“แคนโบว์” แตกหน่อแฟรนไชส์ "มิ้ลค์กี้ ไอซ์"

 

 
 
 
ยุทธการ ชูสนิท  กรรมการบริหาร บริษัท อินเตอร์ โฟกัส ฟูดส์ จำกัด เจ้าของแฟรนไชส์ไอศกรีม “มิลค์กี้-ไอ๊ซ์” เปิดเผยว่า บริษัทฯ เป็นผู้ผลิต และจำหน่ายไอศกรีม ยี่ห้อ “แคนโบว์” ในภาคกลาง และภาคตะวันออกมานานกว่า 30 ปี  และเมื่อ 5-6  ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้แตกไลน์ทำไอศกรีมยี่ห้อ “มิลค์กี้-ไอ๊ซ์” ซึ่งเป็นไอศกรีมนมรสผลไม้ต่างๆ ไม่แต่งสี ไม่แต่งกลิ่น จำหน่ายตามต่างหวัดที่เป็นเมืองท่องเที่ยวกว่า 10 สาขา อย่างพัทยา ขอนแก่น เชียงใหม่ ฯลฯ รวมไปถึงขายส่งตามร้านอาหารต่างๆ ในต่างหวัดกว่า 100 แห่ง  ส่วนกรุงเทพฯ นั้น เมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมาได้เปิดร้านต้นแบบที่หน้าท๊อป ซุปเปอร์มาร์เก๊ต ภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว  โดยเป็นการเก็บข้อมูลลูกค้า การคำณวนต้นทุน เพื่อเตรียมความพร้อมขยายธุรกิจของบริษัทฯ โดยการเปิดเป็นแฟรนไชส์ในปีหน้าต่อไป
 
“ปัจจุบัน ร้านยังเป็นของบริษัทฯ ยังไม่กล้าเป็นแฟรนไชส์เต็มรูปแบบ เพราะยังติดขัดปัญหาเรื่องการบริการจัดการ บุคคลกร รวมไปถึงการดำเนินการต่างๆ คาดว่าข้อมูลต่างๆที่ได้จนถึงสิ้นปี ก็น่าจะเปิดขายแฟรนไชส์ได้ในปีหน้า” ยุทธการ กล่าว 
 
 
 
 
 
ผู้บริหารแฟรนไชส์ไอศกรีม “มิลค์กี้-ไอ๊ซ์” กล่าวว่า แฟรนไชส์ไอศกรีม “มิลค์กี้-ไอ๊ซ์” เป็นไอศกรีมนม รสผลไม้ ไม่แต่งสี แต่งกลิ่น มีกว่า 30 รสชาติ อาทิ ทุเรียน สตอรเบอรี่ เป็นถ้วยสำเร็จรูปขนาด 8 กรัม  ในถ้วยขนาด 4 อ๊อนซ์ ราคา 39 บาท ซึ่งปัจจุบัน แผนกวิจัย และพัฒนาของบริษัทฯ ได้พยายามคิดค้นรสชาติใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ โดยทุกๆ 3 เดือนจะมีรสชาติใหม่ออกมาสู่ตลาด โดยใช้เทรนด์ของลูกค้าในตลาดเป็นตัวกำหนดรสชาติของไอศกรีม 
 
“การแข่งขันในธุรกิจไอศกรีมนั้น บริษัทฯ จะไม่ใช้สงครามราคาเด็ดขาด เพราะไม่ได้อะไร  และเสียหายกันหมด แต่พยายามปรับปรุงรสชาติ และเสริมบริการต่างๆ ให้โดนใจลูกค้า อาทิ บริการน้ำแข็ง กรณีซื้อกลับบ้าน เหตุที่ไม่ใช้สงครามราคา เพราะไม่ถนัด และสงครามราคาทำให้ตลาดไอศกรีมในภาพรวมเสียหาย แต่จะแข่งขันที่การพัฒนารสชาติ และบริการดีกว่า” ผู้บริหารแฟรนไชส์ไอศกรีม “มิลค์กี้-ไอ๊ซ์” กล่าวย้ำ
 
 
 
กรรมการบริหาร บริษัท อินเตอร์ โฟกัส ฟูดส์ จำกัด กล่าวอีกว่า แนวคิดการขยายธุรกิจโดยการขายแฟรนไชส์นั้น เกิดจากความต้องการยกระดับจากการขายไอศกรีมตามต่างหวัดซึ่ง โดยลูกค้าคือกลุ่มเด็กๆ ในต่างจังหวัด ราคา 3-15 บาท ที่ห้อ “แคนโบว์” ซึ่งเป็นธุรกิจที่ทำมานานกว่า 30 ปี มาเป็นลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ๆในราคาที่สูงกว่า และพัฒนารสชาติเข้มข้นกว่า เพราะก่อนหน้านี้บริษัทฯ ได้ทำไอศกรีมอีกยี่ห้อหนึ่ง คือ “ภูสยาม”ซึ่งเป็นไอศกรีมผู้ใหญ่ในรสชาติที่คลาสสิก อาทิ ถั่วดำ ลอดช่อง  ขายตามต่างจังหวัด และกทม. ส่วนการขายแฟรนไชส์นั้น ภายหลังปรึกษากับทางกระทรวงพาณิชย์แล้ว ทางบริษัทฯ ได้เซ๊ทราคาของแฟรนไชส์ไอศกรีมมิลค์กี้-ไอ๊ซ์ ออกมา ก็ยังอยู่ในระดับราคานับแสนบาท ซึ่งคิดว่าสูงไปในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ จึงต้องพยายามที่จะต้องหาทางลดต้นทุน เพื่อให้ราคาแฟรนไชส์ต่ำลงกว่านี้ 
 
“ยอมรับว่าไอศกรีมเป็นสินค้าที่ขายง่าย เพราะคนทานได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่การลงทุนก็เป็นอีกเรื่องที่หลายคนอาจลังเล เพราะคู่แข่งในตลาดมาก ไอศกรีมไทยด้วยกันเอง ไอศกรีมโฮมเมด และไอศกรีมต่างประเทศ ซึ่งทำให้คนลังเลกับการลงทุน อีกอย่างไอศกรีมไม่ใช้สินค้าจำเป็น แต่เป็นสินค้าตามอารมณ์ ซึ่งทำให้ทำการตลาดในช่วงนี้จึงค่อนข้างเหนื่อยมากทีเดียว” กรรมการบริหาร บริษัท อินเตอร์ โฟกัส ฟูดส์ จำกัด ให้เหตุผล
 
ยุทธการ กล่าวปิดท้ายว่า หลังจาการลองผิดลองถูกเปิดร้านต้นแบบมาได้ระยะหนึ่ง คิดว่าน่าจะได้ข้อมูลเพื่อเปิดขายแฟรนไชส์ได้ในปีหน้า โดยราคาแฟรนไชส์น่าจะอยู่ราว 100,000-200,000 บาท  
 
แฟรนไชส์ไอศกรีมมิลค์กี้ไอ๊ซ์  0-3641-1779 (ถ่ายรูปร้านต้นแบบใน กทม. ติดต่อ คุณคิด) 
 

RECCOMMEND: FRANCHISE

3 แฟรนไชส์ ก๋วยเตี๋ยวเรือเจ้าดัง น่าลงทุน ปี 2023

หนึ่งในร้านอาหารที่ติด Top 3 ที่คนค้นหามากที่สุด คือ ก๋วยเตี๋ยว วันนี้เราเลยจะมาแนะนำ 3 แฟรนไชส์ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือเจ้าดังที่น่าลงทุน ปี 2023 พร้อมราคาแฟรนไชส์มาฝากกัน

3 ไอเดียทำร้านแฟรนไชส์ 5 ปี ขยายกว่า 750 สาขา สไตล์ Otteri ร้านที่เป็นมากกว่าแค่ที่ซักผ้า

ในสนามแข่งขันที่เต็มไปด้วยคู่แข่งมากมาย กลยุทธ์หนึ่งของการทำธุรกิจที่ใช้มัดใจลูกค้าได้ดี ก็คือ ให้มากกว่าที่ลูกค้าคิดว่าจะได้รับ เพื่อไม่ให้ลูกค้าเปลี่ยนใจไปไหน เหมือนกับคอนเซปต์ของแบรนด์ Otteri Wash & Dry แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก 24 ชั่วโมงที่เปิดดำเนินธุรกิจมาได้ 5 ปี มีสาขาแล้วกว่า 750 แห่งทั่วประเทศ

อยากต่อยอดธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ขยายกิจการให้โต SME ต้องทำอย่างไร?

หนึ่งในโมเดลที่หลายคนให้ความสนใจในการขยายธุรกิจคือ การแปลงธุรกิจของตัวเองให้กลายเป็น “แฟรนไชส์” แต่หลายคนอาจสงสัยว่า การทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ต้องทำอย่างไร?