​Micro Franchise กับการเพิ่มโอกาสทางอาชีพของสังคมไทย

 



เรื่อง : ดร.พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์

    โดยความเป็นจริงแล้วประชาชนนั้นไม่ได้ต้องการที่จะเป็นผู้ยากจน ต่างพยายามดิ้นรนและสร้างโอกาสที่ดีให้กับตนเองและครอบครัวตลอดเวลา ความยากจนที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความไม่ฉลาด หรือเพราะว่าขี้เกียจ หรือขาดซึ่งความสามารถ แต่คนนับล้านที่ต้องจมอยู่กับความยากจนนั้น เกิดจากการขาดโอกาสจากระบบสังคม วัฒนธรรม หรือรวมถึงเงื่อนไขของระบบเศรษฐกิจที่ไม่สามารถควบคุมได้ 

    กระบวนการทางสังคมขาดการพัฒนา ก่อให้เกิดสภาวะการสร้างความได้เปรียบจากการมีอำนาจเหนือกว่าเพื่อสร้างผลประโยชน์จากอำนาจต่อรองที่ตนมี หรือการเอาเปรียบโดยการคอร์รัปชั่น หรือแม้แต่การเอาเปรียบจากระบบการค้าแบบผูกขาด หรือตัวกลางการค้าที่เอาเปรียบจากระบบการค้าที่สร้างขึ้น ซึ่งผู้ที่ด้อยโอกาสทางสังคมมักตกเป็นเหยื่อของการเอารัดเอาเปรียบจึงส่งผลต่อการขาดโอกาสที่จะสร้างความมั่นคงต่ออาชีพของตนเองด้วย

Micro Franchise กับการช่วยเหลือผู้ขาดโอกาสในสังคม 

    ในกระบวนการพัฒนาอาชีพ เพื่อเพิ่มโอกาสให้คนในสังคมโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสนั้น หนึ่งในหลายๆกระบวนการพัฒนา คือ กระบวนการทำธุรกิจแบบไมโครแฟรนไชส์ ที่มีการสร้างกระบวนการสนับสนุนในธุรกิจที่จะวางรูปแบบการจัดการอาชีพที่ถูกต้องมากขึ้น และช่วยผู้ด้อยโอกาสเข้าใจในการเข้าถึงอาชีพของตัวเอง โดยมีหน่วยงานที่เข้มแข็งคอยช่วยเหลือและพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระบวนการสร้างเหล่านี้จะสร้างให้เกิดสัมมาชีพที่ยั่งยืนมีผลต่อการพัฒนาสังคมในระยะยาวได้ 

    หลักของการสร้าง ‘ไมโครแฟรนไชส์’ นั้นเสมือนกับการสร้างเครื่องมือสร้างอาชีพที่มีโอกาสสร้างกำไร และมีแนวทางการสร้างความเป็นเจ้าของธุรกิจให้กับตัวเองได้ด้วย เป็นแฟรนไชส์ที่จะเข้าไปโอบอุ้มสร้างสัมมาชีพให้กับคนในสังคม โดยองค์กรที่มีความแข็งแรงเพียงพอต่อการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีสินค้าและบริการที่เป็นที่ยอมรับได้ อีกทั้ง หากมีความต้องการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยปริมาณมาก ซึ่งจะใช้กระบวนการผ่านธุรกิจให้กลุ่มบุคคลเข้ามาเป็นตัวแทนจำนวนมากๆ และสามารถให้การสนับสนุนเรื่องการหาแหล่งเงินทุนทั้งในเชิงการลงทุนในธุรกิจขั้นต้นและเงินทุนสำหรับการดำเนินงาน

    รูปแบบการลงทุนในไมโครแฟรนไชส์นั้นจะเน้นกลุ่มที่เป็นผู้ขาดโอกาสหรือฐานะยากจน เน้นการลงทุนไม่สูงมากนัก แตกต่างจากระบบแฟรนไชส์ที่เน้นการสร้างระบบที่เรียกว่า Business Format Franchise ที่จะมีการลงทุนในธุรกิจที่สูงขึ้นเพื่อการพัฒนาระบบ โดยระบบแฟรนไชส์ทั่วไปอาจจะพัฒนาขึ้นจากธุรกิจขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จและนำกระบวนการบริหารแบบแฟรนไชส์มาใช้เพื่อการขยายงาน

    แต่สำหรับไมโครแฟรนไชส์จะเน้นการลงทุนในรายย่อย แต่ดูแลโดยบริษัทที่มีความมั่นคงและสามารถสร้างกระบวนการทางธุรกิจได้ดี ช่วยให้แฟรนไชส์ของตัวเองที่มีขนาดเล็กมากสร้างกำไรในขั้นต้นได้ โดยเน้นปริมาณของการกระจายรูปแบบการค้าจำนวนมาก 

    ธุรกิจที่สามารถเข้ามาสร้างให้เกิดรูปแบบไมโครแฟรนไชส์นั้น อาจจะเป็นธุรกิจที่แข็งแรงหรือองค์กรขนาดใหญ่ที่สามารถสร้างโอกาสเหล่านี้ให้กับคนหมู่มากได้ สินค้าและบริการจัดอยู่ในจำพวกสินค้าเพื่อสุขภาพ การศึกษา สินค้าที่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่สินค้าเทคโนโลยีก็สามารถปรับให้สร้างระบบจัดจำหน่ายให้บริการและมีลักษณะของธุรกิจไมโครแฟรนไชส์ได้เช่นกัน

    นอกจากนั้น การวางแนวทางการพัฒนาธุรกิจขึ้นมารองรับระบบไมโครแฟรนไชส์ก็สามารถจัดการได้มีการนำเสนอกระบวนการพัฒนา ดังนี้

    1. เริ่มจากการกำหนดธุรกิจที่มีแนวโน้มความสำเร็จได้จริง ทั้งธุรกิจหรือหน่วยงานทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างผู้ประกอบการ รวมถึงทีมงาน ผู้จัดการ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและปลูกสร้างจิตอาสาและการสร้างสังคมคุณธรรมทางธุรกิจไปพร้อมกัน

    2. การช่วยเหลือด้วยวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้ธุรกิจของผู้ประกอบการเหล่านั้นประสบความสำเร็จได้จริง มีกำไร สามารถสร้างธุรกิจให้เกิดระบบและเกิดเป็นหน่วยงานที่มีระบบการบริหารแบบองค์กรหรือที่เรียกว่า Systematic Business เพื่อสร้างความสามารถในการขยายงานได้จริง

    3. สร้างระบบทุนที่เข้ามาช่วยและสร้างแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการให้กับสังคม เพื่อสร้างงานและสร้างโอกาส

    4. ช่วยสร้างระบบในการป้องกัน การฝ่าฝืนทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนามูลค่าในทรัพย์สินทางปัญญา และทรัพย์สินโดยทั่วไปให้เกิดขึ้นเพื่อกลายเป็นแหล่งเงินทุนที่พัฒนาต่อเนื่องได้

    กระบวนการแฟรนไชส์ที่เรียกว่า ไมโครแฟรนไชส์นั้นจะกลายเป็นอีกรูปแบบธุรกิจที่ยกระดับสังคมที่มีคนด้อยโอกาส ช่วยให้เน้นความสามารถของกลุ่มคนเหล่านั้นที่จะเข้าถึงตลาดของตัวเองในพื้นที่ได้ดี ด้วยธุรกิจที่บ่มเพาะอย่างดีมาแล้ว

    เพราะถ้าหากธุรกิจที่สร้างอย่างเป็นระบบมาแล้วก็จะช่วยให้นักลงทุนมือใหม่มองเห็นความสำเร็จในธุรกิจและความเป็นไปได้ที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจนั้นด้วยตัวเอง ทำให้มีประโยชน์ต่อธุรกิจที่นำระบบแฟรนไชส์เข้ามาขยายงาน และคนลงทุนลงแรงมากขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน แบ่งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นบนจุดมุ่งหมายทางธุรกิจเดียวกัน ที่ทำให้ลดความเสี่ยงด้วยกันทั้งสองฝ่าย การกระจายโอกาสธุรกิจที่เข้มแข็ง ให้โอกาสสำหรับคนที่ไม่สามารถสร้างธุรกิจได้ด้วยตนเอง มีโอกาสประสบความสำเร็จในสิ่งที่ลงทุนมากขึ้น 

    ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นเป็นกระบวนการเดียวที่เราจะได้เห็นธุรกิจขนาดใหญ่ลงไปให้ความสำคัญกับนักธุรกิจที่เป็นผู้ค้าผู้ขายขนาดเล็ก ไม่ใช่กระบวนการธุรกิจที่เป็นปลาใหญ่กวดปลาเล็ก และโอกาสดังกล่าววิ่งตรงไปสู่ผู้ที่ต้องการพัฒนาตัวตนอย่างตั้งใจ เพื่อการมีอาชีพดำเนินด้วยตัวเองไปพร้อมกับผู้ให้ความช่วยเหลือ นี่คือ ‘โอกาสทางสังคมที่แท้จริง’

Create by smethailandclub.com

RECCOMMEND: FRANCHISE

เปิดเทรนด์ 4 Franchise ตัวท้อป! น่าลงทุนปี 2025

ธุรกิจแฟรนไชส์มีมูลค่าตลาดสูงถึง 3 แสนล้านบาท ไม่รวมร้านสะดวกซื้อขนาดใหญ่ จึงยังเป็นทางเลือกของการลงทุน แล้วมีแฟรนไชส์อะไรในปี 2025 ที่ควรค่าแก่การลงทุน ไปอัปเดตกันเลย

มัดรวม 4 แฟรนไชส์ตู้กด เทรนด์แรง น่าลงทุน

ธุรกิจตู้กด มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด หันไปทางไหนก็เจอ หลายธุรกิจหันมาขยายสู่โมเดลธุรกิจแฟรนไชส์ แต่เปลี่ยนจากหน้าร้านใหญ่โต ย่อส่วนลงมาให้เหลือเพียงตู้กด แต่จะมีแฟรนไชส์ไหนที่น่าลงทุนบ้าง เราได้รวบรวมแฟรนไชส์ตู้กดเจ๋งๆ มาให้ดูกัน

ระวังลูกค้าหนี แบรนด์พัง คู่แข่งแซงหน้า ถ้า SME ยังไม่ปรับตัวสู่ธุรกิจสีเขียว

ท่ามกลางอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นทุกปี คาดว่าปี 2567 จะร้อนยิ่งกว่าปี 2566  ประเทศไทยของเราต้องเผชิญกับทั้งอากาศร้อนจัดและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว แต่ท่ามกลางวิกฤต ยังมีโอกาส! เมื่อเศรษฐกิจสีเขียว กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว