สสว.มั่นใจ SME Provincial Champions ดันเศรษฐกิจไทยสู่ยุค 4.0





     สสว.ยืนยันโครงการพัฒนาสู่สุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด หรือ SME Provincial Champions ประสบผลสำเร็จเกินเป้าหมาย ผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้น 4,642.43 ล้านบาท ย้ำแผนปี 60 เร่งดำเนินการต่อเนื่องเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใส่นวัตกรรมและเทคโนโลยียกระดับให้เป็น SME 4.0

     นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)  กล่าวว่า โครงการพัฒนาสู่สุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด (SME Provincial Champions) ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยในปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการมีรายได้และผลิตภาพเพิ่มสูงขึ้น 4,642.43 ล้านบาท ซึ่งในปีงบประมาณ 2560 นี้ สสว.ได้ดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นส่งเสริมและผลักดันให้ SME เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ ให้มีการเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

     ทั้งนี้ สสว.ได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์, หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในการตรวจประเมินและวินิจฉัยสถานประกอบการเชิงลึก พบว่ากลุ่ม Start Up ให้ความสำคัญกับการเพิ่มยอดขายมากกว่าการเพิ่มผลิตภาพ ดังนั้นแนวทางในการพัฒนาส่วนใหญ่ จึงเป็นการพัฒนา Product ให้ได้มาตรฐาน การพัฒนา Packaging  รวมทั้งกลยุทธ์ทางการตลาด เพราะจะช่วยเพิ่มยอดขายเป็นหลัก

     ในส่วนของกลุ่ม Rising Star ที่มีความชำนาญในการขาย มีความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตหรือลดต้นทุนผลิต ซึ่งในกลุ่มนี้มีอัตราการเพิ่มขึ้นของยอดขาย  ร้อยละ 12.88 ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของมูลค่าผลิตภาพเพิ่มสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 12.15

     ในกลุ่มTurn Around เป็นกลุ่มที่ประสบปัญหาด้านยอดขายและด้านการเงิน ดังนั้นการพัฒนาจึงต้องดำเนินการทั้งเรื่องการเพิ่มยอดขาย การเพิ่มผลิตภาพการผลิต และการหาแหล่งเงินทุน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน

     ทั้งนี้ ในภาพรวมของโครงการฯ สามารถเพิ่มรายได้และผลิตภาพ ร้อยละ 21.06 ต่อปี สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาทางด้านมูลค่าทางเศรษฐกิจ  พบว่าผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ มีรายได้รวม 22,047.17 ล้านบาท และเมื่อผ่านกระบวนการพัฒนาภายใต้โครงการพัฒนาสุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด ทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้และผลิตภาพเพิ่มขึ้น 4,642.43 ล้านบาท

     กุญแจสำคัญในการสร้างความสำเร็จให้กับสินค้าอาหารของเอสเอ็มอี คือการมีบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม มีฉลากข้อมูลครบถ้วนจะช่วยสื่อถึงคุณภาพของสินค้า ช่วยสร้างแบรนด์ และยังเป็นด่านแรกที่ดึงดูดใจผู้บริโภคให้ตัดสินใจซื้อสินค้า การมีมาตรฐานของสินค้าที่ต้องให้ความสำคัญมากกว่าที่จะแข่งขันด้วยราคา และรสชาติอาหารต้องอร่อยถูกปากผู้บริโภคส่วนใหญ่ ซึ่งถ้าผู้ประกอบการสามารถพัฒนาสินค้าให้มีบรรจุภัณฑ์ที่ดี อาหารรสชาติอร่อย มีคุณภาพ มาตรฐานในราคาที่เหมาะสม ก็จะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ไม่ยาก

     เชื่อว่าภายใต้การดำเนินโครงการดังกล่าว จะช่วยพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้มีศักยภาพและความสามารถในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น ต่อยอดการยกระดับมาตรฐานสินค้าให้เป็นสากล พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการ พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการ ยกระดับให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเป็น SME 4.0 เป็นต้นแบบให้กับเอสเอ็มอีในจังหวัดและนำไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในระดับจังหวัดต่อไป


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

รวม 3 แบรนด์มะขาม รายได้ 100 ล้าน

พาไปส่อง 3 แบรนด์มะขามดัง ทั้งมะขามสารัช บ้านมะขาม และจี๊ดจ๊าด ที่บอกเลยว่ารายได้ไม่ธรรมดา เพราะเติบโตจนมีรายได้หลัก 100 ล้านบาท

ทำร้านเบเกอรี่ยังไงให้เนื้อหอม? SmoreBite ชลบุรี แค่ 2 เดือนมีห้างดังรุมจีบ

 แค่ 2 เดือน “เซฟ-ปัณฑา ลอออรรถพงศ์” หนุ่มน้อยวัย 24 ปี ก็พา SmoreBite ร้านเบเกอรี่ในชลบุรี ปังจนห้างดังอย่างพารากอนและเดอะมอลล์ต้องมาจีบ ... เขาทำได้อย่างไร

The Bus Collective เปลี่ยนรถบัสเก่าเป็นโรงแรมสุดชิค ผสานดีไซน์ล้ำกับการท่องเที่ยวยั่งยืนอย่างลงตัว

โมเดลธุรกิจที่เปลี่ยนรถบัสปลดระวางให้กลายเป็น “ที่พักระดับพรีเมียม” โปรเจกต์นี้ไม่เพียงแต่สร้างมูลค่าใหม่จากทรัพยากรที่หมดอายุการใช้งาน แต่ยังตอบโจทย์เทรนด์ การท่องเที่ยวยั่งยืนที่กำลังเป็นกระแสไปทั่วโลก