เอสเอ็มอีจะสร้างโอกาสยังไง เมื่อบริษัทใหญ่รุกลงทุนธุรกิจขนาดเล็ก

 

     การแข่งขันในโลกธุรกิจที่รุนแรงเป็นตัวเร่งให้บริษัทขนาดใหญ่หรือคอร์ปอเรทต้องมองหาธุรกิจสตาร์ทอัพหรือเอสเอ็มอีในการเข้าซื้อกิจการเพื่อสร้างโอกาสการเติบโตครั้งใหม่ เรามาดูกันว่าผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กจะมองหาโอกาสนี้อย่างไรได้บ้าง

ตามหา New S Curves

     บริษัทที่อยู่ในธุรกิจดั้งเดิมเช่น ค้าปลีก พลังงาน อาหาร แม้ว่าจะมีความมั่นคงสูงแต่โอกาสที่จะเติบโตก็มีน้อยเช่นกัน บริษัทเหล่านี้ต้องการมองหาสิ่งที่จะช่วยเร่งการเติบโตซึ่งอาจจะเป็นธุรกิจใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมที่ทำอยู่เลยก็ว่าได้ บริษัทเหล่านี้ก็จะมองหาสิ่งที่จะเป็น New S Curve หรือธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูงด้วยเทคโนโลยียุคใหม่

     ถ้าหากเราอยู่ในธุรกิจที่มุ่งเน้นนวัตรกรรมหรือเป็นเทคโนโลยีเกิดใหม่ไม่ว่าจะเป็นบล็อกเชน สกุลเงินดิจิทัล เอไอ บิ๊กดาต้า ฯลฯ นี่คือโอกาสที่จะเสนอธุรกิจของเราให้กับบริษัทที่ต้องการมองหาจุดเปลี่ยนสำคัญทางธุรกิจ

ขยาย Supply Chain ของตัวเอง

     บางครั้งธุรกิจที่มีความเข้มแข็งแล้วอาจจะต้องมองหาธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจเดียวกันหรือใกล้เคียงกันและซื้อกิจการเข้ามาอยู่ในพอร์ตรวมทางธุรกิจเพื่อที่จะขยายโครงสร้างธุรกิจหรือซัพพลายเชนของตัวเองให้ใหญ่ขึ้น นอกเหนือจากทำให้ธุรกิจในมือขยายตัวมากขึ้นยังมีประโยชน์ในแง่ของต้นทุนอีกด้วย

     ตัวอย่างเช่นธุรกิจร้านอาหารรายใหญ่ถ้าหากซื้อกิจการร้านอาหารขนาดเล็กกว่าเข้ามารวมกันจะทำให้เกิด Economy Of Scale ที่จะสามารถแชร์ต้นทุนต่างๆร่วมกันได้เช่นวัตถุดิบต่างๆ ซึ่งจะส่งผลบวกต่อทั้งคู่

     ธุรกิจที่เหมาะสมกับรูปแบบดังกล่าวอาจจะเป็นธุรกิจดั้งเดิมที่ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีใหม่มากนักแต่มีจุดขายเป็นของตัวเองไม่ว่าจะเป็นโปรดักต์ที่โดดเด่นแตกต่างหรือมีตลาดเฉพาะตัวที่เข้มแข็ง

ต้องการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีใหม่

     ทั่วไปแล้วการค้นคว้าวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ให้กับองค์กรอาจจะต้องใช้ทั้งเงินลงทุนรวมถึงเวลาเพื่อที่จะพิสูจน์ว่าเทคโนโลยีที่ได้ลงทุนไปสามารถใช้งานได้จริงและหลายครั้งก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จ ทำให้เกิดแนวคิดของการที่บริษัทขนาดใหญ่ตัดสินใจเข้าเทคโอเวอร์กิจการขนาดเล็กเพื่อให้ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีรวมถึงทีมงานผู้ก่อตั้งไปในตัว

     หากเราเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่แต่อาจจะมีจุดอ่อนในการเข้าถึงตลาดหรือถนัดการเป็นธุรกิจ B2B มากกว่า นี่คือโอกาสที่จะนำเสนอเทคโนโลยีให้กับผู้เล่นรายใหญ่กว่า เช่น หากเราเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีการเงินก็สามารถเสนอเทคโนโลยีให้กับสถาบันการเงินดั้งเดิมได้

     ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นแนวทางใดก็ตาม ผู้ประกอบธุรกิจต้องนำเสนอจุดแข็งของตัวเองให้ภาคธุรกิจมองเห็นโอกาสและเข้ามาร่วมธุรกิจด้วย อย่างไรก็ตามการเข้ามาเทคโอเวอร์หรือถือหุ้นในกิจการของรายใหญ่จะทำให้เราสูญเสียอำนาจในการตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียวหรืออาจจะต้องสูญเสียความเป็นเจ้าของทั้งหมดไป ผู้ประกอบการจึงต้องตัดสินใจให้ถ้วนถี่ก่อนนำเสนอธุรกิจของตัวเอง

Text: นเรศ เหล่าพรรณราย

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

เสิร์ฟร้อยรสด้วยไอเดีย! เปิดสูตรความปัง “ไอติม 100 รส” ที่อยู่คู่เชียงใหม่นาน 15 ปี

มาพบกับร้านไอศกรีมที่ไม่ได้แค่เสิร์ฟความหวาน แต่ยังเต็มไปด้วยเรื่องราวน่าประทับใจ “ไอติม 100 รส” แม้ว่าจะมีเมนูเดียวแต่ก็เต็มไปด้วยความพิเศษที่ทำให้ร้านนี้ยืนหยัดอยู่คู่กับเชียงใหม่มานานนับสิบปี

เกือบหลับ แต่กลับมาเป็นธุรกิจร้อยล้าน Plantae - La Glace 2 แบรนด์รุ่นใหม่ใจถึงทำถึง

Plantae และ La Glace สองแบรนด์รุ่นใหม่คือ ตัวอย่างของผู้ที่ไม่ยอมแพ้ ทั้งคู่ต่ายเคยตกอยู่ในวิกฤต แต่ด้วยแพชชันและการปรับตัวที่รวดเร็ว พวกเขากลับมาสร้างรายได้ระดับร้อยล้านได้สำเร็จ

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร