ไอเดียเพิ่มยอดขาย 5 เท่า จากทายาท “ขนมทันจิตต์” ใช้เผือกตะแกรงเป็นตัวชูโรง

TEXT : Neung Cch.

PHOTO : สุนันท์ ล้อสมทรัพย์

Main idea

  • ใครจะเชื่อว่าพลังเฟซบุ๊กกรุ๊ปจะส่งผลให้ขนมตะแกรงเผือก กลับมามีออร์เดอร์ทะลักทะลวงอีกครั้ง นั่นก็เป็นสัญญาณให้ "อีฟ-อัมภานุช บุพไชย" ซึ่งกำลังเรียนจบปริญญาโท ตัดสินใจมาช่วยธุรกิจบ้านแฟน "เอ๋-กษิรา ขันติศิริ" ที่ทำธุรกิจขนมมากว่า 40 ปี ไม่ให้ต้องสูญหายไปพร้อมโควิด

 

  • พร้อมนำชื่อคุณพ่อมาสร้างแบรนด์ในชื่อ “ขนมทันจิตต์” โดยมีเผือกทอดรูปตะแกรงเป็นตัวชูโรง ที่ขายดีจนมีคนลอกเลียนแบบ จนทางแบรนด์ต้องพัฒนาสายพันธุ์เผือกขึ้นมาโดยเฉพาะ พร้อมแนวคิด Zero waste นำเปลือกเผือกไปผลิตเป็นรองเท้า

 

ธุรกิจยุคนี้ต้องมี Story

     ด้วยความที่เป็นสะใภ้ ไม่ได้คลุกคลีกับธุรกิจขนมมาตั้งแต่เด็ก อัมภานุช จึงมองหาลู่ทางว่าสิ่งที่เธอพอจะช่วยเหลือธุรกิจที่บ้านแฟนได้คือ การตลาดออนไลน์ ที่เธอเริ่มจากให้คุณพ่อเป็นศิษย์เก่าธรรมศาสตร์เล่าเรื่องผ่านคลิปนำไปลงในเฟซบุ๊กกรุ๊ปจนกลายเป็นไวรัลชั่วข้ามคืน มีคนกดไลก์ประมาณหมื่นไลก์ จากนั้นเริ่มมีรายการต่างๆ มาสัมภาษณ์ จากจุดนั้นทำให้เธอหันมาพัฒนาช่องทางออนไลน์จริงจังมากขึ้นเปิดเพจ ขนมทันจิตต์ Kanomtanchit

     “ขนมของเรามีจุดแข็งในเรื่อง Story เป็นครอบครัวนักรังสรรค์ขนมของฝากที่มีประวัติยาวนานกว่า 40 ปี โดยเฉพาะเผือกที่ใช้วิธีสไลด์จนได้รูปตะแกรง ซึ่งมันเป็นเรื่องแปลกมากเมื่อสมัยเมื่อ 40 ปีแล้ว กลายเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะคนที่อายุ 55 ปีขึ้นไปถ้าเขาเคยกินจะจำได้ อีฟเหมือนเป็นคนกลางที่นำ story เหล่านั้นมาถ่ายทอดออกไปให้คนได้รับรู้”

ต้องมีสินค้าตัวชูโรง

     นอกจากจะเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวขนมทันจิตต์แล้ว อัมภานุช ตัดสินใจนำเผือกตะแกรงมาเป็นตัวชูโรงในการที่จะสร้างแบรนด์

     “ตอนแรกเผือกตะแกรงยังเป็นแค่สินค้าเสริมไม่ใช่สินค้าหลัก แต่สาเหตุที่อีฟเลือกเอาเผือกมาทำแบรนด์เพราะว่ามันค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ คู่แข่งน้อย ไม่เหมือนข้าวตังคู่แข่งเยอะมาก อีฟเลยมองว่าอันนี้น่าจะไปได้ พอเราจับจุดถูก เพิ่มช่องทางขายให้มากขึ้นจากร้านของฝาก ก็มีเพจ มีไลน์แอด Shopee มีเว็บไซต์ ยอดขายดีขึ้น อดีตเคยขายได้แค่ 3-5 หมื่น ปัจจุบันขายได้ 1.2-1.5 แสนบาทต่อเดือน ยอดขายเพิ่ม 4-5 เท่า ซึ่งจริงๆ มันน่าจะเพิ่มได้มากกว่านี้แต่เพราะเราทำกันแค่ 2-3 คน มีแผนที่จะขยายกำลังการผลิตเพิ่ม”

ดีตั้งแต่ต้นทาง มีสายพันธุ์เผือกโดยเฉพาะ

     พอเผือกตะแกรงเริ่มขายดีก็เริ่มมีหลายแบรนด์พยายามเลียนแบบ ทางแบรนด์ทันจิตต์จึงพยายามพัฒนาสินค้าต่อไปโดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรกำแพงแสน  ทำไร่เผือกประมาณ 5 ไร่ อยู่ที่จังหวัดราชบุรี เพื่อให้ได้เผือกที่มีขนาด ความแข็งตามที่แบรนด์ต้องการ รวมทั้งพยายามผลักดันให้ไร่เผือกได้มาตรฐาน GAP ไม่ใช้สารเคมีในกระบวนการปลูก

     “เคยทดลองใช้เผือมาหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์เนื้อทรายๆ ไม่อร่อย บางสายพันธุ์พอทำด้วยกระบวนการเดียวก็แข็งไป จนมาลงตัวที่สายพันธุ์นี้ การลงทุนครั้งนี้เป็นการสร้างมาตรฐานๆ เพราะ Step ต่อไปเราอยากที่จะทำตลาดส่งออกต่อไป”

ต้องไม่ทำธุรกิจแบบเดิม

     ในการนำเผือกมาทำขนมนั้นจะมี waste ที่เกิดจากการผลิตค่อนข้างมากประมาณ 30-40% อัมภานุช จึงเอาแนวคิดจากวิชาทางด้านสถาปัตฯ ที่เรียนมาปรับใช้ในการทำธุรกิจคือ การคิดนอกกรอบ ไม่ยิดติดว่าเผือกต้องทำเป็นอาหารเท่านั้น

     “เริ่มมาเปลี่ยนความคิดว่า ถ้าเราไม่ได้ทำแบบแพทเทิร์นเดิมๆ ที่พ่อแม่เคยทำ ลองทำแพทเทิร์นใหม่ โดยใช้เผือกเป็นตัวต่อยอดไปเรื่อยๆ มันจะไปได้ไกลสักแค่ไหน เช่น เอาเนื้อเผือกส่วนที่เหลือไปทำเผือกแท่งอบกรอบ เอาเปลือกเผือกไปทำรองเท้าซึ่งตอนนี้ก็ยังเป็น prototype กำลังพัฒนาต่อไป”

ปัจจัยทำให้ขนมทันจิตต์เติบโต

            อัมภานุช บอกว่าการที่ธุรกิจเธอค่อยๆ เติบโตผ่านวิกฤตโควิดมาได้ เพราะหนึ่ง ยึดลูกค้าเป็นหลัก สอง มองว่าธุรกิจตัวนี้มีโอกาสเติบโตมากน้อยแค่ไหน

“เราจะทำอย่างไรไม่ให้เป็นแค่ธุรกิจเพื่ออยู่รอดจากวิกฤตครั้งนี้ แต่ทำอย่างไรให้ธุรกกิจอยู่รอดได้ต่อให้เจอวิกฤตอะไรฉันก็ไม่กลัว เราพยายามทำให้เป็นระบบมากขึ้น อย่างหนึ่งที่อีฟทำสม่ำเสมอคือ สัมภาษณ์ลูกค้าแบบอินไซด์ โทรถามเลย เพราะว่ามันได้ data บางอย่างที่พัฒนาแบรนด์ พัฒนาคอนเทนต์ พัฒนาช่องทางขายได้ แล้วเราก็สนิทกับลูกค้ามากขึ้นด้วย”

       ผู้ประกอบการจากกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้แข่งขันได้ในยุค Next Normal ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โดยกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ขนมทันจิตต์

https://www.kanomtanchit.com

Facebook : ขนมทันจิตต์ Kanomtanchit

Instagram : Kanomtanchit

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

รวม 3 แบรนด์มะขาม รายได้ 100 ล้าน

พาไปส่อง 3 แบรนด์มะขามดัง ทั้งมะขามสารัช บ้านมะขาม และจี๊ดจ๊าด ที่บอกเลยว่ารายได้ไม่ธรรมดา เพราะเติบโตจนมีรายได้หลัก 100 ล้านบาท

ทำร้านเบเกอรี่ยังไงให้เนื้อหอม? SmoreBite ชลบุรี แค่ 2 เดือนมีห้างดังรุมจีบ

 แค่ 2 เดือน “เซฟ-ปัณฑา ลอออรรถพงศ์” หนุ่มน้อยวัย 24 ปี ก็พา SmoreBite ร้านเบเกอรี่ในชลบุรี ปังจนห้างดังอย่างพารากอนและเดอะมอลล์ต้องมาจีบ ... เขาทำได้อย่างไร

The Bus Collective เปลี่ยนรถบัสเก่าเป็นโรงแรมสุดชิค ผสานดีไซน์ล้ำกับการท่องเที่ยวยั่งยืนอย่างลงตัว

โมเดลธุรกิจที่เปลี่ยนรถบัสปลดระวางให้กลายเป็น “ที่พักระดับพรีเมียม” โปรเจกต์นี้ไม่เพียงแต่สร้างมูลค่าใหม่จากทรัพยากรที่หมดอายุการใช้งาน แต่ยังตอบโจทย์เทรนด์ การท่องเที่ยวยั่งยืนที่กำลังเป็นกระแสไปทั่วโลก