระดับที่ดีโอกาสที่จะได้รับการพิจารณาก็สูงขึ้นไปอีก

 


เกร็ดความรู้หากจะกู้ร่วม!

     คุณรู้หรือไม่ ในกรณีที่อีกฝ่ายหนีหนี้หรือไม่จ่าย คนที่เป็นผู้กู้ร่วมจำต้องรับผิดชอบหนี้สินดังกล่าวเต็มจำนวน ฉะนั้นก่อนที่คุณจะตกลงกู้ร่วมกันใคร มั่นใจเสียก่อนว่าคุณไตร่ตรองมาดีแล้ว บางทีหากคนที่มาขอให้คุณเป็นผู้กู้ร่วมอาจเป็นครอบครัว ซึ่งการปฏิเสธก็ยาก เพราะฉะนั้นคุณควรศึกษาสถานะทางการเงินของอีกฝ่ายให้ดีเสียก่อน
สิ่งที่คุณต้องถามตนเองคือ:

1. อีกฝ่ายไว้ใจได้แค่ไหน
    ลองถามตนเองอย่างจริงจังว่าคุณไว้ใจผู้กู้แค่ไหน เขาเป็นคนแบบไหน อย่ากลัวการเสียเพื่อนเพราะหากเกิดอะไรขึ้น เงินที่คุณต้องรับผิดชอบอาจสูงจนกระทั่งคุณลำบาก อีกทั้งการตามทวงหนี้หรือการตามทวงเงินจากผู้กู้นั้นไม่ใช่เรื่องสนุก

2. ลิมิตของคุณมีเท่าไหร่
    หากคุณตัดสินใจจะเซ็นเป็นผู้กู้ร่วม ในเมื่อคุณต้องแบกรับความเสี่ยงในกรณีที่อีกฝ่ายไม่จ่ายหนี้ คุณก็ควรมีสิทธิ์กำหนดลิมิตจำนวนหนี้สินที่คุณต้องจ่ายในกรณีที่อีกฝ่ายหนีหนี้ และอย่าลืมเก็บเอสารหลักฐานทุกอย่างเอาไว้ในกรณีที่คุณต้องใช้ในภายหลังหากเกิดอะไรขึ้น

    การกู้ร่วมไม่ใช่เรื่องแย่ แต่คุณต้องกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้การช่วยเหลือผู้อื่นทำให้ตัวคุณเองเดือดร้อนและคุณไม่รู้หรอกว่าเมื่อไหร่คุณจะต้องการความช่วยเหลือบ้าง

    ทีมงาน MoneyGuru พร้อมเสมอที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับสินเชื่อบ้านของคุณ หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อเราได้ที่ info@moneyguru.co.th หรือ www.moneyguru.co.th

create by smethailandclub.com
                                             

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้