​EIC ปรับจีดีพีเศรษฐกิจไทยโต 3.4% รับส่งออกฟื้นตัว

Text : อีไอซี


    ส่องทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2560 อีไอซีปรับประมาณการการเติบโตเศรษฐกิจไทย (จีดีพี)เพิ่มขึ้นเป็น 3.4%YOY จาก 3.3% หลังการส่งออกฟื้นตัวชัดเจน เศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ ทั้งสหรัฐฯ ยุโรป จีนและกลุ่มประเทศ CLMV มีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง ซึ่งสินค้าส่งออกที่จะได้รับประโยชน์จากแนวโน้มดังกล่าว ได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีสัดส่วนราว 30% ของการส่งออกรวม อีไอซีจึงปรับประมาณการการขยายตัวของการส่งออกสินค้าของไทยเพิ่มขึ้นเป็น 3.5%YOY จาก 1.5%YOY ในประมาณการครั้งก่อน





    อย่างไรก็ตาม กำลังซื้อภายในประเทศยังชะลอตัว จากสภาวะตลาดแรงงานที่ซบเซาและรายได้เกษตรกรที่มีแนวโน้มลดลงใน ครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ อีไอซีคาดว่าเศรษฐกิจในประเทศครึ่งปีหลังจะได้แรงหนุนจากการเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากงบกลางของภาครัฐซึ่งจะช่วยให้กำลังซื้อปรับตัวดีขึ้นได้โดยเฉพาะในต่างจังหวัด


     ภาคเอกชนยังไม่จ้างงาน-เพิ่มกำลังการผลิต

    ธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงไม่เพิ่มการ จ้างงานแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากการฟื้นตัวของการส่งออกนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในส่วนที่ใช้แรงงานมากนัก เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากแต่กลับมีต้นทุนแรงงานเพียง 4% ของต้นทุนรวม ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจก็ยังคงชะลอการลงทุนใน สินทรัพย์ถาวร ได้แก่ การก่อสร้างและการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร ส่วนหนึ่งมาจากการที่ธุรกิจขนาด ใหญ่หันไปลงทุนในรูปแบบของการควบรวมกิจการมากขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยสัดส่วนของเงินลงทุนเพื่อควบ รวมกิจการต่อเงินลงทุนระยะยาวทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก 11% มาอยู่ที่ 42% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งการเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว ทำให้ความต้องการในการใช้ปัจจัย การผลิตใหม่รวมถึงการจ้างงานมีแนวโน้มที่จะขยายตัวน้อยลง


    อีไอซีมองว่าเศรษฐกิจไทยในครึ่ง ปีหลังมีความเสี่ยงที่ต้องจับตา 3 ประการด้วยกัน ได้แก่

    1. กำลังซื้อครัวเรือนชะลอตัว ทั้งจากรายได้เกษตรกรที่มี แนวโน้มลดลงตามทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และรายได้ครัวเรือนนอกภาคเกษตรที่อาจไม่ได้ถูกปรับขึ้นหากตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัวซึ่งจะกระทบกับการใช้ จ่ายของกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง -น้อยที่มีภาระหนี้ครัวเรือนสูง อยู่แล้ว 


    2. ค่าเงินบาทแข็งเมื่อเทียบกับคู่ ค้าบางราย การเคลื่อนไหวของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมามีการแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินบางประเทศ เช่น จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม หากเงินบาทยังคงแข็งค่าในลักษณะ นี้ต่อไปจะทำให้การส่งออกของไทย ในบางสินค้าที่ต้องแข่งขันกับประเทศดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะเสียเปรียบในด้านราคาได้ โดยสินค้าที่ต้องจับตา ได้แก่ กลุ่มอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (semiconductor) ชิ้นส่วนโทรศัพท์ ยางพารา และข้าว


    3. ตลาดการเงินโลกมี ความเปราะบางเพิ่มขึ้น ราคาสินทรัพย์ทางการเงินที่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงมาอย่างต่อเนื่องทั้งพันธบัตร หุ้น และสกุลเงินในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งเงินบาทไทย อาจได้รับผลกระทบจากแนวโน้มนโยบายการเงินสหรัฐฯ ที่ตึงตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะข้างหน้าทั้งจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการเริ่มลดขนาดงบดุลในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ ตลาดการเงินโลกยังมีความเสี่ยงที่จะถูกกระทบจากปัญหาทางภูมิ รัฐศาสตร์ระหว่างประเทศที่ คาดเดาได้ยาก ทั้งความไม่แน่นอนในการบริหารรัฐบาลและนโยบายต่างประเทศของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี และความไม่สงบในภูมิภาคตะวันออก กลาง

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้