เปิดโฉมหน้า 10 สุดยอดธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน







     นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) กล่าวว่าพันธกิจของธนาคาร มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย โดยเฉพาะระดับภูมิภาค ด้านสนับสนุนเงินทุนควบคู่การพัฒนา ซึ่งปัจจุบันภาคท่องเที่ยวคือหนึ่งในอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศไทย มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการกระจายรายได้สู่ระดับฐานรากของประเทศ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่สนับสนุนให้ชุมชนต่างๆ เชื่อมโยงนำอัตลักษณ์ท้องถิ่นมาผสมผสาน ถ่ายทอดเป็นเรื่องราว เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ธุรกิจท่องเที่ยวและชุมชน นำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นเข้มแข็ง (Local Economy)  


     ทั้งนี้ เพื่อสานต่อให้ธุรกิจท่องเที่ยวชุมชนและธุรกิจเกี่ยวเนื่องเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการยกระดับคุณภาพ และสร้างมาตรฐาน ธนาคารจึงจัดโครงการมอบรางวัล “สุดยอด SME ท่องเที่ยวปี 2560” ให้แก่ธุรกิจท่องเที่ยวชุมชนทั่วไทยที่มีศักยภาพยอดเยี่ยม โดยมีวัตถุประสงค์ยกย่องผู้ได้รับรางวัล รวมถึง ให้เป็นต้นแบบแห่งความสำเร็จ สร้างแรงบันดาลใจแก่ธุรกิจชุมชนอื่นๆ ก้าวตาม โดยมีผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชนที่ได้รับรางวัล จำนวน 10 รางวัล ดังนี้ 





     1.รางวัลโดดเด่นด้านธุรกิจที่พักหรือโรงแรม ได้แก่ บริษัท สุราษฎร์อินเตอร์ทัวร์ จำกัด ผู้ให้บริการ แพ 500 ไร่ จ.สุราษฎร์ธานี 2.รางวัลโดดเด่นด้านธุรกิจร้านอาหาร ได้แก่ ร้านอาหารเวียงชัยบุรี  จ.อุดรธานี 3.รางวัลโดดเด่นด้านธุรกิจชุมชนสร้างสรรค์ หรือธุรกิจการท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์บ้านน้ำเกี๋ยน จ.น่าน 4.รางวัลโดดเด่นด้านธุรกิจนำเที่ยวชุมชน ได้แก่ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ 5.รางวัลโดดเด่นด้านธุรกิจเพื่อสุขภาพและความงาม ได้แก่ หจก. ภูโคลน คันทรีคลับ จ.แม่ฮ่องสอน 6.รางวัลโดดเด่นด้านธุรกิจกีฬาและสันทนาการ ได้แก่ บริษัท สกายเวิลด์แอดเวนเจอร์ จำกัด จ.ภูเก็ต   7.รางวัลโดดเด่นด้านธุรกิจแฟรนไชส์การท่องเที่ยว ได้แก่ บริษัท กาแฟวาวี จำกัด เจ้าของแฟรนไชส์ร้านกาแฟวาวี  8.รางวัลโดดเด่นด้านธุรกิจผลิตจำหน่ายสินค้าหรือของที่ระลึก ได้แก่ บริษัท ธนบดีเดคอร์ เซรามิค จำกัด จ.ลำปาง   9.รางวัลพิเศษ โดดเด่นด้านการออกแบบที่พัก ได้แก่ บริษัท ภูเขาลอยน้ำ จำกัด จ.เชียงใหม่ และ 10.รางวัลพิเศษ โดดเด่นด้านวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวดีเด่น ด้านแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด


     นอกจากโครงการมอบรางวัลดังกล่าวแล้ว ธนาคารได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ดำเนินโครงการ “สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพ SME-D กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว” เพื่อร่วมพัฒนาผู้ประกอบการท่องเที่ยวในกลุ่ม SMEs ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ 



 

   ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการ อพท. กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ ว่า เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบที่อยู่ภายใต้ อพท. ที่ต้องการการสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมให้แก่ผู้ประกอบในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจในกลุ่มร้านอาหาร สปา ของฝาก-ของที่ระลึก ธุรกิจบริการขนส่ง เพราะเมื่อธุรกิจเหล่านี้เข้มแข็ง ย่อมทำให้เศรษฐกิจของประเทศมีความมั่นคงมากขึ้น


     ทั้งนี้ ความร่วมมือเบื้องต้น ครอบคลุมระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2563 โดยมีพันธกิจหลักเน้น  4 เรื่อง ได้แก่ 1. ความช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการ ทั้งด้านการตลาด การผลิต-บริหารจัดการ และภาคการเงิน 2.สร้างโมเดลให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแต่ละจังหวัดเพื่อเป็นต้นแบบ ก่อนต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยวรายภูมิภาคต่อไป 3.บูรณาการความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร ยกระดับจำนวนนักท่องเที่ยว นำไปสู่การสร้างรายได้ และ 4.สร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการในการเข้าถึงแหล่งทุน




     ด้านบทบาทของ ธพว. หลังลงนามแล้วจะดำเนินการพัฒนาตัวอย่างหมู่บ้านท่องเที่ยวชุมชนเข้มแข็ง  เน้นพัฒนา 4 ด้าน คือ 1. สร้างช่องทางการตลาดสมัยใหม่ 2. พัฒนามาตรฐานทางบัญชี เพื่อเตรียมความพร้อมให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงแหล่งหนึ่งทุนในอนาคต 3.สร้างโมเดลธุรกิจท่องเที่ยวรายจังหวัด พร้อมประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้แหล่งท่องเที่ยวเหล่านั้นเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และ 4.บูรณาการความร่วมมือเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ ผลักดันให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ


     ในส่วนของ อพท. จะเน้นการทำงาน 3 ด้าน คือ 1.การประสานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนวิสาหกิจชุมชน ตลอดจนผู้ประกอบการเพื่อทำกิจกรรมร่วมกับ อพท. 2.ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตลอดจนสินค้าและการบริการการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ และ 3.สนับสนุนชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในพื้นที่พิเศษของ อพท.ให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนต่อยอดธุรกิจในอนาคต







รางวัลโดดเด่นด้านธุรกิจที่พักหรือโรงแรม ได้แก่ บริษัท สุราษฎร์อินเตอร์ทัวร์ จำกัด ผู้ให้บริการ แพ 500 ไร่ จ.สุราษฎร์ธานี




รางวัลโดดเด่นด้านธุรกิจร้านอาหาร ได้แก่ ร้านอาหารเวียงชัยบุรี  จ.อุดรธานี 




รางวัลโดดเด่นด้านธุรกิจชุมชนสร้างสรรค์ หรือธุรกิจการท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์บ้านน้ำเกี๋ยน จ.น่าน 




รางวัลโดดเด่นด้านธุรกิจนำเที่ยวชุมชน ได้แก่ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ 




รางวัลโดดเด่นด้านธุรกิจเพื่อสุขภาพและความงาม ได้แก่ หจก. ภูโคลน คันทรีคลับ จ.แม่ฮ่องสอน




รางวัลโดดเด่นด้านธุรกิจกีฬาและสันทนาการ ได้แก่ บริษัท สกายเวิลด์แอดเวนเจอร์ จำกัด จ.ภูเก็ต    




รางวัลโดดเด่นด้านธุรกิจแฟรนไชส์การท่องเที่ยว ได้แก่ บริษัท กาแฟวาวี จำกัด เจ้าของแฟรนไชส์ร้านกาแฟวาวี 




รางวัลโดดเด่นด้านธุรกิจผลิตจำหน่ายสินค้าหรือของที่ระลึก ได้แก่ บริษัท ธนบดีเดคอร์ เซรามิค จำกัด จ.ลำปาง  




รางวัลพิเศษ โดดเด่นด้านการออกแบบที่พัก ได้แก่ บริษัท ภูเขาลอยน้ำ จำกัด จ.เชียงใหม่ 




รางวัลพิเศษ โดดเด่นด้านวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวดีเด่น ด้านแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด




www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้