“Perfect Credit Score” จำเป็นมั้ย?

 

เรื่อง : MoneyGuru

     หลายคนคงเข้าใจว่า การมีเครดิตสกอร์สูงๆ เป็นเรื่องที่ดี ยิ่งมีมากยิ่ง เพราะจะส่งผลต่อความยากง่ายในการขอเงินกู้ในรูปแบบต่างๆ หรือการสมัครบัตรเครดิตที่คุณต้องการในอนาคต หลายคนจึงมุ่งเน้นที่จะมีสิ่งที่เรียกว่า "Perfect Credit Score” หรือเครดิตสกอร์ที่ดีที่สุด ซึ่งวันนี้ทาง MoneyGuru ต้องการเสนอว่า จริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นอะไรขนาดนั้น เป็นเพราะอะไร เราไปดูกัน

    อะไรคือ เครดิตสกอร์ที่สมบูรณ์แบบ (Perfect credit score)

    ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า เครดิตสกอร์ หรือ เครดิตสกอริ่ง คือระบบการวัดเครดิต "ความตั้งใจในการชำระหนี้"  ที่ "บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ" หรือ "เครดิตบูโร" นำมาใช้ โดยเป็นสิ่งที่ต่างชาติใช้กันมานานแล้ว แต่ประเทศไทยพึ่งนำมาใช้เมื่อไม่นานมานี้

    เครดิตสกอร์ที่สมบูรณ์แบบคืออะไร  จริงๆ แล้วมีรูปแบบในการวัดเครดิตสกอร์หลากหลายรูปแบบ ตามแต่สถาบันทางการเงินจะใช้รูปแบบไหน แต่ตัวอย่างหนึ่งที่มีการใช้กันคือ FICO ที่มีช่วงคะแนนเครดิตสกอร์อยู่ที่ 300 – 850  คะแนน  โดยธนาคาร หรือผู้ให้บริการบัตรเครดิตส่วนมาก จะแบ่งคะแนนออกเป็นดังนี้ เพื่อแบ่งประเภทลูกค้า

1.    น้อยกว่า 630         เครดิตไม่ดี
2.    630 – 689            เครดิตปานกลาง
3.    690 – 719            เครดิตดี
4.    720 – 850            เครดิตยอดเยี่ยม


 

    เครดิตสกอร์ยอดเยี่ยม หรือ เครดิตสกอร์ที่ดีที่สุด จำเป็นหรือไม่?

    ไม่ว่าคุณจะถามคำถามนี้จากผู้เชี่ยวชาญที่ไหน คำตอบจะเหมือนกันคือ "ไม่จำเป็น"  ธนาคารนำรูปแบบคะแนนข้างต้นมาใช้เพื่อแยกประเภทผู้กู้ ที่มาขอสินเชื่อไม่ว่าจะเป็นรถ บ้าน ที่ดิน หรือสินเชื่อส่วนบุคคล เพื่อออกแบบแพคเกจเงินกู้ให้เหมาะสมเท่านั้น และคุณไม่ต้องกลัวว่า หากคุณมีเครดิตสกอร์สูง แต่ไม่ได้ 850 คุณจะไม่ได้แพคเกจเงินกู้ที่ดีที่สุด จากการสำรวจหลายๆ ธนาคารพบว่า เพียงแค่คุณได้คะแนนอยู่ที่ราว 720 ก็เพียงพอแล้วที่คุณจะได้แพคเกจ หรือ Loan terms ที่ดีที่สุด ส่วนลูกค้าในกลุ่มอื่นๆ  เพียงแค่คุณอยู่ในระดับกลางๆ เช่น ปานกลาง และดี ก็สามารถกู้เงินได้เช่นเดียวกัน

 


    อยากเพิ่มเครดิตสกอร์ทำอย่างไรดีล่ะ?

•    จ่ายบิลบัตรเครดิตตรงเวลา เพราะร้อยละ 35 ของการคิดคะแนน มาจากปัจจัยข้อนี้ เพราะฉะนั้นอย่าจ่ายสาย
•    สัดส่วนหนี้ต่อรายได้อย่าสูงเกินไป เพราะอีกร้อยละ 30 ของคะแนนมาจาก สัดส่วนของหนี้ที่คุณมีต่อรายได้ประจำของคุณ
•    อย่าปิดบัตรเครดิตที่คุณใช้มานาน  เพราะการทำเช่นนั้น ประวัติเครดิตของคุณจะหายไป และส่งผลต่อคะแนนของคุณ
•    อย่าสมัครบัตรหลายใบเกินไป เพราะอีกร้อยละ 10 ของคะแนนมาจากจุดนี้
•    ตรวจสอบรายงานเครดิตของคุณ เพราะถึงแม้ระบบจะดีแค่ไหน ก็อาจมีข้อผิดพลาดได้ เพราะฉะนั้น อย่าลืมตรวจสอบเครดิตสกอร์ของคุณบ่อยๆ

    หากมีข้อสงสัยด้านการเงินการลงทุน ติดต่อได้ที่ info@moneyguru.co.th หรือ www.moneyguru.co.th


create by smethailandclub.com

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้