ประกันกลุ่มจำเป็นแค่ไหน…สำหรับธุรกิจ SME

 

 

 

 
ปัจจุบันเริ่มมีการกล่าวถึงการทำประกันกลุ่มสำหรับธุรกิจ SME จึงเกิดคำถามตามมาว่าแล้วการทำประกันกลุ่มสำหรับธุรกิจ SME จริงๆ แล้วมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน 
 
ที่ผ่านมาผู้ประกอบการอาจมองว่า “ประกันกลุ่ม” เป็นสวัสดิการพนักงานที่มีต้นทุนสูง เพราะเบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายให้ ก็คือ ต้นทุนที่บวกเพิ่มเข้าไปในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าผู้ประกอบการไม่อยากที่จะให้ต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้น หลายองค์กรเลือกที่จะควบคุมต้นทุนให้อยู่นิ่งไม่ให้ขยับเพิ่มไปจากเดิม ประกันกลุ่มจึงเป็นทางเลือกที่ผู้ประกอบ การ โดยเฉพาะขนาดกลาง และขนาดย่อม (SME) จะพิจารณาทำเป็นอันดับสุดท้าย หรือกล่าวง่ายๆ คือเลือกที่จะไม่ทำ
 
และยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้ประกอบการ SME ต้องเผชิญกับภาวะต้นทุนพุ่งสูงขึ้น จากนโยบายรัฐที่ให้เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ผลที่ตามมาคือผู้ประกอบการต้องใช้นโยบายรัดเข็มขัดเพื่อความอยู่รอดขององค์กร และหมายถึงความอยู่รอดของพนักงานด้วย 
 
แม้การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท จะทำให้ต้นทุนการดำเนินงานพุ่ง แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการที่ทำประกันกลุ่มนั้นจะยังคงทำได้อย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าพิจารณาถึงผลที่ได้รับตอบกลับมาแล้วคุ้มค่ากว่า ด้วยเพราะการมีสวัสดิการที่ดีให้พนักงาน เป็นหนึ่งในภาพสะท้อนที่บ่งบอกถึงความมั่นคงขององค์กรอีกด้วย เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงานถึงความยั่งยืนขององค์กรในทางอ้อม 
 
แม้ว่าประกันภัยกลุ่มอาจถูกมองว่าเป็นภาระหรือทำให้ต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้น แต่ก็มีองค์กรหลายแห่งเลือกที่จะเพิ่มสวัสดิการให้พนักงานด้วยการทำประกันกลุ่ม ด้วยเหตุผลหลายประการตั้งแต่การสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน การสะท้อนภาพลักษณ์องค์กรออกมาเชิงบวก เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับพนักงาน ซึ่งองค์กรในลักษณะเช่นนี้ย่อมทำให้พนักงานไม่อยากหนีหรือลาออกไปไหน สิ่งที่องค์กรได้ประโยชน์ คือ สามารถพัฒนาศักยภาพของพนักงานได้อย่างต่อเนื่อง
 
    อำนาจ วงศ์พินิจวโรดม ผู้ช่วยเลขาธิการ สายพัฒนาและวิเคราะห์ระบบการตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ยังได้กล่าวถึงความสำคัญของการทำประกันภัยกลุ่มอีกด้วยว่า ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงในส่วนของงบสวัสดิการพนักงานได้อย่างแม่นยำ เพราะโอนความเสี่ยงดังกล่าวไปให้บริษัทประกันเป็นผู้ดูแลบริหารจัดการ โดยเฉพาะในส่วนของค่ารักษาพยาบาล ที่นับวันแนวโน้มก็มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหากบริหารจัดการหรือสำรองงบในส่วนนี้ไม่เพียงพอ อาจทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลายได้   
 
โดยสรุปแล้วการทำประกันภัยกลุ่มให้พนักงาน ซึ่งเป็นสวัสดิการที่นอกเหนือจากประกันสังคมทำให้พนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อนายจ้างและองค์กรในแง่ของการเอาใจใส่ดูแล จัดมอบสวัสดิการพิเศษให้ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพนักงานนอกเหนือจากส่วนของรายได้ในรูปของค่าจ้างเงินเดือน
 
 นอกจากนี้ ประกันกลุ่มยังเป็นสวัสดิการที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ เพราะเป็นแบบประกันที่ให้ความคุ้มครองสูงแต่อัตราเบี้ยประกันภัยต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อประกันส่วนตัว และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นด้านค่าเบี้ยประกันภัย นายจ้างสามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปเป็นค่าใช้จ่ายขององค์กรได้อีกด้วย
 
ปัจจุบันบริษัทประกันภัยมีแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการมากขึ้น โดยมีแบบประกันสำหรับกลุ่มธุรกิจ SME ตั้งแต่ผู้ประกอบการ 5 คนไปจนถึง 50 คนขึ้นไป ซึ่งเบี้ยประกันที่จ่ายก็จะมีความแตกต่างกันตามความคุ้มครอง โดยสามารถเลือกความคุ้มครองได้หลากหลายภายใต้เงื่อนไขที่บริษัทประกันภัยกำหนด ให้ความคุ้มครอง 24 ชั่วโมงทั่วโลก 
 
เช่น “ประกันชีวิตกลุ่มแบบสมัครใจ” ก็จะเป็นแบบที่ให้ความคุ้มครองชีวิต พร้อมผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวันในโรงพยาบาลกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเข้าพัก รักษาตัวในโรงพยาบาล หรือเลือกประกันภัยกลุ่มแบบสะสมทรัพย์ครบเกษียณ อายุ เป็นแบบที่พนักงานในองค์กรธุรกิจ หรือหน่วยงานที่สมัครเข้าร่วมโครงการสามารถออมทรัพย์รายเดือนเพื่อไว้ใช้ หลังจากการเกษียณการทำงาน ในรูปแบบของการหักเงินค่าเบี้ยประกันภัยผ่านบัญชีเงินเดือนพนักงานได้ โดยที่พนักงานผู้ที่สมัคร เข้าร่วมทำประกันภัยสามารถเลือกจำนวนเงินออมทรัพย์รายเดือนได้ขณะเดียวกันก็สามารถเพิ่มผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวันในโรงพยาบาลกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเข้าพัก รักษาตัวในโรงพยาบาลได้ด้วย ขึ้นอยู่ที่บริษัทจะดีไซน์ออกแบบมาให้ นอกจากนี้ ยังมี “ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม” ที่มอบความคุ้มครองอุบัติเหตุ และทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงกรณีที่พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้เอาประกันภัยประสบกับอุบัติเหตุ หรือสิ่งที่ไม่คาดฝัน ซึ่งนี่เป็นเพียงตัวอย่างที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาพิจารณาก่อนตัดสินใจได้
 
สำหรับประกันกลุ่มจะเป็นสวัสดิการสำหรับพนักงานที่ทำงานประจำ (Full-Time Employee) เท่านั้น ซึ่งรวมถึงภาครัฐและเอกชน โดยที่มีรูปแบบของสวัสดิการหลากหลายให้กับองค์กรธุรกิจหรือนายจ้างได้เลือกทำ อาทิ การประกันชีวิต การประกันภัยอุบัติเหตุ การประกันภัยทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง การประกันสุขภาพ รวมทั้งยังมีการประกันภัยกลุ่มในรูปแบบของการออมทรัพย์รายเดือน พร้อมการจ่ายเงินชดเชยรายวันให้ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอีกด้วย 
 
  โดยลักษณะของประกันกลุ่ม เป็นสัญญาประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยแบบชั่วระยะเวลารายปี
 
สัญญาการประกันภัยกลุ่มนั้นจะให้เฉพาะความคุ้มครองไม่มีเงินสะสม เมื่อครบอายุสัญญากรมธรรม์ 1 ปี สามารถต่ออายุสัญญากรมธรรม์ได้ และกรมธรรม์จะออกเพียงฉบับเดียวให้กับนายจ้าง โดยสมาชิกจะได้รับบัตรประจำตัวผู้เอาประกันเป็นหลักฐาน 
 
คงจะเห็นแล้วว่า ข้อดีสำหรับการทำประกันกลุ่มที่ผู้ประกอบการจะได้รับ คือ ช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถกำหนดหรือทราบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่แน่นอน และยังเป็นสวัสดิการรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน ซึ่งเจ้าของธุรกิจสามารถเลือกความคุ้มครองและผลประโยชน์ให้สอดคล้องกับความต้องการและความสามารถในการชำระเบี้ยได้
 
 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้