13 เทคนิคขายแฟรนไชส์อาหารให้มีคนซื้อ ในยุคดิลิเวอรีครองเมือง



          จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้หลายคนว่างงาน หลายต้องปรับเปลี่ยนอาชีพ หนึ่งในอาชีพที่หลายคนให้ความสนใจคือ การลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ นับเป็นโอกาสของเจ้าของธุรกิจที่จะหันมาขายแฟรนไชส์


          คำถามคือ ควรจะขยายหรือขายแฟรนไชส์ให้เข้ากับความต้องการของผู้ลงทุนในยุค Next normal นี้ให้ได้ด้วยแนวคิดอะไรดี


            อย่างแรกเราต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ กระแสหนึ่งที่จะไม่คำนึงถึงไม่ได้เลยคือ Food Delivery และเชื่อว่าแม้สถานการณ์ COVID จะดีขึ้นในอนาคต แต่กระแส Delivery ก็จะยังคงอยู่และยิ่งจะพัฒนารูปแบบให้ดียิ่งขึ้น ตอบโจทย์กับคนยุคใหม่ที่มองว่าเป็นวิธีที่สะดวก ง่าย และช่วยประหยัดเวลาได้เป็นอย่างมาก


            ผมลองสรุปเป็นข้อๆ ว่าผู้ที่ทำธุรกิจอาหารต่อยอดขายแฟรนไชส์ ควรมีแนวคิดปรับรูปแบบธุรกิจอย่างไรเพื่อให้เป็นที่น่าสนใจแก่ผู้ที่จะมาลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ของเราและเพื่อความเหมาะสมสอดคล้องในวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในยุค Next normal นี้บ้าง
 




  1. ต้องเริ่มจากการอยากที่จะแบ่งปัน ช่วยเหลือนั่นคือ เราต้องมอบ สินค้า และการบริการที่ดีเพื่อให้เค้านำไปประกอบเป็นอาชีพมีรายได้ช่วยเหลือตัวเองและครอบครัว

 

  1. บางครั้งไม่จำเป็นต้องคิดมากให้ปวดหัว หรือต้องคิดว่าสินค้าจะต้องแปลกแตกต่าง พิสดารมากมาย เป็นสินค้าที่คุ้นชินกับชีวิตประจำวัน กลับทำให้เป็นสิ่งที่ลูกค้าสามารถเลือกทานเป็นมื้อประจำได้ในทุกๆ วัน

 

  1. รสชาติสม่ำเสมอ มีสูตรช่าง วัด ตวง ให้เรียบร้อย ไม่ว่าลูกค้าจะไปทานที่สาขาไหน ก็รสชาติเดียวกัน






  1. ลองคิดค้นรังสรรค์เมนูที่สามารถแชร์วัตถุดิบด้วยกันได้ เพิ่มความหลากหลายของเมนู ให้ตอบโจทย์ลูกค้าที่มีความชอบที่แตกต่างกัน สามารถสั่งร้านเราร้านเดียวจบไม่ต้องเป็นซื้อหลายๆ ร้าน ซึ่งเป็นการประหยัดค่าขนส่ง ทำให้ธุรกิจของเราเกิดความน่าสนใจ

 

  1. ฟังเสียงลูกค้า แทนที่จะคิดว่าลูกค้าจุกจิก แต่ถ้าเราสามารถทำได้ตามที่ลูกค้าต้องการ ก็อาจจะได้ลูกค้าเพิ่ม

 

  1. จัดเซ็ตสุดคุ้มโปรโมชั่น เช่น มีทั้งอาหารคาว เครื่องดื่มและขนมหวาน

 


 

  1. ตกแต่งทำรูปภาพอาหารให้น่าสนใจ เพราะเวลาคนจะกดสั่งอาหาร ตัวรูปภาพจะเป็นตัวช่วยเพิ่มการตัดสินใจให้แก่ลูกค้าที่จะกดเข้ามาดู หรือสั่งสินค้าในร้านของเราได้

 

  1. ต้องระมัดระวังในเรื่องของการคิดคำนวณโครงสร้างราคา การตั้งราคาสินค้า เพราะเมื่อจะเข้าสู่ระบบของ Food Delivery ต่างๆ แน่นอนว่าเราจะต้องเสียค่าดำเนินการ หรือที่เรียกกันว่าค่า GP ต้องคิด

 

  1. เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม

 




  1. อย่าไปเกรงกลัวการเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย หลายๆ ครั้งอาจจะเสียโอกาสจากการคิดว่าเดี๋ยวจะโดนเก็บภาษีหากทำออนไลน์ เราลองเปลี่ยนมุมมอง อย่างที่บอกว่าถือโอกาสปรับ Mindset ว่า เราก็ศึกษาและทำมันให้ถูกต้องสิ ขอให้ ขายได้ ขายดี เพิ่มช่องทางการขายให้ได้ ภาษีเมื่อขายดีเราก็จ่ายให้ถูกต้องซะ เราก็ได้ประกอบกิจการได้อย่างสบายใจ

 

  1. ก่อนที่จะขยายแฟรนไชส์ควรให้ความสำคัญของการจดรูปแบบเครื่องหมายการค้ากับทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา หรืออาจจะสมัครอบรมเพิ่มเติมความรู้ในการจัดการทำธุรกิจแฟรนไชส์กับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อน ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ

 

  1. ในข้อนี้อาจจะหมายรวมถึงทั้งแฟรนไชส์ซอร์และ แฟรนไชส์ซี ในการมองหาหรือหากมีเงินลงทุนที่เพียงพอกับการทำ Hybrid kitchen หรือการทำครัวกลาง ในการที่เรามีครัวอยู่แล้ว เราก็สามารถเปิดร้านค้าหลายๆ ร้านค้าเพื่อไม่ว่าลูกค้าที่ใช้บริการสั่งออนไลน์ ในบริเวณเขตพื้นที่ที่ร้านเราเปิดอยู่นั้น เราสามารถอาจจะลดต้นทุนด้านแรงงานของพนักงานลงได้ ในกรณีครัวเดิม คนเดิม พนักงานชุดเดียวกัน แต่เราไปเพิ่มช่องทางเปิดร้านค้าหลายๆ ร้านในเมนูที่แต่งต่างกันในระบบออนไลน์ได้ ก็อาจจะช่วยให้เป็นการเพิ่มเนื้องานให้พนักงานเราได้มีงานทำไม่ว่างงาน เป็นการเพิ่มยอดขาย ลดต้นทุนการจ้างพนักงาน ค่าแรงงานลงได้ วิธีการ เหตุผลที่เหมาะสมเหล่านี้ก็ล้วนสามารถเป็นไปได้ บางครั้งกำไรก็อาจจะเกิดจากการลดการสูญเสีย ประหยัดต้นทุน

 

  1. และท้ายที่สุด ลองศึกษาการทำการตลาดแบบ Omni Channel สรุปสั้นๆ ก็คือการสร้างกลยุทธ์ที่เน้นไปที่การทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้จากหลากหลายช่องทาง มีการเก็บข้อมูลและทำระบบสมาชิกของลูกค้า เพื่อจะสามารถเชื่อมต่อกันได้ ทำให้เราเกิดความเข้าใจ รู้ใจ และรู้จักลูกค้าของเราได้เป็นอย่างดี ซึ่งอาจจะสามารถเปลี่ยนลูกค้าขาจรให้กลายเป็นลูกค้าประจำของร้านเราได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

 




3H + 2ร สูตรช่วยทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

           

            ขอทิ้งท้ายด้วยสูตรง่ายๆ ที่จะช่วยให้การทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น ลองไปใช้กันดูได้ครับเริ่มจาก
 

             ตัวแรกคือ Head ใช้หัวคิด

             H ที่สองคือ Heart ใช้ใจทำ ด้วยความมั่นใจตั้งใจ และปรารถนาดี

             ที่สามคือ Hand ต้องลงมือทำและต้องเร็วด้วย
 

              เราเอา 3H นี้มารวมมาตีความควบคู่กับกับความต้องการ 2ร ของตลาด คือ


             รู้จักตลาด ว่าตลาดที่เราอยู่ตลาดต้องการอะไร และ

             รู้ใจลูกค้า ว่าลูกค้าในตลาดที่เราอยู่ ลูกค้าเค้าชอบอะไร
 


              ช่วงนี้สถานการณ์ต่างๆ ก็เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีแล้วด้วย “ฟ้าหลังฝน ย่อมสดใสเสมอ” มันต้องมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นจริงๆ ครับโลกใบนี้ของเราถึงมีคำพูดเช่นนี้






www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FRANCHISE

เปิดเทรนด์ 4 Franchise ตัวท้อป! น่าลงทุนปี 2025

ธุรกิจแฟรนไชส์มีมูลค่าตลาดสูงถึง 3 แสนล้านบาท ไม่รวมร้านสะดวกซื้อขนาดใหญ่ จึงยังเป็นทางเลือกของการลงทุน แล้วมีแฟรนไชส์อะไรในปี 2025 ที่ควรค่าแก่การลงทุน ไปอัปเดตกันเลย

มัดรวม 4 แฟรนไชส์ตู้กด เทรนด์แรง น่าลงทุน

ธุรกิจตู้กด มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด หันไปทางไหนก็เจอ หลายธุรกิจหันมาขยายสู่โมเดลธุรกิจแฟรนไชส์ แต่เปลี่ยนจากหน้าร้านใหญ่โต ย่อส่วนลงมาให้เหลือเพียงตู้กด แต่จะมีแฟรนไชส์ไหนที่น่าลงทุนบ้าง เราได้รวบรวมแฟรนไชส์ตู้กดเจ๋งๆ มาให้ดูกัน

ระวังลูกค้าหนี แบรนด์พัง คู่แข่งแซงหน้า ถ้า SME ยังไม่ปรับตัวสู่ธุรกิจสีเขียว

ท่ามกลางอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นทุกปี คาดว่าปี 2567 จะร้อนยิ่งกว่าปี 2566  ประเทศไทยของเราต้องเผชิญกับทั้งอากาศร้อนจัดและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว แต่ท่ามกลางวิกฤต ยังมีโอกาส! เมื่อเศรษฐกิจสีเขียว กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว