5 นิสัยการใช้เงินที่ควรเริ่มตั้งแต่วันนี้

 




เรื่อง ยุวดี ศรีภุมมา


    คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่มักจะกังวลใจเรื่องการใช้เงินในแต่ละเดือน บางคนมีปัญหาหนี้บัตรเครดิต บางคนมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ หลายคนสงสัยว่าเงินที่ได้รับมากมายหายไปไหนระหว่างเดือน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้คุณหมดเงินไปกับสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว แล้วคุณควรทำอย่างไร! ลองมาดู 5 นิสัยการใช้เงินเหล่านี้ที่จะช่วยให้เปลี่ยนคุณให้กลายเป็นคนใหม่ 


1. ติดตามทุกการเคลื่อนไหวในกระเป๋าสตางค์

    ในทุกการเข้าออกของเงินในกระเป๋าสตางค์ของคุณ มันคงเป็นเรื่องยุ่งยากเกินกว่าที่คุณจะต้องมานั่งนับว่าใช้อะไรไปเท่าไหร่กับเรื่องอะไรบ้าง แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการที่คุณปล่อยให้เงินในกระเป๋าออกไปโดยที่ไม่ได้มีการจดไว้ คุณกำลังเสียเงินไปโดยใช่เหตุมากกว่าที่คุณคาดคิด มีคนจำนวนมากลองหันมาเปลี่ยนนิสัยการใช้เงิน โดยเริ่มจากการเขียนค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน รวมไปถึงรายรับ พวกเขาต่างตกใจถึงเงินที่ออกไปจากกระเป๋า เมื่อเราทำตัวเลขเงินเหล่านี้ให้กลายเป็นรูปธรรม นั่นจะช่วยให้คุณสามารถคำนวณการใช้จ่ายในอนาคตได้ 


2. ใช้กฎ 48 ชั่วโมง 

    คุณผู้หญิงหลายคนคงเคยเลือกซื้อสินค้าที่คิดว่าตนเองชอบและจ่ายเงินเป็นจำนวนมาก โดยมานั่งเสียใจทีหลังว่าไม่ควรซื้อสิ่งนั้นมาเลย เราลองมาเปลี่ยนจากการตัดสินใจฉับไวและรวดเร็วมาใช้กฎ 48 ชั่วโมงดูสิ! ก่อนที่คุณจะตัดสินใจซื้อสินหรือสิ่งต่างๆที่คุณอยากได้ คุณควรให้เวลาตัวเองตัดสินใจเป็นเวลา 48 ชั่วโมง เพื่อไตร่ตรองถึงความรู้สึกที่แท้จริงว่าคุณจะไม่เสียใจภายหลังหากได้มันมาครอบครอง และหากคุณอยากได้จริงๆ คงไม่สายเกินไปที่คุณจะเดินกลับไปซื้อ


3. เริ่มต้นด้วยการออมเงินทีละนิด

    ในทุกๆปี คุณอาจจะมีเป้าหมายการใช้เงินที่ตั้งเป้าไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเงินไปเที่ยว การซื้อของขวัญให้คนรัก การซื้อของที่อยากได้ให้ตนเอง แต่หากคุณต้องเสียก้อนใหญ่ครั้งเดียวมันอาจจทำให้สมดุลการเงินของคุณต้องเสียศูนย์ ลองใช้การตั้งเป้าหมายการออมเงินและใช้วิธีเก็บเงินทีละนิดในแต่ละเดือนให้ได้ตามเป้า เช่น คุณวางแผนไปเที่ยวในช่วงสิ้นปี ต้องใช้เงินจำนวน  10,000 บาท คุณอาจจะเริ่มเก็บเงินตั้งแต่ต้นปีเดือนละ 1,000 บาท อาจจะทำให้คุณได้เงินมากพอไปเที่ยวและยังเหลือเพื่อนำไปซื้อของให้คู่รักได้อีกด้วย 


4. ตัวช่วยการออมเงินอัตโนมัติ

    คงไม่ใช่คนทุกคนที่จะมีนิสัยรักการออมเงินหรือเก็บเงินไว้กับตนเองโดยที่ไม่ใช้เงินไปกับสิ่งของที่อยากได้ คนส่วนใหญ่เมื่อถือเงินไว้กับตัวก็มักจะใช้จ่ายไปโดยไม่ระวังเสมอ ลองมาใช้การเปิดบัญชีแบบ Saving Account ดูสิ การเปิดปัญชีในลักษณะนี้จะแบ่งแยกจากบัญชีแบบ Checking Account ได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเก็บออมเงินได้ดีกว่า คุณสามารถฝากเงินที่คุณจะออมและไม่ต้องการถอนออกไว้ในบัญชี Saving และฝากเงินที่คุณต้องใช้ประจำไว้ในบัญชี Checking เพียงเท่านี้คุณก็ไม่ต้องกังวลว่าจะใช้เงินปนกันจนไม่มีเงินเหลือเก็บอีกต่อไป


5. คิดให้เหมือนนักลงทุน

    ลองถามตัวคุณเองดูว่า ทำอย่างไรที่เงินจำนวนน้อยนิดจะออกดอกออกผลให้คุณได้ในระยะยาว คุณจะยอมทนให้ได้ดอกเบี้ยเพียงแค่ 0.1 เปอร์เซ็นต์ไปทำไมในเมื่อคุณสามารถได้มากกว่านั้น ลองศึกษาการลงทุนหรือการเล่นหุ้น อาจจะฟังดูเสี่ยง แค่สิ่งที่สำคัญคือการเริ่มต้นมากกว่าจะทำให้ทุกอย่างเพอร์เฟ็ค คุณอาจจะลองกันเงินเล็กน้อยในขณะที่เริ่มต้นลงทุนและศึกษาการลงทุนอย่างระมัดระวัง นั่นอาจจะทำให้คุณได้ผลตอบแทนอย่างที่คุณคิดไม่ถึงก็เป็นได้ 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อความสำเร็จของธุรกิจเอสเอ็มอี (SME)


 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้