รับชำระเงินด้วยคริปโต มีความเสี่ยงจริงหรือไม่??

Text: นเรศ เหล่าพรรณราย

 

     จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกจดหมายแสดงความคิดเห็นว่าไม่สนับสนุนที่จะให้ภาคธุรกิจรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสกุลเงินดิจิทัลหรือ Cryptocurrency หลังช่วงที่ผ่านมาภาคธุรกิจต่างตื่นตัวในประเด็นนี้กันอย่างมาก โดยให้เหตุผลว่ามีความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน อาชญากรรมทางไซเบอร์และข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล

     ความจริงแล้วการที่ภาคธุรกิจออกมารับสกุลเงินดิจิทัลในการชำระค่าสินค้าและบริการถือว่าเป็นความเสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยว่ามาหรือไม่??

     คำตอบคือหากมีการใช้บริการศูนย์กลางซื้อขายหรือ Exchange ที่ได้รับใบอนุญาตอย่างเป็นทางการจากกระทรวงการคลังและ ก.ล.ต. ปัญหาดังกล่วจะไม่เกิดขึ้นหรือมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิด

     เหตุผลคือ Exchange ที่อยู่ภายใต้กฎหมายไทยจะต้องส่งข้อมูลของลูกค้าไปยัง ป.ป.ง. เพื่อป้องกันการที่จะใช้ช่องทางดังกล่าวในการฟอกเงิน นอกจากนี้ยังต้องได้รับการตรวจสอบมาตราฐานทางด้านเทคโนโลยีว่ามีระบบรักษาความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือหรือไม่ รวมถึงการที่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน เท่ากับว่าปัญหาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกังวลไม่น่าที่จะเกิดขึ้น

     แต่ถ้าหากร้านค้าหรือลูกค้าไปใช้บริการ Wallet หรือ Exchange ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตหรือผ่านการตรวจสอบจาก ก.ล.ต. ความเสี่ยงในเรื่องของการโจรกรรมทางไซเบอร์ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดจนถึงการนำไปใช้เป็นแหล่งของการฟอกเงินและความเสี่ยงที่ข้อมูลของลูกค้าจะรั่วไหล

     สำหรับประเด็นที่ราคาของ Cryptocurrency มีความผันผวนสูงซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจได้รับผลกระทบจากการที่รับชำระด้วยคริปโต ประเด็นนี้แก้ไขได้โดยการใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันที่ Exchange จะเป็นผู้รับแลกเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนจาก Cryptocurrency ให้เป็นสกุลเงินบาทได้โดยทันทีเมื่อเกิดการชำระ เท่ากับว่าผู้ประกอบธุรกิจได้รับชำระค่าสินค้าและบริการมาเก็บในรูปแบบเงินบาทซึ่งไม่มีความเสี่ยง

     แต่ผู้ประกอบธุรกิจก็สามารถที่จะเลือกเก็บ Cryptocurrency ดังกล่าวไว้ใน Wallet ได้เช่นกันโดยดูจังหวะที่ราคามีความเหมาะสมค่อยแปลงกลับมาเป็นสกุลเงินบาทได้ซึ่งอาจจะมีความเสี่ยงหากราคา Cryptocurrency ที่เก็บไว้มีมูลค่าลดลง อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากในเรื่องของการจัดการบัญชีและความเสี่ยงของราคาก็ควรจะเลือกแปลงเป็นเงินบาทไว้ทันทีจะดีกว่า

     ในมุมของผู้ใช้งานจริงแล้ว Cryptocurrency ไม่ได้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการนำมาใช้แทนเงิน Fiat Currency แต่อย่างไรเนื่องจากราคาที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยคุณสมบัติของ Cryptocurrency โดยเฉพาะ Bitcoin ถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบของ Store Of Value หรือแหล่งสะสมความมั่งคั่งเช่นเดียวกับทองคำ

     โดยผู้ที่ถือครอง Bitcoin สามารถแบ่งบางส่วนมาใช้ในการจับจ่ายซื้อของในชีวิตประจำวันได้ถ้าหากร้านค้านั้นๆเปิดรับ ไม่ได้หมายความว่าเก็บ Cryptocurrency นั้นๆ ไว้เพื่อจุดประสงค์ในการนำมาใช้จ่ายแทนเงินโดยตรง

     กระแสของเทคโนโลยีโดยเฉพาะสังคมไร้เงินสดกำลังเข้ามาในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจควรต้องศึกษาช่องทางดังกล่าวไว้เป็นทางเลือกสำหรับลูกค้าที่มีความเข้าใจใน Cryptocurrency และรับความเสี่ยงได้

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

รวม 3 แบรนด์มะขาม รายได้ 100 ล้าน

พาไปส่อง 3 แบรนด์มะขามดัง ทั้งมะขามสารัช บ้านมะขาม และจี๊ดจ๊าด ที่บอกเลยว่ารายได้ไม่ธรรมดา เพราะเติบโตจนมีรายได้หลัก 100 ล้านบาท

The Bus Collective เปลี่ยนรถบัสเก่าเป็นโรงแรมสุดชิค ผสานดีไซน์ล้ำกับการท่องเที่ยวยั่งยืนอย่างลงตัว

โมเดลธุรกิจที่เปลี่ยนรถบัสปลดระวางให้กลายเป็น “ที่พักระดับพรีเมียม” โปรเจกต์นี้ไม่เพียงแต่สร้างมูลค่าใหม่จากทรัพยากรที่หมดอายุการใช้งาน แต่ยังตอบโจทย์เทรนด์ การท่องเที่ยวยั่งยืนที่กำลังเป็นกระแสไปทั่วโลก