“เฉาก๊วย เฮฮา” แฟรนไชส์สู้อากาศร้อน




    อากาศร้อนๆ แบบนี้ ของเย็นๆ น่าจะช่วยดับกระหายได้บ้าง “เฉาก๊วย เฮฮา” ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่สนใจทำธุรกิจรับอากาศร้อนเช่นนี้ นอกจากจะเป็นขนมที่ทานแล้วรู้สึกสดชื่น กระชุ่มกระชวย ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์นี้ไปยังมีรายได้คิดเป็นกำไรที่น่าพอใจเลยทีเดียว



    วงศ์สถิตย์ อนันตกฤตยาธร หนึ่งในเจ้าของแฟรนไชส์บอกถึงโอกาสของธุรกิจในการขายเฉาก๊วย ณ เวลานี้ว่า ปัจจุบันธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่มากและลักษณะการขายไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน เป็นเหตุผลที่ทำให้คนตัดสินใจซื้อธุรกิจได้ง่าย เพราะสำหรับตัวเขาเองตอนเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อ 4-5 ปีก่อนก็ได้รับการตอบรับค่อนข้างดี จากที่เริ่มนำเฉาก๊วยมาวางขายคู่กับข้าวมันไก่ในร้านของคุณแม่ คนก็เริ่มให้ความสนใจจนกระทั่งสามารถทำเป็นระบบแฟรนไชส์เพื่อให้ลูกค้าได้นำธุรกิจนี้ไปบริหารต่อ



    “แฟรนไชส์เฉาก๊วยของเรามีความแตกต่างจากเฉาก๊วยทั่วไปตรงที่เราให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ การใช้ชื่อ เฉาก๊วย เฮฮา เพราะเราอยากให้คนจำได้ง่าย ประกอบกับการเปลี่ยนภาพลักษณ์จากเฉาก๊วยที่มีขายทั่วๆ ไป ส่วนมากจะเป็นถุงบ้าง หรือใส่ถ้วยโฟมบ้าง แต่ของเราจะใส่ในถ้วยกระดาษซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคโดยเน้นไปที่ความสะอาดและถูกหลักอนามัย โดดเด่นด้วยรถเข็นและคีออสที่ดูแปลกตา ซึ่งตัวเฉาก๊วยก็เป็นสูตรที่เราคิดและสั่งผลิตในสูตรของเราเอง พร้อมกับน้ำเชื่อมสูตรเข้มข้น โดยเฉาก๊วยของเราได้การรับรองมาตรฐานจาก อย.และ GMP จึงทำให้ลูกค้ามั่นใจ แถมเรายังเพิ่มท้อปปิ้งอย่างแปะก๊วย วุ้นมะพร้าว และพุทราจีน เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารอีกด้วย”
 


 
    รูปแบบแฟรนไชส์ในปัจจุบันของเฉาก๊วย เฮฮา มีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน โดยแบ่งเป็นการลงทุนเริ่มต้นที่ 1,000 (แบบ B) บาท 5,000 บาท (แบบ C) และ 15,000 บาท (แบบ A) โดยรูปแบบ B เหมาะสำหรับคนที่มีร้านอาหาร หรือบูธอยู่ แล้ว สามารถเอาไปขายเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือแบบ A ซึ่งจะได้รับอุปกรณ์ครบชุดสามารถเปิดขายได้ทันที



    “สิ่งที่เรากำหนดเป็นมาตรฐานเหมือนกันหมดก็คือแฟรนไชส์ซีต้องสั่งซื้อ เฉาก๊วย น้ำเชื่อม ถ้วยกระดาษ และน้ำตาลทรายแดงจากเราเท่านั้น นอกนั้นเขาสามารถซื้อได้จากแหล่งใกล้บ้าน เช่น แปะก๊วย วุ้นมะพร้าว หรือพุทราจีน ซึ่งปัจจุบันนอกจากน้ำเชื่อมแบบดั้งเดิมแล้ว เรายังได้พัฒนาน้ำเชื่อมในรสชาติอื่นๆ อีก อาทิ น้ำเชื่อมกาแฟเย็น น้ำเชื่อมพันซ์ น้ำเชื่อมชาเย็น น้ำเชื่อมชาเขียว โดยวัตถุดิบสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ถึง 2 อาทิตย์”


    สำหรับการบริหารจัดการแฟรนไชส์ วงศ์สถิตย์บอกว่า ทางบริษัทฯ จะกำหนดรัศมีพื้นที่ให้ห่างกันอย่างน้อย 500 เมตร ต่อ 1 แฟรนไชส์ และกำหนดราคาขายขั้นต่ำต่อถ้วยที่ 20 - 25 บาท ซึ่งต้นทุนต่อถ้วยจะอยู่ถ้วยละประมาณ 11 บาทสำหรับน้ำเชื่อมธรรมดา และ 13 บาทสำหรับช้ำเชื่อมแบบอื่นๆ ฉะนั้นแฟรนไชส์ซีจะได้กำไรถึงเท่าตัว

    

   นอกจากรูปแบบแฟรนไชส์ที่มีให้เลือกลงทุนแล้ว วงศ์สถิตย์ยังได้พัฒนาสินค้าในรูปแบบเฉาก๊วยบรรจุถ้วยสำเร็จรูปพร้อมทานเพื่อให้ผู้ที่สนใจรับไปจำหน่ายเพื่อเป็นทางเลือกเสริม และมีบริการรับจัดงานออกนอกสถานที่เพื่อสร้างสีสันให้กับเจ้าภาพ โดยผู้ที่สนใจลงทุนในธุรกิจจะต้องใช้เอกสารประกอบในการร่วมธุรกิจ ดังนี้ 1.สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด 2.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด 3.รูปถ่าย 1 ใบ



    สนใจแฟรนไชส์หรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ บริษัท เฮฮา กรุ๊ป โทร. 0 2116 9551, 0 8630 5 5537 หรือ www.heyhaa.com

เฉาก๊วย เฮฮา รูปแบบ A ราคา 15,000 บาท
สิ่งที่จะได้รับ
1.รถเข็น
2.อุปกรณ์ขายครบชุด
3.วัตถุดิบ 100 ถ้วย
4.เสื้อโปโล 2 ตัว
5.ผ้ากันเปื้อน 1 ผืน

เฉาก๊วย เฮฮา รูปแบบ B ราคา 5,000 บาท
สิ่งที่จะได้รับ
1.ป้ายเมนู
2.วัตถุดิบ 50 ถ้วย

เฉาก๊วย เฮฮา รูปแบบ C ราคา 1,000 บาท
สิ่งที่จะได้รับ
1.เคาน์เตอร์เฉาก๊วยเฮฮา
2.เสื้อโปโล 2 ตัว

create by smethailanclub.com


 

RECCOMMEND: FRANCHISE

3 แฟรนไชส์ ก๋วยเตี๋ยวเรือเจ้าดัง น่าลงทุน ปี 2023

หนึ่งในร้านอาหารที่ติด Top 3 ที่คนค้นหามากที่สุด คือ ก๋วยเตี๋ยว วันนี้เราเลยจะมาแนะนำ 3 แฟรนไชส์ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือเจ้าดังที่น่าลงทุน ปี 2023 พร้อมราคาแฟรนไชส์มาฝากกัน

3 ไอเดียทำร้านแฟรนไชส์ 5 ปี ขยายกว่า 750 สาขา สไตล์ Otteri ร้านที่เป็นมากกว่าแค่ที่ซักผ้า

ในสนามแข่งขันที่เต็มไปด้วยคู่แข่งมากมาย กลยุทธ์หนึ่งของการทำธุรกิจที่ใช้มัดใจลูกค้าได้ดี ก็คือ ให้มากกว่าที่ลูกค้าคิดว่าจะได้รับ เพื่อไม่ให้ลูกค้าเปลี่ยนใจไปไหน เหมือนกับคอนเซปต์ของแบรนด์ Otteri Wash & Dry แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก 24 ชั่วโมงที่เปิดดำเนินธุรกิจมาได้ 5 ปี มีสาขาแล้วกว่า 750 แห่งทั่วประเทศ

อยากต่อยอดธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ขยายกิจการให้โต SME ต้องทำอย่างไร?

หนึ่งในโมเดลที่หลายคนให้ความสนใจในการขยายธุรกิจคือ การแปลงธุรกิจของตัวเองให้กลายเป็น “แฟรนไชส์” แต่หลายคนอาจสงสัยว่า การทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ต้องทำอย่างไร?