รู้ให้ทัน 8 ความท้าทาย ชี้ชะตาการอยู่รอดของธุรกิจยุคใหม่

 

 

      บนเส้นทางสนามการค้า ใครก็อยากชีวิตรอดและขยายอาณาจักรให้อยู่ได้อย่างมั่นคงในอนาคต แต่เมื่อเส้นทางการทำธุรกิจให้สำเร็จไม่ได้ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก แค่ความตั้งใจและการวางแผนงานที่ดี อาจยังไม่เพียงพอที่จะสร้างแบรนด์ให้เติบโตอย่างยั่งยืน เท่ากับการเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งจำเป็น

      กว่า 2 ปีที่ผ่านมา ตัวแปรสำคัญจากการระบาดของโควิด – 19 และความก้าวไกลของเทคโนโลยีเป็นชนวนที่ทำให้โลกเกิดความท้าทาย โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เรื่องเหล่านี้เป็นปัญหาที่ทุกคนต้องเผชิญไม่ว่าจะเป็น

8 ความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญในการทำธุรกิจยุคใหม่

  • การคิดใหม่ และสร้างความแตกต่าง เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางของผู้บริโภคหรือกลุ่มผู้ใช้งานที่มักมองหา สิ่งใหม่ที่แตกต่างและตอบสนองความต้องการของตนเองได้ ดังนั้น ในโลกธุรกิจยุคใหม่ผู้ประกอบการยิ่งจำเป็นจะต้องหาผลประโยชน์พิเศษที่ที่สร้างความแตกต่างอย่างโดดเด่นเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเสมือนเพื่อนที่พึ่งพากันได้แม้ในยามวิกฤต
  • การสร้างโซลูชันที่สอดรับกับ Pain Point ของผู้บริโภคในยุคที่ต้องเผชิญกับวิกฤต ผู้ประกอบการที่รู้เร็ว ขยับ และปรับตัวทัน จะสามารถคว้าโอกาสในการสร้างทางเลือกที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้คนและสังคมได้
  • การมองกำไรเป็นเป้าหมายสูงสุด ทำให้ขาดเวลาในการพัฒนาหรือยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงผู้ใช้ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่สร้างผลิตภัณฑ์ที่ดี และมีเป้าหมายในการสร้างคุณค่าที่แตกต่างให้กับวิถีชีวิตที่ชัดเจน
  • การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร โดยเฉพาะเรื่องวิธีคิด ระบบการทำงาน แนวทางการแก้ปัญหา รวมทั้งในเรื่องของทรัพยากรมนุษย์ที่ยังยึดติดกับกรอบการทำงานแบบเดิม จนไม่สามารถก้าวทันโลกหรือคู่แข่งที่เปลี่ยนแปลงไปได้
  • การเปลี่ยนความเชื่อเรื่อง “แบรนด์ไทย” ที่ยังถูกมองว่าไทยเป็นเพียงฐานการผลิต หรือการทำธุรกิจเพื่อองค์ประกอบของสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ความจริงแล้ว ไทยมีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นเจ้าของนวัตกรรม หรือแบรนด์ที่มีศักยภาพแข่งขันในระดับสากล
  • การเข้าใจความหมายของ “นวัตกรรม” ซึ่งหลายคนมักนึกถึงความทันสมัย หรือเทคโนโลยีขั้นสูง จึงเกิดความไม่มั่นใจที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือความแปลกใหม่ให้กับธุรกิจ แต่แท้จริงแล้วเป็นเรื่องการเปลี่ยนกระบวนการทำ การคิดแบบใหม่ หรือการขับเคลื่อนงานด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด
  • การเข้าแข่งขันผิดตลาด จึงต้องมีการวิเคราะห์ตลาดและความสามารถของตนเองให้อยู่ในขอบเขตความเชี่ยวชาญ หรือเรื่องที่สามารถแข่งขันได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ
  • การวิเคราะห์ความเสี่ยง เพื่อเตรียมแผนสำรอง แนวทางการป้องกัน และการแก้ไขหากเกิดการปัญหา หรือเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน

 

ที่มา: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

ขายแค่มาม่า ก็ยืนหนึ่ง! มาม่าฟ้าธานี ธุรกิจเล็กที่สร้างตำนานได้

แม้ว่าจะขายเพียง "มาม่า" ซึ่งเป็นสินค้าธรรมดาเพียงอย่างเดียว แต่ "มาม่าฟ้าธานี" กลับได้รับที่นิยม และประสบความสำเร็จอย่างมาก ความสำเร็จนี้สามารถวิเคราะห์ได้จากหลายปัจจัยที่น่าสนใจ

แผ่นดินไหววงการอาหารไทย 2025 SME รับมือยังไง? แบรนด์ใหญ่บุกตลาดแมส

จากกลยุทธ์สงครามราคาของแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดยักษ์ใหญ่ที่แข่งขันชิงส่วนแบ่งตลาดแมส ในยุคเศรษฐกิจไม่แน่นอนเช่นนี้ ผู้ประกอบการรายย่อย จะเรียนรู้และรับมืออย่างไร?