เตี๋ยวเรือต่อชาม ลูกชิ้นต่อไม้ อีกหนึ่งแฟรนไชส์ที่ยังไปได้


 
 

เรื่อง : พิชชานันท์ สุโกมล


    “เตี๋ยวเรือต่อชาม” ก็คือก๋วยเตี๋ยวเรือน้ำตกที่คิดค้นสูตรเฉพาะความอร่อยโดยคุณต่อ กวินภ์ กันชิงแก้ว ที่เล็งเห็นความสำคัญของการจะทำก๋วยเตี๋ยวให้อร่อยและทำให้ลูกค้าติดใจในรสชาตินั้น สิ่งสำคัญนอก

จากวัตถุดิบที่ดีแล้ว ตัวที่ตัดสินความอร่อยที่จะบอกว่า ร้านนั้นเด็ด ร้านนี้โดน ก็คือ “น้ำซุป” ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ก๋วยเตี๋ยวนั้นมีความอร่อยที่ไม่เหมือนใคร


 

    ชัยพัฒน์พนธ์ เกียรตินิยม ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เตี๋ยวเรือต่อชาม จำกัด เล่าถึงที่มาของเตี๋ยวเรือต่อชามให้ฟังว่า มาจากการการเปิดร้านเล็กๆ ขายก๋วยเตี๋ยวเรือในรูปแบบของรถเข็นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  แต่ด้วยรสชาติที่เด็ดชนิดที่เรียกว่า เจ็บ จัด จ้าน แตกต่างไปจากก๋วยเตี๋ยวเรือทั่วไป จึงทำให้มีลูกค้าแวะเวียนเข้ามาไม่ขาดสายคุณต่อ จึงเกิดแนวคิดในการขยายธุรกิจในรูปแบบของแฟรนไชส์ จึงตัดสินใจเปิดธุรกิจ ภายใต้แบรนด์ “เตี๋ยวเรือต่อชาม+ ลูกชิ้นปิ้งต่อไม้” ในนามของ บริษัท เตี๋ยวเรือต่อชาม จำกัด

 

     “เตี๋ยวเรือต่อชามเป็นก๋วยเตี๋ยวเรือน้ำตก ชามเล็กๆ เหมือนก๋วยเตี๋ยวเรือทั่วไป แต่เราเน้นในเรื่องมาตรฐานความอร่อย และมีจุดเด่นในเรื่องของน้ำซุปและน้ำปรุงสำเร็จรูป รสชาติจึงเหมือนกันทุกชาม ทุกสาขา โดยทางบริษัทฯ มีการจัดส่งวัตถุดิบในการทำก๋วยเตี๋ยวให้กับแฟรนไชส์ทุกสาขา ประกอบไปด้วย ลูกชิ้น ชุดสมุนไพร + หัวเชื้อน้ำซุป น้ำปรุงน้ำส้มพริกดอง น้ำจิ้มซีฟู้ด (สำหรับเมนูหมูมะนาว) และน้ำจิ้มลูกชิ้นปิ้ง เครื่องปรุงดังกล่าวสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 15 วัน ส่วนเส้นก๋วยเตี๋ยว เนื้อหมู หรือตับสด ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถหาซื้อได้ตามตลาดสดทั่วไป” ชัยพัฒน์พนธ์ เล่าถึงรายละเอียด

 
 
 

    สำหรับเส้นทางความสำเร็จของแฟรนไชส์เตี๋ยวเรือต่อชามนั้น คุณชัยพัฒน์พนธ์ ได้บอกไว้ว่า

     “คนที่จะทำธุรกิจให้รุ่งเรืองได้ อย่างน้อย คุณต้องมีใจรักในสิ่งที่จะทำ เราบอกกับลูกค้าเสมอว่า ถ้าคุณซื้อแฟรนไชส์เราไป แล้วคุณไม่ได้ทำเอง คุณมีสิทธิ์ไปไม่รอดนะ เพราะสิ่งสำคัญเจ้าของต้องเป็นคนดูแลกิจการเอง ต้องควบคุมคุณภาพที่เรากำหนดอย่างเคร่งครัด ไม่ดัดแปลงสูตรขึ้นเอง เพราะเรามีทีมคอยให้คำปรึกษาตลอด เริ่มตั้งแต่ การเดินตลาดเลือกวัตถุดิบ การบริหารจัดการภายในร้าน ใครที่ทำตามข้อกำหนดของเราได้ ส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จ”


 

    เมนูเด็ดของร้านเตี๋ยวเรือต่อชาม ได้แก่ “เกาเหลาบก” ราดด้วยน้ำปรุงรสจัดจ้าน “บะหมี่บก” สูตรเฉพาะหมูมะนาวและลูกชิ้นปิ้งจิ้มด้วยน้ำจิ้มรสเด็ด

    ค่าแฟรนไชส์ “เตี๋ยวเรือต่อชาม ลูกชิ้นต่อไม้” เริ่มต้นที่ 155,000 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่) แฟรนไชส์ซีจะได้รับอุปกรณ์มาตรฐานในการดำเนินธุรกิจรวมทั้งสิ้น 29 รายการที่จำเป็นต่อการประกอบการ รวมทั้งอุปกรณ์การขายลูกชิ้นด้วย 


 

    ส่วนระยะเวลาในการคืนทุนจะอยู่ที่ประมาณ 4 - 6 เดือน ขึ้นอยู่กับทำเลและชั่วโมงการขาย และควรมีเงินทุนเบื้องต้นและเงินทุนหมุนเวียนประมาณหนึ่ง เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าได้คล่องตัว

    “เราเน้นในเรื่องของทำเลเป็นหลัก ซึ่งผมแนะนำให้ตั้งอยู่ในย่านชุมชน หรือแหล่งค้าขายที่มีผู้คนพลุกพล่าน มองเห็นได้ง่าย เราไม่จัดให้พื้นที่แต่ละสาขาทับซ้อนกัน ที่สำคัญเจ้าของควรเป็นผู้บริหารร้านเองทั้งหมด เราไม่แนะนำให้จ้างพนักงานในการดูแลร้าน เพราะเราเน้นในเรื่องมาตรฐานของรสชาติที่ต้องเหมือนกันทุกสาขา ซึ่งเรามีทีมงานพร้อมให้คำปรึกษาและช่วยเหลือตลอดเวลา”


 

    ปัจจุบัน “เตี๋ยวเรือต่อชาม ลูกชิ้นต่อไม้” มี 78 สาขา ทั่วประเทศ โดยยังเน้นการตกแต่งร้านด้วยโคมไฟสีส้มและ ระเบียงไม้สีโอ๊ค ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของร้าน

 

    สนใจ แฟรนไชส์ “เตี๋ยวเรือต่อชาม ลูกชิ้นต่อไม้” ติดต่อ คุณชัยพัฒน์พนธ์ เกียรตินิยม (คุณย้อย)
    135/139 ม.2 ซอยลออทิพย์ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม. 10210 โทรศัพท์ 087 806 9898

Create by smethailandclub.com

        
    

RECCOMMEND: FRANCHISE

3 แฟรนไชส์ ก๋วยเตี๋ยวเรือเจ้าดัง น่าลงทุน ปี 2023

หนึ่งในร้านอาหารที่ติด Top 3 ที่คนค้นหามากที่สุด คือ ก๋วยเตี๋ยว วันนี้เราเลยจะมาแนะนำ 3 แฟรนไชส์ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือเจ้าดังที่น่าลงทุน ปี 2023 พร้อมราคาแฟรนไชส์มาฝากกัน

3 ไอเดียทำร้านแฟรนไชส์ 5 ปี ขยายกว่า 750 สาขา สไตล์ Otteri ร้านที่เป็นมากกว่าแค่ที่ซักผ้า

ในสนามแข่งขันที่เต็มไปด้วยคู่แข่งมากมาย กลยุทธ์หนึ่งของการทำธุรกิจที่ใช้มัดใจลูกค้าได้ดี ก็คือ ให้มากกว่าที่ลูกค้าคิดว่าจะได้รับ เพื่อไม่ให้ลูกค้าเปลี่ยนใจไปไหน เหมือนกับคอนเซปต์ของแบรนด์ Otteri Wash & Dry แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก 24 ชั่วโมงที่เปิดดำเนินธุรกิจมาได้ 5 ปี มีสาขาแล้วกว่า 750 แห่งทั่วประเทศ

อยากต่อยอดธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ขยายกิจการให้โต SME ต้องทำอย่างไร?

หนึ่งในโมเดลที่หลายคนให้ความสนใจในการขยายธุรกิจคือ การแปลงธุรกิจของตัวเองให้กลายเป็น “แฟรนไชส์” แต่หลายคนอาจสงสัยว่า การทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ต้องทำอย่างไร?