“แบรนด์ที่ดี” ไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง โดย สมยศ ชัยรัตน์

      การตลาด ก็คือการขายของ เป็นการวางแผนว่าจะขายให้ดีกว่าคนอื่นได้อย่างไร ไม่ใช่เรื่องยากเพียงแต่ต้องคิดให้รอบคอบ และมีเป้าหมาย คือ “3 ดี”





      1. ขายของให้ดี
               

       2. ให้มีลูกค้าดีๆ มาซื้อเราซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือเป็นลูกค้าที่ซื้อสินค้าต่อเนื่องไปนานๆ  


       3.คนพูดถึงเราในสิ่งดี ๆ
 
             
      ถ้าได้ครบ 3 ดี ก็สบายละ อยู่นาน
               




      ลองนึกถึงร้านข้าวแกงเจ้าประจำว่าเพราะอะไรเราถึงไปบ่อยๆ เพราะอร่อย ราคาไม่แพง คนขายดูดี นั่นก็คือที่แห่งนั้นมีสินค้าที่เราพอใจ และมั่นใจว่าเข้ามาในร้านจะได้อร่อยเหมือนเดิมไม่เปลี่ยน แปลง ไม่ต้องจ่ายสตางค์มากกว่าเดิม คนขายก็น่ารักให้บริการอย่างดี จำลูกค้าได้ตลอด สิ่งเหล่านี้แหละคือสิ่งที่เรียกว่าแบรนด์ หรือยี่ห้อสินค้า ชื่อร้านที่เราเรียกด้วยความเคยชินเพื่อบอกกับคนอื่นก็คือชื่อแบรนด์ เพราะฉะนั้นแบรนด์ก็คือชื่อเฉพาะที่ถูกเรียกอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น ‘ร้านข้าวเจ้ดาหน้าบ้าน’ , ‘ร้านก๋วยเตี๋ยวห้อยขา’ หรือจะเป็นโรงแรม เพลง หรือแม้กระทั่งแอปต่างๆ ที่โหลดลงมือถือ
               

      แบรนด์ก็คือชื่อ สัญลักษณ์ ที่บอกที่มาที่ไปของสิ่งของ บอกความเป็นเจ้าของ ก็คือที่มาของชื่อ โลโก้ สัญลักษณ์ การออกแบบ ดีไซน์ และบรรจุภัณฑ์
               




      แบรนด์ก็เหมือนเพื่อน เวลาเราเดินทาง เราก็มักจะเชื่อใจเพื่อนมากกว่าคนแปลกหน้า เราเลือกที่จะดื่มเครื่องดื่มแบรนด์ที่คุ้นเคยไม่กล้าเลือกเครื่องดื่มแบรนด์ชื่อแปลกๆ ที่เราไม่เคยรู้จักหรือเห็นมาก่อน เพราะเราไม่ไว้ใจ แม้เครื่องดื่มที่เราคุ้นเคยจะมีราคาจะแพงกว่าก็ยอมจ่ายเพราะไม่ต้องการเสี่ยง เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญถ้าเราจะทำแบรนด์ต้องให้คนซื้อมั่นใจที่จะซื้อ มั่นใจในคุณภาพที่คงที่ นั่นคือสิ่งที่ผู้ผลิตต้องมีขบวนการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานสินค้า เป็นเสมือนคำมั่นสัญญาของผู้ผลิตต่อผู้ซื้อถ้าสี กลิ่น รส หรือคุณภาพเปลี่ยนไป ก็จะรู้สึกว่ามีอะไรผิดปกติ ทันที สิ่งที่ผิดปกติถ้าเกิดบ่อยครั้งเข้า ผู้ซื้อก็อาจเลิกไว้วางใจ แล้วเลิกซื้อหรือเลิกบริโภคไปเลย
               

      แบรนด์จึงหมายถึงประสบการณ์ที่ได้รับจากการได้ยิน ได้ใช้ ได้ลอง กลายเป็นสัญลักษณ์ ของความมั่นใจ (Trust Mark), ความนิยม (Love Mark)
               





      แบรนด์คือคำมั่นสัญญาที่บริษัทมีไว้ให้กับผู้ซื้อ ถ้าคุณขายเครื่องสำอาง สินค้าคุณทำได้อย่างที่สัญญาหรือเปล่า บอกขาวภายใน 7 วัน ทำได้ไหม ถ้าไม่ได้ คนซื้อก็หันมาหาคุณครั้งเดียว แล้วก็หันไปหายี่ห้ออื่น ลองเข้าไปในร้านสะดวกซื้อ มีคู่แข่งเยอะแยะไปหมด บนชั้นเดียวกัน จะชนะคู่แข่งได้ คุณต้องดีกว่าเขาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
           

      คำถาม ?






      ถ้าคุณมีแบรนด์ หรือเป็นเจ้าของแบรนด์ ลองนึกดู คำสัญญาของแบรนด์คุณคืออะไร? คุณทำอย่างไรเพื่อรักษาสัญญานั้นกับคนซื้อ?
               

      มีเหตุผลอะไรอีกไหม ที่คนซื้อมาซื้อ? คุณมีอะไรที่แตกต่างจากคู่แข่ง?
               

      ไปหาคำตอบให้ได้ แล้วธุรกิจคุณจะไปได้อีกไกล









 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

บทความสมาชิก

4 ความท้าทาย ของธุรกิจโรงแรมรักษ์โลก เมื่อผู้บริโภคยังยึดติดกับความสบาย

เมื่อเทรนด์รักษ์โลกยังคงได้รับความนิยมและเกิดการตื่นตัวในทุกมุมโลก แต่ไม่ใช่ทุกอย่างจะเอื้อให้ธุรกิจก้าวสู่ถนนสีเขียว นี่คือความท้าทายในการปรับตัวรับเทรนด์รักษ์โลกของธุรกิจโรงแรม

ทำไมธุรกิจ Online Travel Agency ในไทย ถึงไม่ประสบความสำเร็จ?

เคยสงสัยกันไหม? ว่าประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามมากมาย มีโรงแรมทั้ง International Hotel Chain และแม้แต่ Local Chain ที่เติบโตไปในระดับโลก แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จในการสร้าง Platform รับจองห้องพักในรูปแบบ OTA (Online Travel Agency) ของตนเอง

ลูกค้าขอสถานะ Confidential Guest ธุรกิจโรงแรมทำอย่างไร? ปกป้องความลับแขกได้ ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัว

โดยปกติแล้วโรงแรมเราจะมีแขกประเภทหนึ่งที่ขอสถานะ Confidential Guest (CFG) ต้องการปกปิดการเข้าพักเป็นความลับทั้งเรื่องห้องพัก กิจกรรมต่างๆ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยและ Privacy ซึ่งหลักๆ เลยก็จะเป็นแขกระดับ VIP หรือ VVIP ในความเป็น CFG ก็มีข้อยกเว้นเหมือนกัน เช่น หมายจับ หมายศาล อันนี้โรงแรมก็ไม่สามารถฝ่าฝืนได้ แต่ก็ต้องตรวจสอบให้ดี