“เข้าใจ-สร้างสรรค์-ทะเยอทะยาน” 3 ทักษะที่ SME ต้องปลูกฝังในตัวลูกจ้าง เพื่อสร้างองค์กรที่เติบโตกว่าหุ่นยนต์ โดยสรรพ์ชัยย์ บูรณ์เจริญ

 

     ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขี้น ด้านหนี่งก็ทำให้ชีวิตสะดวกสบาย แต่อีกด้านหนึ่งก็สร้างความหวั่นไหวให้คนทำงานไม่น้อย ไม่ว่าจะในฐานะลูกจ้าง พนักงานบริษัท หรือผู้ประกอบการ สำหรับ SME ถ้าจะสร้างความแตกต่างให้แข่งขันได้กับบริษัทขนาดใหญ่โดยใช้เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวคงต้องออกแรงเหนื่อยมาก แล้วอะไรคือจุดเด่นที่ SME ต้องรีบสร้าง
 

     ในตำราหลายเล่มที่ออกมาในช่วงนี้ได้เขียนถึงบทบาทของเทคโนโลยีในยุคอนาคต ว่าจะสามารถทำงานแทนมนุษย์ในหลายๆเรื่อง งานบางประเภทใช้หุ่นยนต์จะประหยัดเงินมากกว่า งานประเภทใช้หุ่นยนต์จะผิดพลาดน้อยลง หนังสือชื่อ Customers the Day After Tomorrow เขียนโดย Steven Belleghem ได้บอกว่า มี 3 เรื่องที่มนุษย์แตกต่างจากหุ่นยนต์ (Robot) หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และไม่มีทางที่ระบบอัตโนมัติซึ่งมนุษย์เป็นคนพัฒนาขึ้นจะมาทำแทนได้ เรื่องเหล่านี้คือ ความเห็นอกเห็นใจ (Emphaty) ความทะเยอทะยาน (Passion) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ทั้ง 3 เรื่องจะเกี่ยวข้องกับ Soft skill ทั้งหมด
 

     สรุปคือถ้าอยากเก่งและรอดในยุคดิจิทัล เราต้องมีทักษะที่แตกต่างจากสิ่งที่เทคโนโลยีทำได้



 

     ในวงการศึกษา จึงเกิดกรอบคิดใหม่ที่ผู้ปกครองมุ่งหวังจะให้ลูกเป็น หรือแม้แต่การพัฒนาทักษะใหม่ของตัวเอง (Re-skill) นอกจากความนิยมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว ความรู้ด้าน Soft skill กำลังเป็นที่สนใจอย่างมาก ความนิยมนี้สะท้อนจากเนื้อหาที่มีผู้เข้ามาเรียนใน Coursera ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ระดับโลก มีคอร์สจากมหาวิทยาลัยดังหลายแห่งมาเปิด มีผู้เข้าเรียนกว่า 4 ล้านคน พบว่า เนื้อหาด้าน Soft Skill ในชื่อคอร์ส The Scence of Well-Being ค่อยๆ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น 2-3 ปีก่อนคอร์สนี้ก็ติด 10 อันดับแรกตลอดเพียงแต่ไม่ฮิตเท่าคอร์สดิจิทัลอื่นๆ แต่ในปี 2020 ก็แซงหน้าคอร์สที่เกี่ยวกับดิจิทัล อาทิ Machine Learing หรือ Programming for Everyone ไปอยู่ในอันดับหนึ่งแทน และที่น่าสนใจอีกคือ หลักสูตร Introduction to Pyschology หรือจิตวิทยาเบื้องต้น ขยับมาอยู่ใน 10 อันดับแรกอีกด้วย
 

     จะว่าไปในวงการธุรกิจ ก็นำ Soft Skill มาใช้สักพักใหญ่ ที่ชัดเจนคือเรื่องความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ทุกบริษัทพยายามสร้างนวัตกรรมใหม่ให้มีสินค้าที่ดีขึ้น เหนือกว่าคู่แข่ง ส่วนเรื่องความทะเยอทะยาน (Passion) ก็มีพูดถึงในวิชาการเป็นผู้นำหรือการเป็นผู้ประกอบการ ส่วนเรื่องความเห็นอกเห็นใจ (Emphaty) หลายคนอาจเคยได้ยินมาบ้าง แต่ผมว่าผู้ประกอบการ SME ยังใช้เรื่องนี้กันน้อย หากเทียบกับเรื่องความคิดสร้างสรรค์และความทะเยอทะยาน



 

     เพื่อให้เรานำ Emphaty ไปใช้ในการทำธุรกิจได้ ผมขอนำอธิบายคำว่า Emphaty ว่ามี 4 คุณลักษณะ ตามที่ Brene Brown ผู้แต่งหนังสือชื่อดังที่มีผลงานเกี่ยวกับการสื่อสาร อาทิ Dare to Lead, Rising Strong มาสรุปสั้นดังนี้
 
1. การเอาทัศนคติของคนอื่นมาใส่ในใจเรา ซึ่งเราเองอาจจะไม่เห็นด้วย หรืออาจจะไม่เข้าใจเลยก็ตาม
2. การไม่ตัดสินความผิดถูกชั่วดีในสิ่งที่คนอื่นนำมาเล่าให้เราฟัง
3. การอ่านความรู้สึกของคนอื่นเป็น
4. การสื่อสารให้คนอื่นรู้ว่าเรากำลังรู้สึกอย่างที่เขากำลังรู้สึกอยู่



 

      Cindy Wahler ที่ปรึกษาด้านการโค้ชชิ่งค้นพบว่าองค์กรที่นำ Emphaty ไปใช้ในการทำงาน เพื่อสร้างคน ดูแลคน จะทำให้องค์กรนั้นมีผลดำเนินงานที่ดีขึ้น นั่นเพราะ Emphaty จะช่วยพัฒนาคนให้เก่งเร็วขึ้น เรียนรู้ได้ไว เมื่อลูกน้องซึ่งมาทำงานใหม่ยังไม่เก่ง ยังมีจุดต้องเรียนรู้ หากคนในองค์กรนั้นมี Emthaty ก็จะชี้แนะให้พนักงานใหม่ปรับปรุงฝีมือได้เร็วขึ้น แทนที่จะต้องรอการประเมินตอนสิ้นไตรมาสหรือสิ้นปี ประสบการณ์ที่พนักงานหนึ่งคนได้รับ Emphaty จากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน จะเกิดความที่รู้สึกอยากถ่ายทอดและส่งต่อไปให้พนักงานคนอื่นๆ ที่เข้ามาใหม่ กลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กรซึ่งเหมาะมากกับยุคที่ต้องเรียนรู้เร็ว ผิดพลาดได้แต่ต้องลุกเร็ว


      Emphaty จะดึงดูดคนที่มีทัศนคติเหมือนกันมาทำงานด้วยกัน เมื่อศีลเสมอกันการขับเคลื่อนองค์กรที่ต้องการคนคิดต่างแต่สร้างสรรค์จึงเป็นจริงได้ ยิ่งในสถานการณ์วิกฤตที่ไม่รู้ว่าจะจบเมื่อไร องค์กรที่ทุกคนมีศีลเสมอกันจะได้เปรียบมาก หากต้องลดเงินเดือน ลดค่าจ้าง แต่ต้องทำงานใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำ  
 


 




www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอ

บทความสมาชิก

4 ความท้าทาย ของธุรกิจโรงแรมรักษ์โลก เมื่อผู้บริโภคยังยึดติดกับความสบาย

เมื่อเทรนด์รักษ์โลกยังคงได้รับความนิยมและเกิดการตื่นตัวในทุกมุมโลก แต่ไม่ใช่ทุกอย่างจะเอื้อให้ธุรกิจก้าวสู่ถนนสีเขียว นี่คือความท้าทายในการปรับตัวรับเทรนด์รักษ์โลกของธุรกิจโรงแรม

ทำไมธุรกิจ Online Travel Agency ในไทย ถึงไม่ประสบความสำเร็จ?

เคยสงสัยกันไหม? ว่าประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามมากมาย มีโรงแรมทั้ง International Hotel Chain และแม้แต่ Local Chain ที่เติบโตไปในระดับโลก แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จในการสร้าง Platform รับจองห้องพักในรูปแบบ OTA (Online Travel Agency) ของตนเอง

ลูกค้าขอสถานะ Confidential Guest ธุรกิจโรงแรมทำอย่างไร? ปกป้องความลับแขกได้ ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัว

โดยปกติแล้วโรงแรมเราจะมีแขกประเภทหนึ่งที่ขอสถานะ Confidential Guest (CFG) ต้องการปกปิดการเข้าพักเป็นความลับทั้งเรื่องห้องพัก กิจกรรมต่างๆ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยและ Privacy ซึ่งหลักๆ เลยก็จะเป็นแขกระดับ VIP หรือ VVIP ในความเป็น CFG ก็มีข้อยกเว้นเหมือนกัน เช่น หมายจับ หมายศาล อันนี้โรงแรมก็ไม่สามารถฝ่าฝืนได้ แต่ก็ต้องตรวจสอบให้ดี