เรื่อง : วิทยา องค์วิริยะพันธ์
wittaya.ong@gmail.com
คำว่า รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง ยังคงเป็นอมตะใช้ได้กับในทุกเรื่อง ในการทำธุรกิจก็เช่นกัน นอกจากจะรู้จักตัวเองและคู่แข่งแล้ว ยังต้องรู้กฎกติกาด้วย หนึ่งในนั้นก็คือภาษี โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ SME หลายรายไม่รู้หรือไม่ได้ให้ความสำคัญ ด้วยเหตุผลว่าวุ่นวาย ต้องเจอภาษากฎหมายที่อ่านแล้วเข้าใจยาก จึงปล่อยให้นักบัญชีหรือผู้สอบบัญชีดำเนินการแทน แต่บางครั้งนักบัญชีหรือผู้สอบบัญชีก็หลงลืมหรือผิดพลาดได้ สุดท้ายความเสียหายก็กลับมาตกที่ผู้ประกอบการเอง ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมาทำความเข้าใจภาษีกันดีกว่า
ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาเกี่ยวกับภาษีสำหรับธุรกิจร่วมกับนักบัญชีและผู้สอบบัญชี จึงได้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทางการเงิน จึงได้นำมาเสนอแทรกจากบทความชุดทำประมาณการทางการเงินอีกครั้งหนึ่ง
เรื่องราวเกี่ยวกับภาษีที่ส่วนใหญ่แล้วชาว SME จะต้องเจอ คงหนีไม่พ้น 3 เรื่องหลัก ประกอบด้วย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แล้วแต่ว่าจะดำเนินธุรกิจในแบบใด ต่อมาก็เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่ผู้เขียนไม่ได้จะมากล่าวถึงเรื่องเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จำเป็น ต้องศึกษาให้รู้อย่างถูกต้อง เพราะถ้ากระทำผิดแล้วโทษปรับต่างๆ จะไม่คุ้มกัน
ประเด็นสำคัญที่จะกล่าวถึงก็คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษี รัฐบาลออกกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือธุรกิจมาตลอดต่อเนื่อง โดยเฉพาะ SME ก็มีกฎเกณฑ์ที่ออกมาช่วยเหลือให้เสียภาษีน้อยลง ซึ่งก็มีอยู่หลายอย่าง อีกทั้งในปีที่ผ่านมาจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ รัฐบาลก็ออกกฎเกณฑ์ช่วยเหลือเฉพาะกิจออกมาอีกด้วย บทความนี้ไม่ได้จะมาบอกว่าสิทธิประโยชน์เหล่านั้นมีอะไรบ้าง แต่จะเป็นการให้แนวคิดว่า สิทธิประโยชน์ทางภาษีเหล่านั้นจะช่วยเพิ่มกำไรหรือผลตอบแทนให้กับผู้ประกอบการได้อย่างไร ซึ่งผู้เขียนมองว่าเป็นจุดที่จะทำให้ผู้ประกอบการหันมาให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับภาษีกันมากขึ้น
สิทธิประโยชน์ทางภาษี อธิบายให้ง่ายขึ้นก็คือการที่รัฐบาลยอมให้เราเสียภาษีน้อยลงได้นั่นเอง เพื่อจูงใจให้เราดำเนินธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้เศรษฐกิจดำเนินไปได้ด้วยดี และสำหรับ SME แล้วก็ยังช่วยให้สามารถแข่งขันได้และอยู่รอดเติบโตเป็นกิจการขนาดใหญ่แข็งแกร่งได้
โดยกำหนดให้รายได้บางอย่างไม่ต้องเอามารวมในการคำนวณภาษี และรายจ่ายบางอย่างก็ยอมให้คิดเพิ่มขึ้นจากที่จ่ายไปจริงได้ ซึ่งแน่นอนว่าการที่เราจ่ายเงินเป็นค่าภาษียิ่งน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นผลดีกับเราทำให้ทั้งเงินสดที่มีและรายงานกำไรทางบัญชีออกมาเพิ่มขึ้น พูดง่ายๆ ก็คือ ผลตอบแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้นนั่นเอง
โดยกำหนดให้รายได้บางอย่างไม่ต้องเอามารวมในการคำนวณภาษี และรายจ่ายบางอย่างก็ยอมให้คิดเพิ่มขึ้นจากที่จ่ายไปจริงได้ ซึ่งแน่นอนว่าการที่เราจ่ายเงินเป็นค่าภาษียิ่งน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นผลดีกับเราทำให้ทั้งเงินสดที่มีและรายงานกำไรทางบัญชีออกมาเพิ่มขึ้น พูดง่ายๆ ก็คือ ผลตอบแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้นนั่นเอง
นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลก็ยังใจดีลดอัตราภาษีเงินได้ให้อีกด้วย ด้วยการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงมาเหลือร้อยละ 23 สำหรับปี 2555 และร้อยละ 20 สำหรับปี 2556 ถึง 2557 ซึ่งก็ค่อนข้างแน่นอนแล้วว่า เมื่อเวลานั้นมาถึง รัฐบาลก็จะยังใจดีให้คงไว้ที่ร้อยละ 20 ต่อไป
แล้วก็สำหรับชาว SME ยังได้รับสิทธิลดอัตราภาษีด้วยการแบ่งระดับตามจำนวนกำไรที่ได้ โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญก็คือ ต้องรักษาการเป็น SME เอาไว้ด้วยการมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท และทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท หากเกินเพียงครั้งเดียวในปีใดก็ตาม ถือว่าหมดสิทธิ์ถาวรตลอดไปเลย โดยในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดารัฐบาลก็ใจดีลดให้เช่นกัน แต่ไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ นะครับ
แล้วก็สำหรับชาว SME ยังได้รับสิทธิลดอัตราภาษีด้วยการแบ่งระดับตามจำนวนกำไรที่ได้ โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญก็คือ ต้องรักษาการเป็น SME เอาไว้ด้วยการมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท และทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท หากเกินเพียงครั้งเดียวในปีใดก็ตาม ถือว่าหมดสิทธิ์ถาวรตลอดไปเลย โดยในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดารัฐบาลก็ใจดีลดให้เช่นกัน แต่ไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ นะครับ
ในย่อหน้านี้ก็จะขอยกตัวอย่างง่ายๆ เพื่อให้เห็นภาพว่า หากกิจการของเราสามารถใช้ประโยชน์จากสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้จะทำให้เสียภาษีน้อยลง และเพิ่มผลกำไรได้อย่างไร
กรณีไม่ใช้สิทธิประโยชน์ กรณีใช้สิทธิประโยชน์
รายได้ 1,000,000 1,000,000
ค่าใช้จ่ายที่ 1 100,000 100,000
ค่าใช้จ่ายที่ 2 100,000 200,000
กำไรก่อนภาษี 800,000 700,000
ภาษี (ร้อยละ 20) 160,000 140,000
กำไรหลังหักภาษี 640,000 660,000
เราสมมุติให้ว่ามีรายได้จากการขายสินค้าเพียงอย่างเดียว และมีค่าใช้จ่ายสองประเภท โดยให้ประเภทที่สองเป็นค่าใช้จ่ายที่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีอยู่ โดยแบ่งเป็นกรณีที่ไม่ใช้สิทธิประโยชน์และใช้สิทธิประโยชน์ ตามลำดับ
นอกจากนี้ก็กำหนดให้ไม่ต้องมีดอกเบี้ยจ่ายด้วย ก็จะเห็นว่า รายการค่าใช้จ่ายที่สองนี้ในกรณีไม่ใช้สิทธิประโยชน์ ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ 100,000 บาทตามค่าใช้จ่ายจริง แต่ถ้าใช้สิทธิประโยชน์ โดยสมมุติว่าสามารถหักเพิ่มได้อีกเท่าตัว ก็จะทำให้เสียภาษีน้อยลง เท่ากับอัตราภาษีคูณด้วยค่าใช้จ่ายส่วนที่เพิ่มขึ้นมาจากการได้รับสิทธิประโยชน์ ซึ่งจากตัวอย่างก็จะเห็นว่า ภาษีลดน้อยลงไป 20,000 บาท มาจากค่าใช้จ่ายที่ได้เพิ่มขึ้นมา 100,000 บาทคูณด้วยอัตราภาษีร้อยละ 20 นั่นเอง
นอกจากนี้ก็กำหนดให้ไม่ต้องมีดอกเบี้ยจ่ายด้วย ก็จะเห็นว่า รายการค่าใช้จ่ายที่สองนี้ในกรณีไม่ใช้สิทธิประโยชน์ ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ 100,000 บาทตามค่าใช้จ่ายจริง แต่ถ้าใช้สิทธิประโยชน์ โดยสมมุติว่าสามารถหักเพิ่มได้อีกเท่าตัว ก็จะทำให้เสียภาษีน้อยลง เท่ากับอัตราภาษีคูณด้วยค่าใช้จ่ายส่วนที่เพิ่มขึ้นมาจากการได้รับสิทธิประโยชน์ ซึ่งจากตัวอย่างก็จะเห็นว่า ภาษีลดน้อยลงไป 20,000 บาท มาจากค่าใช้จ่ายที่ได้เพิ่มขึ้นมา 100,000 บาทคูณด้วยอัตราภาษีร้อยละ 20 นั่นเอง
และในบรรทัดสุดท้ายของตัวอย่าง จะเห็นว่ากำไรหลังจากหักภาษีแล้วเพิ่มขึ้น โดยในกรณีที่ไม่ใช้สิทธิประโยชน์นั้นก็คือกรณีปกติซึ่งรายได้และค่าใช้จ่ายบันทึกตามจริง กำไรหลังหักภาษีเท่ากับ 800,000-160,000 = 640,000 บาท ส่วนกรณีที่ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีก็ทำให้กำไรหลังหักภาษีจริงๆ แล้วก็คือ 800,000-140,000 = 660,000 บาท
กฎหมายเกี่ยวกับภาษีแม้ว่าจะมีมากมายทำให้ท้อใจในการศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจ แต่ผลตอบ แทนที่ได้รับนั้นคุ้มค่า เพราะผลกำไรที่ได้เพิ่มขึ้นจากการเสียภาษีน้อยลง และยังลดความเสี่ยงจากความผิด พลาดที่ผิดไปแบบไม่ได้ตั้งใจ แต่ก็ต้องโดนโทษปรับเกิดความเสียหายขึ้น
ปัจจุบันก็มีหลายหน่วยงานที่จัดอบรม รวมทั้งกรมสรรพากรเองก็มีบริการให้สอบถามได้ด้วย อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีความรู้ที่ครบถ้วนเพียงพอ และภาษีก็เป็นหนึ่งในความรู้ที่สำคัญมากและมีผลต่อความสำเร็จด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันก็มีหลายหน่วยงานที่จัดอบรม รวมทั้งกรมสรรพากรเองก็มีบริการให้สอบถามได้ด้วย อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีความรู้ที่ครบถ้วนเพียงพอ และภาษีก็เป็นหนึ่งในความรู้ที่สำคัญมากและมีผลต่อความสำเร็จด้วยเช่นกัน