ห่วงต้นทุนพุ่ง กดดันธุรกิจ SME

Text : เรียบเรียงจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี

 
 




     ตั้งแต่ต้นปีมานี้ดูเหมือนว่าทิศทางเศรษฐกิจยังคงทรงตัวต่อเนื่อง สอดรับไปกับความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SME ที่ได้จากการทำสำรวจของศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี ทั้งนี้ จากการเปิดเผยของ เบญจรงค์ สุวรรณคีรี หัวหน้านักวิเคราะห์ (Head Economist) ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี บอกชัดเจนว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SME อยู่ที่ 40.6 ทรงตัวจากระดับ 40.0 ในไตรมาสก่อน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 49.4 ลดลงจากระดับ 50.9 จากไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นด้านต้นทุนปรับตัวลดลง

 
     “ผู้ประกอบการ SME มองเศรษฐกิจต้นปี 2560 ทรงตัวจากปลายปีก่อน โดยความมั่นใจด้านรายได้ใกล้เคียงกับผลสำรวจไตรมาสก่อน ผลจากช่วงปลายปีซึ่งเป็นช่วงเทศกาลที่มีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มเติมส่งผลต่อเนื่องถึงช่วงต้นปี แต่ประเด็นที่สำคัญในไตรมาสนี้คือ ผู้ประกอบการกลับมาให้ความสำคัญเรื่องของต้นทุนอีกครั้ง โดยความเชื่อมั่นด้านต้นทุนปรับตัวลดลงในทุกภูมิภาค สะท้อนถึงปัจจัยต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่สร้างแรงกดดันต่อการดำเนินกิจการเพิ่มขึ้น”



  



    ทั้งนี้ ผลการสำรวจปัจจัยที่ผู้ประกอบการทั่วประเทศกังวลในการดำเนินธุรกิจพบว่า ร้อยละ 57.0 กังวลปัญหาเศรษฐกิจ กำลังซื้อในพื้นที่และการแข่งขัน ซึ่งลดลงจากร้อยละ 66.2 ของไตรมาสก่อน ด้านความกังวลเรื่องต้นทุนการทำธุรกิจเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.1 จากร้อยละ 4.8 ในไตรมาสก่อน โดยผู้ประกอบการมองว่า ต้นทุนสินค้าขาย ค่าจ้างแรงงาน ราคาน้ำมัน และดอกเบี้ย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความกังวลเรื่องการบริหารจัดการธุรกิจเพิ่มเป็นร้อยละ 16.9 จากร้อยละ 11.4 ในไตรมาสที่ผ่านมา
 

    “ผู้ประกอบการ SME มองว่า ราคาวัตถุดิบ/สินค้าขาย ค่าจ้างแรงงาน ราคาน้ำมันและพลังงาน ต้นทุนทางการเงิน เริ่มมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น จนส่งผลให้การบริหารจัดการธุรกิจมีความท้าทายมากขึ้น เช่น การจัดหาวัตถุดิบ/สินค้าขาย การบริหารสต็อกสินค้า ความต้องการเงินทุนหมุนเวียน ทำให้การฟื้นตัวของธุรกิจ SME ในปีนี้อาจจะยังไม่ราบรื่นนัก” เบญจรงค์สรุป


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้