สรรพากรออกมาตรการภาษีช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม


                          


                           ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2560 เห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัย เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนแก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศ ในปี 2560 นั้น
กรมสรรพากรขอชี้แจงดังนี้

1. มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมีสาระสาคัญ ดังนี้



1.1 มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยผู้บริจาคมีสิทธิ หักลดหย่อนหรือหักรายจ่ายทางภาษีได้ 1.5 เท่า สาหรับการบริจาคระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2560 ดังนี้



                           (1) ผู้บริจาคที่เป็นบุคคลธรรมดา สามารถนำจำนวนเงินที่บริจาคไปหักลดหย่อนในการคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ 1.5 เท่า แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคอื่นแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว

                           (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สิน สามารถนำจำนวนเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่บริจาคไปหักเป็นรายจ่ายได้ 1.5 เท่า แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์แล้วต้องไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ

                           ทั้งนี้ ต้องเป็นการบริจาคให้แก่ผู้รับบริจาคที่เป็นส่วนราชการ มูลนิธิ องค์การหรือสถานสาธารณกุศลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา หรือตัวแทนรับบริจาคที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ที่ได้ขึ้นทะเบียนแจ้งขอเป็นตัวแทนรับบริจาคกับกรมสรรพากร เช่น สถานีโทรทัศน์ หรือสถานีวิทยุ เป็นต้น



1.2 มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

                           (1) ผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเพื่อซ่อมแซมหรือค่าวัสดุ หรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับตัวอาคารหรือ ในที่ดิน อันเป็นที่ตั้งของอาคาร หรือในการซ่อมแซมห้องชุดในอาคารชุดหรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้ง ในลักษณะถาวรกับห้องชุดในอาคารชุด ซึ่งได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย ระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 และอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย ตามจานวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้ว ไม่เกิน 100,000 บาท


                           (2) ผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเพื่อซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก หรืออุปกรณ์หรือสิ่งอานวยความสะดวกในรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕60 และอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย ตามจานวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 30,000 บาท



2. หลักฐานการรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเพื่อใช้สิทธิในการหักลดหย่อน

                           - หลักฐานการรับเงิน หรือทรัพย์สิน เช่น หนังสือสำคัญการรับเงินบริจาคที่ส่วนราชการหรือ นิติบุคคลที่เป็นตัวแทนรับบริจาคออกให้ ซึ่งมีข้อความระบุว่าเป็นการบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยอาจระบุพื้นที่และช่วงเวลาที่เกิดอุทกภัยไว้ด้วย


                           - หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารซึ่งพิสูจน์ผู้โอนและผู้รับโอนได้ เช่น ใบโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร หรือสลิปของธนาคาร ในช่วงระยะเวลาที่เกิดอุทกภัย


                           3. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ที่ประสงค์จะเป็นตัวแทนรับบริจาคตามที่ กล่าวใน 1.1 จะต้องดำเนินการในลักษณะเป็นสื่อกลางรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า เพื่อนำไปช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยอย่างเปิดเผย และต้องขึ้นทะเบียนแจ้งชื่อกับกรมสรรพากร โดยใช้แบบ “คำขอแจ้งเป็นตัวแทน รับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2554 เป็นต้นไป” ยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพากร (ผ่านผู้อำนวยการกองมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบภาษี หรือสรรพากรพื้นที่) ทุกครั้งก่อนการรับบริจาคหรือภายหลังรับบริจาค โดยต้องแจ้งในระหว่างการเกิดเหตุอุทกภัยดังกล่าว หรือแจ้งภายในหนึ่งเดือนนับถัดจากวันที่เหตุอุทกภัยนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว


                           สำหรับนิติบุคคลที่ได้เคยขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนรับบริจาคจากเหตุการณ์อุทกภัยหรือภัยธรรมชาติอื่นก่อนหน้านี้ ยังต้องยื่นคำขอเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนรับบริจาคกับกรมสรรพากรในครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของตัวแทนรับบริจาคให้ศึกษาได้จากประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้น ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเงินได้ ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาค เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554 http://www.rd.go.th/publish/41916.0.html


                            สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สานักงานสรรพากรพื้นที่ทุกพื้นที่ และ ศูนย์สารนิเทศสรรพากร โทร.1161


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้