เรื่อง : moneyguru
ไม่ว่าใครก็คงเคยซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ หลายๆ คนที่เคยสั่งสินค้าจากประเทศอื่นด้วยตนเองอาจจะทราบดีว่าเมื่อส่งเข้ามาแล้วก็มักจะต้องจ่ายภาษีอากรขาเข้า แม้จะเป็นของใช้ส่วนตัว ของขวัญ หรือของฝากก็ตามหากสินค้าที่ส่งเข้าประเทศมีมูลค่าเกิน 1,000 บาทและไม่เกิน 40,000 บาท ซึ่งหากสินค้าที่มีมูลค่าสูงเกิน 40,000 บาทก็จะต้องมีขั้นตอนเพิ่มเติมในการจัดทำใบขนส่งสินค้าขานำเข้า
“เงินของใคร ใครก็รัก” ทำให้หลายคนไม่อยากจ่ายภาษีเต็มอัตรา ทางแก้หนึ่งจึงเป็นการให้ผู้ขายระบุราคาหน้ากล่องให้ต่ำกว่าความเป็นจริงเพื่อจะได้จ่ายภาษีในราคาที่ต่ำลง บ้างก็ได้ผล บ้างก็ไม่ได้ผล ซึ่งขนาดและน้ำหนักของกล่องนั้นมีผลอย่างมากในการโดนสุ่มตรวจ บางคนถึงขั้นโดนสุ่มเปิดกล่องที่ด่านศุลกากร และทำให้สุดท้ายต้องเสียภาษีหนักกันเลยทีเดียว บางครั้งหากคำนวณแล้วว่าค่าขนส่งถูกกว่าภาษีที่ต้องเสีย ก็ควรแยกกล่องส่งจะดีกว่า
เวลาขนส่งสินค้าจากต่างประเทศซึ่งเป็นสินค้าคนละหมวดหมู่กัน ทางที่ดีควรแยกส่ง เช่น หากคุณส่งเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุคมารวมกับเสื้อผ้า ทางศุลกากรจะประเมินทั้งหมดในอัตราของใช้ส่วนตัวร้อยละ 30 ทั้งที่จริงๆแล้วคอมพิวเตอร์โน้ตบุคควรจะได้รับการยกเว้นภาษีอากรแต่ก็โดนเก็บอยู่ดี และรู้หรือไม่ว่าศุลกากรนำค่าขนส่งมาคำนวณภาษีด้วย ซึ่งการส่งไปรษณีย์แบบ SAL หรือ ลงทะเบียน มีโอกาสต่ำกว่าที่จะโดนสุ่มตรวจ
“เงินของใคร ใครก็รัก” ทำให้หลายคนไม่อยากจ่ายภาษีเต็มอัตรา ทางแก้หนึ่งจึงเป็นการให้ผู้ขายระบุราคาหน้ากล่องให้ต่ำกว่าความเป็นจริงเพื่อจะได้จ่ายภาษีในราคาที่ต่ำลง บ้างก็ได้ผล บ้างก็ไม่ได้ผล ซึ่งขนาดและน้ำหนักของกล่องนั้นมีผลอย่างมากในการโดนสุ่มตรวจ บางคนถึงขั้นโดนสุ่มเปิดกล่องที่ด่านศุลกากร และทำให้สุดท้ายต้องเสียภาษีหนักกันเลยทีเดียว บางครั้งหากคำนวณแล้วว่าค่าขนส่งถูกกว่าภาษีที่ต้องเสีย ก็ควรแยกกล่องส่งจะดีกว่า
เวลาขนส่งสินค้าจากต่างประเทศซึ่งเป็นสินค้าคนละหมวดหมู่กัน ทางที่ดีควรแยกส่ง เช่น หากคุณส่งเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุคมารวมกับเสื้อผ้า ทางศุลกากรจะประเมินทั้งหมดในอัตราของใช้ส่วนตัวร้อยละ 30 ทั้งที่จริงๆแล้วคอมพิวเตอร์โน้ตบุคควรจะได้รับการยกเว้นภาษีอากรแต่ก็โดนเก็บอยู่ดี และรู้หรือไม่ว่าศุลกากรนำค่าขนส่งมาคำนวณภาษีด้วย ซึ่งการส่งไปรษณีย์แบบ SAL หรือ ลงทะเบียน มีโอกาสต่ำกว่าที่จะโดนสุ่มตรวจ
Image courtesy of Stuart Miles / FreeDigitalPhotos.net
แม้จะมีทางเลี่ยง แต่ทางที่ดีคือเราควรคำนวณราคาสินค้า+ภาษี+VAT 7% เพื่อคาดการณ์ไว้ก่อนว่าสรุปแล้วเมื่อเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ราคาสินค้าของคุณรวมแล้วจะเป็นเท่าไหร่ การที่เราซื้อจากผู้ขายรายย่อยในประเทศซึ่งจดทะเบียนการค้าอย่างถูกต้องจะมีราคาถูกกว่าหรือไม่ และที่ดีที่สุด คือการที่หลายคนกำลังทำธุรกิจที่ต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งการคำนวนภาษีเป็นเรื่องที่สำคัญ จะได้ตั้งราคาขายได้อย่างถูกต้อง ไม่ขาดทุน โดยอาจจะผลักภาระภาษีแก่ลูกค้า หรือแบ่งกันตามแต่นโยบายของแต่ละร้านเป็นต้น ทังนี้ ทาง MoneyGuru จึงนำสูตรการคำนวนภาษีมาให้ดังนี้
Image courtesy of Prakairoj / FreeDigitalPhotos.net
สมมุติคุณก. สั่งกระเป๋าแบรนด์เนมจากต่างประเทศมูลค่า9,000บาท ค่าขนส่ง1,000บาท รวมเป็น10,000บาท
อัตราภาษีร้อยละ 40
10,000 + 4,000 = 14,000
เพิ่มVAT ร้อยละ 7
7% x 14,000= 980
สรุปยอดรวมภาษีที่คุณต้องจ่ายเพิ่มคือ 4980 บาท
เงินจำนวนดังกล่าวถือเป็นจำนวนที่ไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับราคาของ ดังนั้น บางทีหากลองสำรวจราคาสินค้าดังกล่าวที่ห้างในประเทศเสียก่อน บางทีในห้างอาจจะถูกกว่าที่สั่งมาเองก็เป็นได้
หากมีปัญหาเรื่องการเงิน การลงทุน ติดต่อได้ที่ info@moneyguru.co.th หรือ www.moneyguru.co.th
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี